ผู้ที่จะเข้าศึกษาในโรงเรียนดุริยางค์ทหารบก ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและลักษณะดังต่อไปนี้
1. เป็นชายหรือหญิงมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ในปีที่จะเข้ารับการศึกษาเป็นนักเรียนดุริยางค์การนับอายุให้นับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการรับราชการทหาร (พ.ศ.2538-2541)
2. สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น(ม.3)หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า
3. มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และบิดามารดา มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร หรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้
4. มีอวัยวะรูปร่างลักษณะท่าทาง ขนาดของร่างกายเหมาะสมแก่การเป็นทหารไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และตามที่กองทัพบกกำหนดรายละเอียดไว้ใน ผนวกท้ายระเบียบ
5. มีความรู้ความสามารถด้านดนตรี ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ
6. เป็นโสด ไม่เคยมีความประพฤติเสื่อมเสียทางเพศ
7. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี มีความเลื่อมใสในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีผู้ปกครองดูแลรับผิดชอบ
8. ไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
9. ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
10. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา และไม่เคยต้องคำพิพากษาให้ให้ถูกลงโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดในลักษณะฐานลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
11. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างพักราชการ เนื่องจากความผิด หรือหนีราชการ
12. เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากบิดามารดา หรือผู้ปกครองให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนดุริยางค์แล้ว
13. ต้องมีผู้ปกครองหรือผู้รับรองที่มีคุณสมบัติตามที่กองทัพบกกำหนดทำการรับรองตามพันธกรณี
14. ต้องไม่มีพันธกรณีผูกพันกับองค์กรของรัฐบาลหรือเอกชน อันจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
วิธีปฏิบัติในการสมัคร
ขั้นตอนการกรอกใบสมัครมี 2 วิธี
8.1 การสมัครออนไลน์ที่ www.rta-band.com/rtasm
8.1.1 กรอกข้อมูลใบสมัครในช่องที่กำหนดให้ครบถ้วนและสมบูรณ์แล้ว กดปุ่ม ต่อไป
8.1.2 จะปรากฏข้อมูลของท่านที่กรอกลงในใบสมัครเพื่อให้ท่านตรวจทานข้อมูลอีกครั้งก่อนที่จะยืนยันการ ส่งใบสมัคร
- ตรวจสอบการเลือกโน้ตเพลงที่ใช้สำหรับสอบในรอบที่ 1 ( การทดสอบความสามารถทางดนตรี ) ตามเครื่องดนตรีที่ผู้สมัคร ถนัดและตกลงใจที่จะใช้เครื่องดนตรีและโน้ตเพลงที่เลือกในการสอบรอบที่ 1
- ในกรณีที่ต้องการแก้ไขข้อมูลกดปุ่มแก้ไขจะกลับไปที่หน้ากรอกใบสมัครเพื่อให้ท่านแก้ไขข้อมูลอีกครั้ง
- ในกรณีที่ข้อมูลทั้งหมดถูกต้องแล้ว ต้องการส่งใบสมัคร กดปุ่ม ส่งใบสมัคร
8.1.3 หลังจากกดปุ่ม ส่งใบสมัครแล้ว จะปรากฏ ดังนี้
8.1.3.1 ข้อความตอบรับว่า “ ได้รับใบสมัครของท่านเรียบร้อยแล้ว”
8.1.3.2 พิมพ์แบบฟอร์มชำระเงินค่าสมัคร และโน้ตเพลงที่จะต้องใช้สอบรอบที่ 1 การทดสอบความสามารถทางดนตรี)
8.1.3.3 นำแบบฟอร์มการชำระเงินค่าสมัครไปชำระเงิน ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา
8.1.3.4 หากต้องการเก็บใบสมัครไว้เป็นหลักฐานในการสมัครสอบ ให้กดปุ่มพิมพ์ หรือ ในกรณีที่ผู้สมัครต้องการบันทึกเก็บไว้เป็นหลักฐาน กดปุ่ม บันทึก
8.1.4 หลังจากได้ชำระเงินไปแล้ว
8.1.4.1 ผู้สมัครสามารถเข้าไป ตรวจสอบสถานะภาพชำระเงิน ได้หลังชำระเงินแล้ว 1 วัน
8.1.4.2 ประกาศผู้มีสิทธิ์สอบรอบที่ 1 (การทดสอบความสามารถทางดนตรี)เมื่อปรากฏชื่อของท่านให้ท่านเตรียมหลักฐานไว้ ดังนี้
ก) หลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมการสมัคร (จาก ธนาคารกรุงไทย)
ข) หนังสือรับรองการปฏิบัติราชการทัพฉุกเฉิน และราชการทวีคูณ พร้อมหลักฐานเพื่อขอรับสิทธิพิเศษและคะแนนเพิ่ม (ถ้ามี)
ค) ใบประกาศนียบัตร หรือใบสุทธิ หรือใบรับรองคุณวุฒิ และใบระเบียนผลการศึกษา พร้อมสำเนา 1 ชุด ซึ่งแสดงว่าสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือโรงเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะหรือเทียบเท่า
ง) รูปถ่ายปัจจุบันของผู้สมัครขนาด 3 x 4 ซม. แสดงหน้าตรง ไม่สวมหมวก ถ่ายไว้ไม่เกิน 3 เดือน จำนวน 5 รูป
จ) ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้สมัคร และของบิดามารดา พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด เพื่อแสดงสัญชาติของผู้สมัคร และของบิดามารดาผู้ให้กำเนิด ซึ่งคัดไว้ไม่เกิน 3 เดือน หากผู้สมัครที่บิดามารดามีนามสกุลไม่ตรงกับในทะเบียนบ้าน และ/หรือนามสกุลของบิดามารดาต้องนำหลักฐานทางกระทรวงมหาดไทยรับรองการเป็นบิดามารดา และ/หรือเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดมาแสดงประกอบด้วย
ฉ) สูติบัตรของผู้สมัคร หรือใบรับรองการเกิด พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
ช) บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
ซ) หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลของผู้สมัคร หรือบิดามารดาของผู้สมัคร (ถ้ามี) พร้อมสำเนา 1 ชุด
ด) ในกรณีที่บิดามารดาของผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนถึงแก่กรรม จะต้องนำใบมรณบัตร ซึ่งมีรายการแสดงสัญชาติของบิดามารดาที่เป็นไทย หรือหลักฐานรับรองว่าผู้นั้นมีสัญชาติไทย พร้อมสำเนา 1 ชุด
8.2 การสมัครด้วยตนเอง ณ โรงเรียนดุริยางค์ทหารบก
8.2.1 ติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ศูนย์การเรียนรู้ โรงเรียนดุริยางค์ทหารบก
8.2.2 กรอกใบสมัครตามขั้นตอนเช่นเดียวกับข้อ 8.1
ประเภทเครื่องมือที่รับสมัคร โรงเรียนดุริยางค์ทหารบกจะรับสมัคร บุคคลพลเรือน เข้าเป็นนักเรียนดุริยางค์ทหารบก จำนวน 40 นาย ตามเครื่องมือดนตรี ดังนี้
- Piccolo & Flute
- Oboe & Bassoon
- Clarinet
- Tenor Saxophone
- Alto saxophone
- Eb Baritone saxophone
- French Horn
- Trumpet & Cornet
- Trombone
- Euphonium & Baritone
- Bass (Tuba & Sousaphone)
- Percussions
- Violin, Viola, Cello, Double Bass
* รับโน้ตเพลง สำหรับสอบปฏิบัติเครื่องดนตรี ในวันสมัคร(ผ่านเว็บไซต์) (วันที่ 4 - 15 ก.พ.56)
หลักฐาน และเอกสารที่ต้องใช้
ผู้สมัครจะต้องเตรียมหลักฐานและเอกสารเพื่อยื่นต่อเจ้าหน้าที่ในวันที่กำหนด โดยมีรายการต่อไปนี้
5.1 วันสอบความสามารถทางดนตรี (รอบที่ 1)
5.1.1 บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา 1 ฉบับ
5.1.2 หลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมการสมัคร (จาก ธนาคารกรุงไทย)
5.1.3 หนังสือรับรองการปฏิบัติราชการทัพฉุกเฉิน และราชการทวีคูณ พร้อมหลักฐานเพื่อขอรับสิทธิพิเศษและคะแนนเพิ่ม (ถ้ามี)
5.1.4 ใบประกาศนียบัตร หรือใบสุทธิ หรือใบรับรองคุณวุฒิ และใบระเบียนผลการศึกษา พร้อมสำเนา 1 ชุด ซึ่งแสดงว่าสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือโรงเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะหรือเทียบเท่า
5.1.5 รูปถ่ายปัจจุบันของผู้สมัครขนาด 3 x 4 ซม. แสดงหน้าตรง ไม่สวมหมวก ถ่ายไว้ไม่เกิน 3 เดือน จำนวน 5 รูป
5.1.6 ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้สมัคร และของบิดามารดา พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด เพื่อแสดงสัญชาติของผู้สมัคร และของบิดามารดาผู้ให้กำเนิด ซึ่งคัดไว้ไม่เกิน 3 เดือน หากผู้สมัครที่บิดามารดามีนามสกุลไม่ตรงกับในทะเบียนบ้าน และ/หรือนามสกุลของบิดามารดาต้องนำหลักฐานทางกระทรวงมหาดไทยรับรองการเป็นบิดามารดา และ/หรือเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดมาแสดงประกอบด้วย
5.1.7 สูติบัตรของผู้สมัคร หรือใบรับรองการเกิด พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
5.1.8 บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
5.1.9 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลของผู้สมัคร หรือบิดามารดาของผู้สมัคร (ถ้ามี) พร้อมสำเนา 1 ชุด
5.1.10 ในกรณีที่บิดามารดาของผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนถึงแก่กรรม จะต้องนำใบ มรณบัตร ซึ่งมีรายการแสดงสัญชาติของบิดามารดาที่เป็นไทย หรือหลักฐานรับรองว่าผู้นั้นมีสัญชาติไทย พร้อมสำเนา 1 ชุด
5.2 วันสอบภาควิชาการ (รอบที่ 2)
- บัตรประจำตัวประชาชน
5.3 วันทดสอบสมรรถภาพร่างกายและตรวจร่างกาย (รอบที่ 3)
- บัตรประจำตัวประชาชน
หลักฐานเพิ่มเติมเพื่อขอรับสิทธิพิเศษและคะแนนเพิ่ม
ผู้สมัครที่มีความประสงค์จะขอรับสิทธิพิเศษให้นำหลักฐานที่จะกล่าวต่อไปนี้
มายื่นในวันทดสอบความสามารถทางดนตรี (รอบที่ 1)เท่านั้น ทางราชการจะไม่รับพิจารณาผู้ที่นำมายื่นภายหลัง
1. บุตรของข้าราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีเวลารับราชการดังต่อไปนี้ ให้ได้รับคะแนนเพิ่มตามลำดับ ดังนี้
1.1 รับราชการไม่น้อยกว่า 15 ปี หรือได้รับพระราชทานเหรียญจักรมาลา เพิ่มให้ร้อยละ 4 ของคะแนนเต็ม
1.2 รับราชการไม่น้อยกว่า 10 ปี เพิ่มให้ร้อยละ 3 ของคะแนนเต็ม
1.3 รับราชการไม่น้อยกว่า 5 ปี เพิ่มให้ร้อยละ 2 ของคะแนนเต็ม (การนับเวลาราชการดังกล่าว ให้นับตั้งแต่วันเข้ารับราชการ ถึงวันสุดท้ายของวันรับสมัครในปีนั้น ๆ)
2. ผู้ที่เป็นบุตรของทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการ ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับทหารระหว่างเวลาที่มีการรบ หรือการสงคราม หรือมีการปราบจลาจล หรือในระหว่างเวลาที่มีพระบรมราชโองการประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือในระหว่างเวลาที่สั่งให้เป็นนักดำเรือดำน้ำ หรือปฏิบัติหน้าที่สำรวจจัดทำหลักเขตแดนระหว่างประเทศ ซึ่งมีสิทธินับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพิ่มให้ร้อยละ 5 ของคะแนนเต็ม
ผู้ที่เป็นบุตรของพลเรือนซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหาร ในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอก และภายในประเทศ เพิ่มให้ร้อยละ 5 ของคะแนนเต็ม
3. ผู้ที่เป็นบุตรของทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการ ซึ่งต้องประสบภัยอันตรายถึงทุพพลภาพในขณะปฏิบัติราชการในหน้าที่ปกติ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ หรือต้องบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญพิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือได้รับเงินค่าทำขวัญ ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยคนงาน หรือได้รับบำเหน็จพิเศษตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง เพิ่มให้ร้อยละ 6 ของคะแนนเต็ม
ผู้ที่เป็นบุตรของทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการ ซึ่งต้องประสบอันตรายถึงทุพพลภาพในขณะปฏิบัติราชการ ในหน้าที่ทางยุทธการ หรือถูกประทุษร้ายเพราะกระทำการตามหน้าที่ ตามข้อ 2 หรือต้องบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือได้รับเงินค่าทำขวัญตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยคนงาน หรือได้รับบำเหน็จพิเศษตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง หรือบุตรของผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดีหรือเหรียญ หรือเข็มกล้าหาญ เพิ่มให้ร้อยละ 10 ของคะแนนเต็ม
4. บุตรของทหาร ตำรวจ ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการปราบปรามโจรผู้ร้ายจนถึงแก่ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ชีวิต หรือผู้ที่ได้ช่วยเหลือราชการในการปราบปรามโจรผู้ร้ายจนถึงแก่ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ชีวิต ซึ่งได้รับการรับรองจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพิ่มให้ร้อยละ 10 ของคะแนนเต็ม
* การเพิ่มคะแนนพิเศษ ตามข้อ 1 และ 2 ให้เพิ่มคะแนนพิเศษหลังจากสอบผ่าน วิชาปฏิบัติเครื่องดนตรี และสอบผ่านภาควิชาการ
* การเพิ่มคะแนนพิเศษตามข้อ 3 และ 4 ให้เพิ่มคะแนนพิเศษในการสอบทุกรอบ
* การเพิ่มคะแนนพิเศษตามข้อ 1, 2 , 3 และ 4 ให้เพิ่มเฉพาะ
กรณีที่ได้คะแนนมากที่สุดแต่เพียงอย่างเดียว
กำหนดการรับสมัคร และสอบคัดเลือก
- ประชาสัมพันธ์ระเบียบการ วันที่ 1 ม.ค. - 3 ก.พ. 56
- เปิดรับสมัคร(ผ่านเว๊บไซต์) วันที่ 4 - 15 ก.พ. 56
- ผู้สมัครชำระเงินผ่านธนาคารกรุงไทย วันที่ 4 - 17 ก.พ. 56
- ประกาศรายชื่อ และวันเวลาผู้มีสิทธิ์ทดสอบความสามารถทางดนตรี วันที่ 26 ก.พ. - 3 มี.ค. 56
- สอบความสามารถทางดนตรี วันที่ 4 - 15 มี.ค. 56 (เว้นวันหยุดราชการ)
- ประกาศผลสอบความสามารถทางดนตรี วันที่ 21 มี.ค. 56
- สอบคัดเลือกภาควิชาการ วันที่ 25 มี.ค.56
- ประกาศผลสอบคัดเลือกวิชาการ วันที่ 1 เม.ย. 56
- ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย และตรวจโรค วันที่ 4 - 5 เม.ย. 56
- สอบสัมภาษณ์ วันที่ 11 - 12 เม.ย. 56
- ประกาศผลสอบขั้นสุดท้าย วันที่ 19 เม.ย. 56
- ทำสัญญาเข้าเป็น นดย.ทบ. วันที่ 22 เม.ย.56
- เปิดการศึกษา วันที่ 1 พ.ค. 56
การสอบคัดเลือก แบ่งออกเป็น 3 รอบ ดังนี้
1. การสอบความสามารถทางดนตรี (รอบที่ 1)
2. สอบภาควิชาการ (รอบที่ 2)วิชาตามกลุ่มสาระ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ซึ่งมีระดับช่วงชั้นที่ 1 (ม.1 - ม.3) ตามหลักสูตร สพฐ.ศธ. พ.ศ.2549 และทฤษฎีดนตรี
3. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตรวจร่างกาย และสอบสัมภาษณ์ (รอบที่ 3)
การปฏิบัติในการสอบ
- ผู้สมัครต้องมาตามเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนด ผู้ใดไม่มาเข้าสอบถือว่าสละสิทธิ์
- ผู้สมัครจะต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนผู้สมัครต่อคณะกรรมการสอบ และเข้าสอบเรียงตามลำดับที่กำหนด
- ผู้สมัครทุกคนต้องแต่งกายชุดนักเรียน หรือชุดสุภาพเรียบร้อย ห้ามใส่ชุดกีฬา
- ผู้สมัครต้องปฏิบัติตามที่เจ้าหน้าที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
1. การสอบความสามารถทางดนตรี (รอบที่ 1)
1.1 ผู้เข้าสอบจะได้รับบทเพลงสำหรับทดสอบจากการสมัคร (ผ่านเว็บไซต์)ในวันที่สมัคร
1.2 ผู้เข้าสอบจะต้องฝึกฝนบทเพลงทดสอบที่ได้รับ จนมีความชำนาญเพื่อพร้อมทดสอบในวันทดสอบความสามารถทางดนตรี ตามวันเวลาที่คณะกรรมการรับสมัครกำหนด
1.3 ผู้เข้าสอบจะต้องฝึกฝนการบรรเลงโน้ตทันตาเห็นโดยมีขอบเขตลักษณะโน้ตไม่เกินเขบ็ต 2 ชั้น
1.4 ผู้เข้าสอบจะต้องฝึกฝนการร้อง โน้ตทดสอบโสตประสาท ให้ขับร้องโดยมีขอบเขตลักษณะโน้ตไม่เกินเขบ็ต 1 ชั้น และโดยให้ออกเสียง “ลา”
1.5 ผู้เข้าสอบสามารถนำเครื่องดนตรีของตนเองมาในวันทดสอบ เพื่อความสะดวกและความเคยชินของเครื่องมือ
1.6 โรงเรียนดุริยางค์ทหารบก มีเครื่องดนตรีให้ผู้เข้าสอบใช้ทดสอบตามที่ประกาศรับสมัคร
1.7 การฝึกซ้อมในวันมาสอบปฏิบัติเครื่องดนตรี สามารถฝึกซ้อมได้เฉพาะที่ห้องพักคอย และพื้นที่ภายในบริเวณโรงเรียนดุริยางค์ทหารบก เท่านั้น
การรายงานตัวในวันทดสอบฯ
- ผู้เข้าสอบเครื่องดนตรีประเภท เครื่องลมไม้ (Woodwinds), เครื่องลมทองเหลือง (Brasses), เครื่องสาย (Strings) จะต้องรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ตามวันเวลาที่กำหนด ณ อาคารอเนกประสงค์กองดุริยางค์ทหารบก โดยแบ่งเวลารับรายงานตัวเป็น 2 รอบ ดังนี้
ก) รอบเช้า เวลา 0630 - 0800
ข) รอบบ่าย เวลา 1200 – 1300
- ผู้เข้าสอบเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ (Percussions) จะต้องรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ ตามวันเวลาที่กำหนด ณ ห้องเรียน Percussions ใต้อาคารโรงเรียนดุริยางค์ทหารบก ด้านทิศเหนือ โดยแบ่งเวลารับรายงานตัวเป็น 2 รอบ ดังนี้
ก)รอบเช้า เวลา 0630 – 0800
ข)รอบบ่าย เวลา 1200 – 1300
- เจ้าหน้าที่จะนำตัวผู้เข้าสอบ เข้าทดสอบตามห้องทดสอบแต่ละประเภทเครื่องดนตรีจนจบขั้นตอนการทดสอบ
- ห้ามนำอุปกรณ์อิเลคโทรนิคต่างๆ เช่น โทรศัพท์, Tuner, Computer, เครื่องเล่น Tape CD mp3/mp4, พจนานุกรมอิเลคโทรนิค, หรืออื่นๆที่มีคุณสมบัติในการสื่อสาร บันทึก และคำนวณ เข้าห้องทดสอบความสามารถทางดนตรี (กระเป๋าหรือสิ่งของอื่นๆให้นำไว้นอกห้อง ทดสอบ ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่)
ขั้นตอนการทดสอบความสามรถทางดนตรี
- เมื่อเจ้าหน้าที่ปล่อยตัวให้เข้าห้องทดสอบ ให้ผู้สอบ เดินเข้าประจำจุด (กลางห้องทดสอบ) ต่อหน้าคณะกรรมการ และรายงานตัวต่อคณะกรรมการดังนี้
กระผม (คำนำหน้า) ชื่อ................สกุล.................ปฏิบัติเครื่องดนตรี (ชื่อเครื่องดนตรี)มาจาก (ชื่อโรงเรียน+จังหวัด) ขออนุญาตเข้าทดสอบความสามารถทางดนตรี ครับ
คณะกรรมการจะทดสอบความสามารถทางดนตรี ดังนี้
- การบรรเลงบทเพลงฝึกซ้อมล่วงหน้า ที่ได้รับในวันสมัคร
- การบรรเลงเพลงทันตาเห็น
- การทดสอบโสตประสาท (ร้องโน้ตดนตรี)
- จบการทดสอบความสามารถทางดนตรี ผู้เข้าสอบสามารถเดินทางกลับได้ และรอฟังผลการทดสอบต่อไป
2. สอบภาควิชาการ (รอบที่ 2)
2.1 ผู้สมัครต้องไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลาสอบประมาณ 30 นาที เพื่อตรวจสอบแผนผังห้องสอบ และที่นั่งสอบ ห้ามผู้ปกครองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับผู้สอบในระหว่างนี้โดยเด็ดขาด
2.2 ผู้สมัครต้องเตรียมปากกา ดินสอและยางลบมาเอง ทางราชการจะแจกกระดาษคำตอบ (ที่มีลายเซ็นของกรรมการคุมห้องสอบกำกับที่หัวมุมกระดาษทุกแผ่น) พร้อมกับปัญหาสอบให้ ห้ามนำกระดาษชนิดอื่น ๆ เข้าไปในห้องสอบโดยเด็ดขาด
2.3 ข้อสอบทุกข้อจะมีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว ผู้ใดตอบเกิน 1 คำตอบ กรรมการจะไม่พิจารณาให้คะแนนในข้อนั้น
2.4 ห้ามนำเครื่องคิดเลข โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นเพลง mp3 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทุกชนิดเข้าห้องสอบโดยเด็ดขาด ผู้เข้าสอบต้องฝากเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดกับเจ้าหน้าที่คุมสอบด้านหน้าห้องก่อนเข้าสอบ หากตรวจพบเจอจะถือว่าทุจริตในการสอบ
2.5 หากปรากฏว่ามีการทุจริตหรือมีการช่วยเหลือกันในขณะสอบ กรรมการคุมห้องสอบจะบันทึกลงในใบคำตอบไว้ ทั้งผู้ช่วยเหลือและผู้รับการช่วยเหลือจะมีความผิดเท่ากัน ซึ่งถือว่าหมดสิทธิ์ในการสอบคัดเลือกในปีนี้และปีต่อๆ ไปด้วย
2.6 กรณีผู้ช่วยเหลือเป็นคนอื่น (มิใช่ผู้สมัคร) ทางราชการจะส่งตัวให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามกฎหมาย
2.7 การเข้าห้องสอบ
ก) ก่อนเวลาสอบประมาณ 20 นาที กรรมการคุมห้องสอบจะเรียกผู้สมัครทุกคนมาพร้อมกันที่หน้าห้องสอบ (ตามหมายเลขที่กำหนด)
ข) ห้ามนำอุปกรณ์ทุกชนิดเข้าไปในห้องสอบ ยกเว้นตามข้อ 2.2
ค) กรรมการคุมห้องสอบจะเรียกเข้าห้องสอบ โดยตรวจบัตรประจำตัวผู้สมัครให้ถูกต้องกับหลักฐานที่กรรมการมีอยู่ เข้านั่งตามหมายเลขที่กำหนด และตรงตามรูปถ่าย
ง) กรรมการจะแจกปัญหาสอบและใบคำตอบ
จ) ถ้ามีข้อสงสัยหรือต้องการสิ่งใดให้ยกมือขึ้น แล้วแจ้งให้กรรมการทราบ
ฉ) เมื่อเริ่มการสอบแล้ว ผู้มาสอบสายเกิน 30 นาที ถือว่าหมดสิทธิ์ในการสอบ
ช) ห้ามพูดคุยหรือแสดงกิริยาที่ส่อไปในทางทุจริต ห้ามเปิดปัญหาสอบจนกว่าจะได้รับคำสั่ง
ซ) ผู้สมัครทุกคนจะต้องอยู่ในห้องสอบอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ถึงจะออกจากห้องสอบก่อนเวลานี้ไม่ได้ ไม่ว่าจะทำปัญหาสอบได้หรือไม่ก็ตาม
ด) เมื่อกรรมการคุมห้องสอบบอกหมดเวลา ให้ผู้สมัครทุกคนออกนอกห้องทันที และให้วางเอกสารไว้บนโต๊ะให้เรียบร้อย
3. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตรวจร่างกาย และสอบสัมภาษณ์ (รอบที่ 3)
3.1 ผู้สมัครจะต้องนำชุดกีฬา และรองเท้ากีฬามาเปลี่ยนในวันทดสอบด้วย เป็นการทดสอบสมรถภาพของร่างกายด้านความแข็งแรง ความว่องไว และความอดทน มีรายละเอียด ดังนี้
ก) ดันพื้น (2 นาที) เกณฑ์ผ่าน ชาย 12 ครั้ง หญิง 8 ครั้ง
ข) ลุกนั่ง (2 นาที) เกณฑ์ผ่าน ชาย 18 ครั้ง หญิง 13 ครั้ง
ค) วิ่ง 800 เมตร เกณฑ์ผ่าน ชาย 3.31 นาที หญิง 4.16 นาที
3.2 ผู้สมัครสอบต้องเข้ารับการตรวจสอบร่างกาย ตามวัน เวลา ที่กำหนด และจะต้องนำเงินมาชำระค่าตรวจโรค สถานที่ตรวจร่างกาย ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบกผลการตรวจร่างกาย ถือความเห็นและการชี้ขาดของกรรมการแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อตรวจร่างกายผู้สมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนดุริยางค์ทหารบก เป็นการวินิจฉัยเด็ดขาด จะไม่รับพิจารณาผลการตรวจร่างกายที่ผู้สมัครได้รับการตรวจโรค หรือได้รับใบรับรองการตรวจโรคจาก ที่อื่น ผู้ผ่านการตรวจร่างกาย ต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์ตามเกณฑ์และไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการ และเป็นไปตามที่กองทัพบกกำหนด
3.3 สอบสัมภาษณ์ เป็นการพิจารณาตรวจสอบบุคลิกลักษณะ ความสมบูรณ์ของร่างกาย เชาวน์ปัญหา รวมทั้งคุณลักษณะอื่น ๆ สำหรับการเป็นทหาร
ผนวก
ขนาดพิกัดของร่างกาย และบัญชีโรค หรือความผิดปกติหรือความพิการ
ซึ่งขัดต่อการเป็นนักเรียนดุริยางค์ ประกอบระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยโรงเรียนดุริยางค์ทหารบก พ.ศ.2553
1.ขนาดพิกัดของร่างกาย
2.มาตราฐานสัดส่วนร่างกายใช้ค่าดัชนีมวลกาย(BMI)เป็นเกณฑ์ตามที่กรมยุทธศึกษาทหารบก กำหนด
3.บัญชีโรค หรือความผิดปกติ หรือความพิการ ซึ่งขัดต่อการเป็นนักเรียนดุริยางค์
3.1 ร่างกายผิดปกติ หรือวิกลรูป หรือพิการ
3.1.1 หน้าผิดรูปจนดูน่าเกลียดอบ่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
3.1.1.1 อัมพาตที่หน้า (Facial paralysis)
3.1.1.2 เนื้อกระตุก (Tics)
3.1.1.3 แผลเป็น หรือปานที่หน้า มีเนื้อที่ตั้งแต่ 1.5 ตารางนิ้วขึ้นไป หรือมีความยาวมากจนน่าเกลียด
3.1.1.4 เนื้องอก ที่หน้ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 5 ซ.ม.ขึ้นไป
3.1.2 ปากผิดรูปจนดูน่าเกลียด เช่นแหว่ง หือผิดรูปจนพูดไม่ชัด
3.1.3 ช่องปากผิดรูป หรือผิดปกติจนพูดไม่ชัด
3.1.4 ซอกคอ หรือ ศอก รักแร้ติดกัน
3.1.5 แขน หรือขา
3.1.5.1 ยาวไม่เท่ากัน หรือผิดรูปจนมองเห็นได้ชัด
3.1.5.2 โค้งเข้า หรือ ออก
3.1.5.3 ลีบ หรือบิดเก
3.1.6 มือ หรือเท้า
3.1.6.1 ลีบ หรือบิดเก
3.1.6.2 เท้าปุก
3.1.7 นิ้วมือ หรือนิ้วเท้า
3.1.7.1 บิดเก และทำงานไม่ถนัด
3.1.7.2 ด้วนถึงโคนเล็บ
3.1.7.3 มีจำนวนเกินกว่า หรือน้อยกว่าปกติ
3.1.7.4 ช่องระหว่างนิ้ว หรือนิ้วเท้าติดกัน
3.1.8 คนเผือก
3.2 กระดูก หรือกล้ามเนื้อ
3.2.1 ข้อติด (Ankylosis)หรือหลวมหลุดง่าย
3.2.2 ข้ออักเสบจนกระดูกเปลี่ยนรูป
3.2.3 คอเอียง หรือแข็งทื่อจากกระดูก หรือกล้ามเนื้อพิการ
3.2.4 กระดูกสันหลังคด หรือโก่ง หรือแอ่นจนเห็นได้ชัด
3.2.5 กระดูกอักเสบ (Osteomyelitis)
3.2.6 กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบ หรือหดสั้น (Atrophy or Contracture)
3.3 ผิวหนัง
3.3.1 โรคผิวหนังเรื้อรังซึ่งยากต่อการรักษา หรือเป็นที่น่ารังเกียจ
3.3.2 แผลเป็น ไฝ ปานที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายมีขนาดตั้ง 1.5 นิ้ว x 1.5 นิ้วขึ้นไป หรือมากจนดูน่าเกลียด
3.3.3 มีรอยสักบนส่วนต่างๆ ของร่างกาย
3.3.4 เนื้องอกเล็กๆ เป้นปุ่มๆ ที่ผิวหนังของร่างกาย
3.3.5 ฝังมุก
3.4 ตา
3.4.1 สายตาผิดปกติ แม้เพียงข้างเดียวโดยที่แก้ไขให้เป็น Spherical Equivalent แล้ว เกินกว่า 1.5 ไดออปเตอร์ Spherical Equivalent นั้นมีความหมายว่าในการตรวจสอบสายตานั้น ถือ สายตาสั้นหรือยาวเป็นสำคัญ ถ้ามีสายตาเอียงร่วมด้วยจะแก้สายตาเอียงนั้นให้เป็นสายตาสั้นหรือยาว คือทำให้เป็น Spherical Equivalent ถ้าแก้สายตาสั้นหรือยาวนั้นมากกว่า 1.5 ไดออปเตอร์ ก็ถือว่าไม่สามารถ เป็นนักเรียนดุริยางค์ทหารบกได้
3.4.2 บอดสี
3.4.3 ตาเหล่(Squint) จนปรากฎชัด
3.4.4 ลูกตาสั้น (Nystagmus)
3.4.5 แก้วตาขุ่น (Cataract)
3.4.6 กระจกตาขุ่น (Opacity of Cornea)
3.4.7 กระจกตาเอกเสบเรื้อรัง (Chronic Interstitial Keratitis)
3.4.8 หนังตาแหว่งจนเสียรูป
3.4.9 หนังตาตก
3.4.10 หนังตาม้วนเข้า (Entropion) หรือหนังตาม้วนออก
3.4.11 ช่องหนังตา (Palpebral Fissure) กว้างไม่เท่ากันจนดูน่าเกลียด
3.4.12 ต้อหิน
3.5 หู คอ จมูก
3.5.1 ใบหูผิดรูป หรือผิดขนาดจนปรากฎชัด
3.5.2 ช่องหูมีหนองเรื้อรัง
3.5.3 แก้วหูทะลุ
3.5.4 การได้ยินเสียงผิดปกติ
3.5.5 โรค หรือความพิการใดๆ ที่ทำให้ได้ยินเสียงผิดปกติ
3.5.6 เพดานโหว่ หรือเพดานสูงจนพูดไม่ชัด
3.5.7 จมูกผิดรูปจนดูน่าเกลียด เช่นบี้ หรือแหว่ง
3.5.8 ริดสีดวงจมูก (Nasal Polyp)
3.5.9 ต่อมทอมซิลอักเสบรื้อรัง และโตมาก (ในวันตรวจเพื่อเข้าเป็นนักเรียนดุริยางค์)
3.5.10 พูดติดอ่าง
3.6 ฟัน
3.6.1 มีฟันเคี้ยวอาหารได้ไม่ครบตามหลักเกณฑ์ คือกำหนดฟันกราม (Molas) และฟันกรามน้อย(Premolars) อย่างน้อยข้างบน 6 ซี่ และข้างล่าง 6 ซี่ ฟันหน้า (Incisors and Canines)ข้างบน 4 ซี่ ข้างล่าง 4 ซี่ ฟันที่ถอนไปแล้วหากได้รับการใส่เรียบร้อยมั่นคง หรือด้วยวิธีทำสะพาน (Bridge) จึงให้นับเป็นจำนวนซี่ได้ ฟันตามจำนวนดังกล่าวข้างต้นนั้น จะต้องไม่มีคุณลักษณะดังนี้
3.6.1.1 ฟันที่เป็นรูผุที่ไม่ได้รับการอุด หรือุดด้วยวัตถุไม่ถาวร
3.6.1.2 ฟันที่อุด หรือทำครอบไม่เรียบร้อย
3.6.1.3 ฟันน้ำนม
3.6.1.4 ฟันตาย เว้นแต่คลองประสาทได้รับการอุดที่ถูกต้อง
3.6.1.5 ฟันยาวผิดปกติ หรือขึ้นผิดที่ หรือเก จนไม่สามารถที่จะจัดให้สบกันได้กับฟันธรรมดา หรือฟันปลอม
3.6.1.6 มีการทำลายอย่างรุนแรงของอวัยวะที่รองรับ เช่นกระดูก เหงือก เยื่อหุ้มรากฟัน
3.6.2 มีช่องว่างระหว่างฟันหน้าห่างจนดูน่าเกลียด
3.6.3 การสบของฟันที่ผิดปกติอย่างมากจนทำให้ใบหน้าผิดไป หรือการเคี้ยวอาหารธรรมดาไม่ได้ผล
3.6.4 ถุงน้ำ (Cysts) การอักเสบที่เรื้อรัง โรคเหงือกอักเสบอย่างรุนแรง หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ ในปาก เช่น ฟันคุด ฟันที่ยังไม่ขึ้น หรือฟันที่ขึ้นผิดที่ ซึ่งสภาพการเช่นนี้ อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะ ข้างเคียง หรือสุขภาพของผู้สมัคร
3.7 หัวใจ และหลอดเลือด
3.7.1 หัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart diseases)
3.7.2 ลิ้นหัวใจพิการ
3.7.3 หัวใจวาย และมีเลือดคั่ง (Congestive heart failure)
3.7.4 หัวใจเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที หรือช้ากว่า 50 ครั้งต่อนาที
3.7.5 อนิวริซึม (Aneurysm of Aorta) ของหลอดเลือดใหญ่
3.7.6 หลอดเลือดดำขอด ที่ขา หรือ แขน ซึ่งเป็นมากจนเห็นได้ชัด
3.8 ระบบหายใจ
3.8.1 วัณโรคปอด (Pulmonary tuberculosis)
3.8.2 หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic-bronchitis)
3.8.3 หลอดลมขยายพอง (Bronchiectasis)
3.8.4 หืดหลอดลม
3.8.5 มีน้ำหรือมีหนอง หรือลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
3.8.6 หลอดลมอักเสบ ซึ่งกำลังปรากฏอาการฟังได้ชัดเจน
3.9 ระบบทางเดินอาหาร
3.9.1 ตับแข็ง (Cirrhosis of liver)
3.9.2 ฝีที่ตับ (Abscess of liver)
3.9.3 ดีซ่าน (Jaundice)
3.9.4 ริดสีดวงทวารหนักที่เห็นชัดเจน
3.9.5 ฝีคัณฑสูตร (Peroanal Abscess)
3.9.6 ไส้เลื่อน
3.10 ระบบทางเดินปัสสาวะ อวัยวะสืบพันธุ์ รวมทั้งกามโรค
3.10.1 ไต อักเสบเรื้อรัง
3.10.2 ไตพองเป็นถุงน้ำ
3.10.3 ไตพองเป็นถุงหนอง
3.10.4 นิ่วในไต จนทำให้ไตเสื่อมสมรรถภาพอย่างถาวร (Renal Calculalus with Permanant Impairment or Renal Function)
3.10.5 กล่อนน้ำ (Hydrocele)
3.10.6 หลอดเลือดดำขอดที่ถุงอัณฑะ (Varicocele)
3.10.7 กระเทย (Hermaphrodism)
3.10.8 กามโรคที่ปรากฎอาการอย่างหนึ่งอย่างใด
3.11 ระบบประสาท
3.11.1 โรคจิต (Psychosis)
3.11.2 อัมพาต หรือการเคลื่อนไหวผิดปกติ
3.11.3 โรคลมชัก ( Epilepsy)
3.11.4 ปัญญาอ่ออน (Mental Deficiency)
3.11.5 ใบ้
3.12 ระบบต่อมไร้ท่อ
3.12.1 โรคคอพอก (Simple goitre)
3.12.2 ธัยโรทอกซิโคซิส (Thyrotoxicosis)
3.12.3 มิกซิเดมา (Myxedema)
3.12.4 เบาหวาน (Diabetes mellitus)
3.10.5 โรคอ้วนพี (Obesity)
1.13 โรคของเลือดและอวัยวะก่อกำเนิดเลือด (Diseases of blood and blood forming organs) ผิดปกติอย่างถาวร และอาจเป็นอันตราย
3.14 โรคติดเชื้อหรือโรคเกิดจากปาราสิต (Infectious and Parasitic diseases)
3.14.1 โรคเรื้อน (Leprosy)
3.14.2 โรคเท้าช้างท่ปรากฎอาการ
3.14.3 วัณโรคของอวัยวะอื่น
3.14.4 โรคคุดทะราด หรือรองพื้น (Yaws)
3.14.5 โรคติดต่ออันตราย
3.15 เนื้องอก (Neoplasm)
3.15.1 เนื้องอกไม่ร้าย(Benign Neophas)ที่มีขนาดใหญ่
3.15.2 เนื้องอกร้ายไม่ว่าจะเป็นแก่อวัยวะใด (Malignant neoplasm)
3.16 โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติดให้โทษ
3.17 โรคหรือความพิการใด ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ แต่คณะกรรมการแพทย์เห็นว่าไม่สมควรรับเป็นนักเรียนดุริยางค์ทหารบก
3.18 โรคเอดส์
• Turn your talent in music into a professional career.
• Royal Thai Army School of Music
• To supply professional musician to the Army
• Leading the Trooping's Parade
•
สถานที่ติดต่อ โรงเรียนดุริยางค์ทหารบก ถ.วิภาวีรังสิต สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร.0 2245 9378, 0 2245 3373, 0 2245 1457 ต่อ 89530
email: rtasm@hotmail.com
Face book: http://facebook.com/rtasm
Url: www.rta-band.com/rtasm/
คำเตือน
หากมีผู้ใดแอบอ้างว่าสามารถช่วย เหลือท่านได้ด้วยวิธีการต่างๆ ให้เข้าเป็นนักเรียนดุริยางค์ทหารบก รวมทั้งการอ้างว่ารู้จักกรรมการสอบคัดเลือก หรือนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่ช่วยเหลือได้ แล้วเรียกร้องเงินเป็นค่าตอบแทน โดยสัญญาว่าจะคืนเงินให้หากสอบเข้าไม่ได้ ขอได้แจ้งให้ทางโรงเรียนดุริยางค์ทหารบก เพื่อจะได้ติดตามดูพฤติการณ์และดำเนินการตามกฎหมายต่อไป โดยจะปกปิดนามผู้แจ้งไว้เป็นความลับ และขอขอบคุณในความร่วมมือไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
อย่าหลงเชื่อบุคคลใดก็ตามที่แอบอ้างว่าสามารถช่วยเหลือให้ท่าน เป็นนักเรียนดุริยางค์ทหารบกได้ โดยมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม การที่จะสอบผ่านหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถ ของตัวท่านเอง ไม่มีใครช่วยท่านได้
1. เป็นชายหรือหญิงมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ในปีที่จะเข้ารับการศึกษาเป็นนักเรียนดุริยางค์การนับอายุให้นับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการรับราชการทหาร (พ.ศ.2538-2541)
2. สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น(ม.3)หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า
3. มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และบิดามารดา มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร หรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้
4. มีอวัยวะรูปร่างลักษณะท่าทาง ขนาดของร่างกายเหมาะสมแก่การเป็นทหารไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และตามที่กองทัพบกกำหนดรายละเอียดไว้ใน ผนวกท้ายระเบียบ
5. มีความรู้ความสามารถด้านดนตรี ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ
6. เป็นโสด ไม่เคยมีความประพฤติเสื่อมเสียทางเพศ
7. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี มีความเลื่อมใสในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีผู้ปกครองดูแลรับผิดชอบ
8. ไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
9. ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
10. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา และไม่เคยต้องคำพิพากษาให้ให้ถูกลงโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดในลักษณะฐานลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
11. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างพักราชการ เนื่องจากความผิด หรือหนีราชการ
12. เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากบิดามารดา หรือผู้ปกครองให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนดุริยางค์แล้ว
13. ต้องมีผู้ปกครองหรือผู้รับรองที่มีคุณสมบัติตามที่กองทัพบกกำหนดทำการรับรองตามพันธกรณี
14. ต้องไม่มีพันธกรณีผูกพันกับองค์กรของรัฐบาลหรือเอกชน อันจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
วิธีปฏิบัติในการสมัคร
ขั้นตอนการกรอกใบสมัครมี 2 วิธี
8.1 การสมัครออนไลน์ที่ www.rta-band.com/rtasm
8.1.1 กรอกข้อมูลใบสมัครในช่องที่กำหนดให้ครบถ้วนและสมบูรณ์แล้ว กดปุ่ม ต่อไป
8.1.2 จะปรากฏข้อมูลของท่านที่กรอกลงในใบสมัครเพื่อให้ท่านตรวจทานข้อมูลอีกครั้งก่อนที่จะยืนยันการ ส่งใบสมัคร
- ตรวจสอบการเลือกโน้ตเพลงที่ใช้สำหรับสอบในรอบที่ 1 ( การทดสอบความสามารถทางดนตรี ) ตามเครื่องดนตรีที่ผู้สมัคร ถนัดและตกลงใจที่จะใช้เครื่องดนตรีและโน้ตเพลงที่เลือกในการสอบรอบที่ 1
- ในกรณีที่ต้องการแก้ไขข้อมูลกดปุ่มแก้ไขจะกลับไปที่หน้ากรอกใบสมัครเพื่อให้ท่านแก้ไขข้อมูลอีกครั้ง
- ในกรณีที่ข้อมูลทั้งหมดถูกต้องแล้ว ต้องการส่งใบสมัคร กดปุ่ม ส่งใบสมัคร
8.1.3 หลังจากกดปุ่ม ส่งใบสมัครแล้ว จะปรากฏ ดังนี้
8.1.3.1 ข้อความตอบรับว่า “ ได้รับใบสมัครของท่านเรียบร้อยแล้ว”
8.1.3.2 พิมพ์แบบฟอร์มชำระเงินค่าสมัคร และโน้ตเพลงที่จะต้องใช้สอบรอบที่ 1 การทดสอบความสามารถทางดนตรี)
8.1.3.3 นำแบบฟอร์มการชำระเงินค่าสมัครไปชำระเงิน ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา
8.1.3.4 หากต้องการเก็บใบสมัครไว้เป็นหลักฐานในการสมัครสอบ ให้กดปุ่มพิมพ์ หรือ ในกรณีที่ผู้สมัครต้องการบันทึกเก็บไว้เป็นหลักฐาน กดปุ่ม บันทึก
8.1.4 หลังจากได้ชำระเงินไปแล้ว
8.1.4.1 ผู้สมัครสามารถเข้าไป ตรวจสอบสถานะภาพชำระเงิน ได้หลังชำระเงินแล้ว 1 วัน
8.1.4.2 ประกาศผู้มีสิทธิ์สอบรอบที่ 1 (การทดสอบความสามารถทางดนตรี)เมื่อปรากฏชื่อของท่านให้ท่านเตรียมหลักฐานไว้ ดังนี้
ก) หลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมการสมัคร (จาก ธนาคารกรุงไทย)
ข) หนังสือรับรองการปฏิบัติราชการทัพฉุกเฉิน และราชการทวีคูณ พร้อมหลักฐานเพื่อขอรับสิทธิพิเศษและคะแนนเพิ่ม (ถ้ามี)
ค) ใบประกาศนียบัตร หรือใบสุทธิ หรือใบรับรองคุณวุฒิ และใบระเบียนผลการศึกษา พร้อมสำเนา 1 ชุด ซึ่งแสดงว่าสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือโรงเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะหรือเทียบเท่า
ง) รูปถ่ายปัจจุบันของผู้สมัครขนาด 3 x 4 ซม. แสดงหน้าตรง ไม่สวมหมวก ถ่ายไว้ไม่เกิน 3 เดือน จำนวน 5 รูป
จ) ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้สมัคร และของบิดามารดา พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด เพื่อแสดงสัญชาติของผู้สมัคร และของบิดามารดาผู้ให้กำเนิด ซึ่งคัดไว้ไม่เกิน 3 เดือน หากผู้สมัครที่บิดามารดามีนามสกุลไม่ตรงกับในทะเบียนบ้าน และ/หรือนามสกุลของบิดามารดาต้องนำหลักฐานทางกระทรวงมหาดไทยรับรองการเป็นบิดามารดา และ/หรือเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดมาแสดงประกอบด้วย
ฉ) สูติบัตรของผู้สมัคร หรือใบรับรองการเกิด พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
ช) บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
ซ) หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลของผู้สมัคร หรือบิดามารดาของผู้สมัคร (ถ้ามี) พร้อมสำเนา 1 ชุด
ด) ในกรณีที่บิดามารดาของผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนถึงแก่กรรม จะต้องนำใบมรณบัตร ซึ่งมีรายการแสดงสัญชาติของบิดามารดาที่เป็นไทย หรือหลักฐานรับรองว่าผู้นั้นมีสัญชาติไทย พร้อมสำเนา 1 ชุด
8.2 การสมัครด้วยตนเอง ณ โรงเรียนดุริยางค์ทหารบก
8.2.1 ติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ศูนย์การเรียนรู้ โรงเรียนดุริยางค์ทหารบก
8.2.2 กรอกใบสมัครตามขั้นตอนเช่นเดียวกับข้อ 8.1
ประเภทเครื่องมือที่รับสมัคร โรงเรียนดุริยางค์ทหารบกจะรับสมัคร บุคคลพลเรือน เข้าเป็นนักเรียนดุริยางค์ทหารบก จำนวน 40 นาย ตามเครื่องมือดนตรี ดังนี้
- Piccolo & Flute
- Oboe & Bassoon
- Clarinet
- Tenor Saxophone
- Alto saxophone
- Eb Baritone saxophone
- French Horn
- Trumpet & Cornet
- Trombone
- Euphonium & Baritone
- Bass (Tuba & Sousaphone)
- Percussions
- Violin, Viola, Cello, Double Bass
* รับโน้ตเพลง สำหรับสอบปฏิบัติเครื่องดนตรี ในวันสมัคร(ผ่านเว็บไซต์) (วันที่ 4 - 15 ก.พ.56)
หลักฐาน และเอกสารที่ต้องใช้
ผู้สมัครจะต้องเตรียมหลักฐานและเอกสารเพื่อยื่นต่อเจ้าหน้าที่ในวันที่กำหนด โดยมีรายการต่อไปนี้
5.1 วันสอบความสามารถทางดนตรี (รอบที่ 1)
5.1.1 บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา 1 ฉบับ
5.1.2 หลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมการสมัคร (จาก ธนาคารกรุงไทย)
5.1.3 หนังสือรับรองการปฏิบัติราชการทัพฉุกเฉิน และราชการทวีคูณ พร้อมหลักฐานเพื่อขอรับสิทธิพิเศษและคะแนนเพิ่ม (ถ้ามี)
5.1.4 ใบประกาศนียบัตร หรือใบสุทธิ หรือใบรับรองคุณวุฒิ และใบระเบียนผลการศึกษา พร้อมสำเนา 1 ชุด ซึ่งแสดงว่าสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือโรงเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะหรือเทียบเท่า
5.1.5 รูปถ่ายปัจจุบันของผู้สมัครขนาด 3 x 4 ซม. แสดงหน้าตรง ไม่สวมหมวก ถ่ายไว้ไม่เกิน 3 เดือน จำนวน 5 รูป
5.1.6 ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้สมัคร และของบิดามารดา พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด เพื่อแสดงสัญชาติของผู้สมัคร และของบิดามารดาผู้ให้กำเนิด ซึ่งคัดไว้ไม่เกิน 3 เดือน หากผู้สมัครที่บิดามารดามีนามสกุลไม่ตรงกับในทะเบียนบ้าน และ/หรือนามสกุลของบิดามารดาต้องนำหลักฐานทางกระทรวงมหาดไทยรับรองการเป็นบิดามารดา และ/หรือเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดมาแสดงประกอบด้วย
5.1.7 สูติบัตรของผู้สมัคร หรือใบรับรองการเกิด พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
5.1.8 บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
5.1.9 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลของผู้สมัคร หรือบิดามารดาของผู้สมัคร (ถ้ามี) พร้อมสำเนา 1 ชุด
5.1.10 ในกรณีที่บิดามารดาของผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนถึงแก่กรรม จะต้องนำใบ มรณบัตร ซึ่งมีรายการแสดงสัญชาติของบิดามารดาที่เป็นไทย หรือหลักฐานรับรองว่าผู้นั้นมีสัญชาติไทย พร้อมสำเนา 1 ชุด
5.2 วันสอบภาควิชาการ (รอบที่ 2)
- บัตรประจำตัวประชาชน
5.3 วันทดสอบสมรรถภาพร่างกายและตรวจร่างกาย (รอบที่ 3)
- บัตรประจำตัวประชาชน
หลักฐานเพิ่มเติมเพื่อขอรับสิทธิพิเศษและคะแนนเพิ่ม
ผู้สมัครที่มีความประสงค์จะขอรับสิทธิพิเศษให้นำหลักฐานที่จะกล่าวต่อไปนี้
มายื่นในวันทดสอบความสามารถทางดนตรี (รอบที่ 1)เท่านั้น ทางราชการจะไม่รับพิจารณาผู้ที่นำมายื่นภายหลัง
1. บุตรของข้าราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีเวลารับราชการดังต่อไปนี้ ให้ได้รับคะแนนเพิ่มตามลำดับ ดังนี้
1.1 รับราชการไม่น้อยกว่า 15 ปี หรือได้รับพระราชทานเหรียญจักรมาลา เพิ่มให้ร้อยละ 4 ของคะแนนเต็ม
1.2 รับราชการไม่น้อยกว่า 10 ปี เพิ่มให้ร้อยละ 3 ของคะแนนเต็ม
1.3 รับราชการไม่น้อยกว่า 5 ปี เพิ่มให้ร้อยละ 2 ของคะแนนเต็ม (การนับเวลาราชการดังกล่าว ให้นับตั้งแต่วันเข้ารับราชการ ถึงวันสุดท้ายของวันรับสมัครในปีนั้น ๆ)
2. ผู้ที่เป็นบุตรของทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการ ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับทหารระหว่างเวลาที่มีการรบ หรือการสงคราม หรือมีการปราบจลาจล หรือในระหว่างเวลาที่มีพระบรมราชโองการประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือในระหว่างเวลาที่สั่งให้เป็นนักดำเรือดำน้ำ หรือปฏิบัติหน้าที่สำรวจจัดทำหลักเขตแดนระหว่างประเทศ ซึ่งมีสิทธินับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพิ่มให้ร้อยละ 5 ของคะแนนเต็ม
ผู้ที่เป็นบุตรของพลเรือนซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหาร ในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอก และภายในประเทศ เพิ่มให้ร้อยละ 5 ของคะแนนเต็ม
3. ผู้ที่เป็นบุตรของทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการ ซึ่งต้องประสบภัยอันตรายถึงทุพพลภาพในขณะปฏิบัติราชการในหน้าที่ปกติ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ หรือต้องบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญพิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือได้รับเงินค่าทำขวัญ ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยคนงาน หรือได้รับบำเหน็จพิเศษตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง เพิ่มให้ร้อยละ 6 ของคะแนนเต็ม
ผู้ที่เป็นบุตรของทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการ ซึ่งต้องประสบอันตรายถึงทุพพลภาพในขณะปฏิบัติราชการ ในหน้าที่ทางยุทธการ หรือถูกประทุษร้ายเพราะกระทำการตามหน้าที่ ตามข้อ 2 หรือต้องบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือได้รับเงินค่าทำขวัญตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยคนงาน หรือได้รับบำเหน็จพิเศษตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง หรือบุตรของผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดีหรือเหรียญ หรือเข็มกล้าหาญ เพิ่มให้ร้อยละ 10 ของคะแนนเต็ม
4. บุตรของทหาร ตำรวจ ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการปราบปรามโจรผู้ร้ายจนถึงแก่ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ชีวิต หรือผู้ที่ได้ช่วยเหลือราชการในการปราบปรามโจรผู้ร้ายจนถึงแก่ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ชีวิต ซึ่งได้รับการรับรองจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพิ่มให้ร้อยละ 10 ของคะแนนเต็ม
* การเพิ่มคะแนนพิเศษ ตามข้อ 1 และ 2 ให้เพิ่มคะแนนพิเศษหลังจากสอบผ่าน วิชาปฏิบัติเครื่องดนตรี และสอบผ่านภาควิชาการ
* การเพิ่มคะแนนพิเศษตามข้อ 3 และ 4 ให้เพิ่มคะแนนพิเศษในการสอบทุกรอบ
* การเพิ่มคะแนนพิเศษตามข้อ 1, 2 , 3 และ 4 ให้เพิ่มเฉพาะ
กรณีที่ได้คะแนนมากที่สุดแต่เพียงอย่างเดียว
กำหนดการรับสมัคร และสอบคัดเลือก
- ประชาสัมพันธ์ระเบียบการ วันที่ 1 ม.ค. - 3 ก.พ. 56
- เปิดรับสมัคร(ผ่านเว๊บไซต์) วันที่ 4 - 15 ก.พ. 56
- ผู้สมัครชำระเงินผ่านธนาคารกรุงไทย วันที่ 4 - 17 ก.พ. 56
- ประกาศรายชื่อ และวันเวลาผู้มีสิทธิ์ทดสอบความสามารถทางดนตรี วันที่ 26 ก.พ. - 3 มี.ค. 56
- สอบความสามารถทางดนตรี วันที่ 4 - 15 มี.ค. 56 (เว้นวันหยุดราชการ)
- ประกาศผลสอบความสามารถทางดนตรี วันที่ 21 มี.ค. 56
- สอบคัดเลือกภาควิชาการ วันที่ 25 มี.ค.56
- ประกาศผลสอบคัดเลือกวิชาการ วันที่ 1 เม.ย. 56
- ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย และตรวจโรค วันที่ 4 - 5 เม.ย. 56
- สอบสัมภาษณ์ วันที่ 11 - 12 เม.ย. 56
- ประกาศผลสอบขั้นสุดท้าย วันที่ 19 เม.ย. 56
- ทำสัญญาเข้าเป็น นดย.ทบ. วันที่ 22 เม.ย.56
- เปิดการศึกษา วันที่ 1 พ.ค. 56
การสอบคัดเลือก แบ่งออกเป็น 3 รอบ ดังนี้
1. การสอบความสามารถทางดนตรี (รอบที่ 1)
2. สอบภาควิชาการ (รอบที่ 2)วิชาตามกลุ่มสาระ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ซึ่งมีระดับช่วงชั้นที่ 1 (ม.1 - ม.3) ตามหลักสูตร สพฐ.ศธ. พ.ศ.2549 และทฤษฎีดนตรี
3. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตรวจร่างกาย และสอบสัมภาษณ์ (รอบที่ 3)
การปฏิบัติในการสอบ
- ผู้สมัครต้องมาตามเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนด ผู้ใดไม่มาเข้าสอบถือว่าสละสิทธิ์
- ผู้สมัครจะต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนผู้สมัครต่อคณะกรรมการสอบ และเข้าสอบเรียงตามลำดับที่กำหนด
- ผู้สมัครทุกคนต้องแต่งกายชุดนักเรียน หรือชุดสุภาพเรียบร้อย ห้ามใส่ชุดกีฬา
- ผู้สมัครต้องปฏิบัติตามที่เจ้าหน้าที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
1. การสอบความสามารถทางดนตรี (รอบที่ 1)
1.1 ผู้เข้าสอบจะได้รับบทเพลงสำหรับทดสอบจากการสมัคร (ผ่านเว็บไซต์)ในวันที่สมัคร
1.2 ผู้เข้าสอบจะต้องฝึกฝนบทเพลงทดสอบที่ได้รับ จนมีความชำนาญเพื่อพร้อมทดสอบในวันทดสอบความสามารถทางดนตรี ตามวันเวลาที่คณะกรรมการรับสมัครกำหนด
1.3 ผู้เข้าสอบจะต้องฝึกฝนการบรรเลงโน้ตทันตาเห็นโดยมีขอบเขตลักษณะโน้ตไม่เกินเขบ็ต 2 ชั้น
1.4 ผู้เข้าสอบจะต้องฝึกฝนการร้อง โน้ตทดสอบโสตประสาท ให้ขับร้องโดยมีขอบเขตลักษณะโน้ตไม่เกินเขบ็ต 1 ชั้น และโดยให้ออกเสียง “ลา”
1.5 ผู้เข้าสอบสามารถนำเครื่องดนตรีของตนเองมาในวันทดสอบ เพื่อความสะดวกและความเคยชินของเครื่องมือ
1.6 โรงเรียนดุริยางค์ทหารบก มีเครื่องดนตรีให้ผู้เข้าสอบใช้ทดสอบตามที่ประกาศรับสมัคร
1.7 การฝึกซ้อมในวันมาสอบปฏิบัติเครื่องดนตรี สามารถฝึกซ้อมได้เฉพาะที่ห้องพักคอย และพื้นที่ภายในบริเวณโรงเรียนดุริยางค์ทหารบก เท่านั้น
การรายงานตัวในวันทดสอบฯ
- ผู้เข้าสอบเครื่องดนตรีประเภท เครื่องลมไม้ (Woodwinds), เครื่องลมทองเหลือง (Brasses), เครื่องสาย (Strings) จะต้องรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ตามวันเวลาที่กำหนด ณ อาคารอเนกประสงค์กองดุริยางค์ทหารบก โดยแบ่งเวลารับรายงานตัวเป็น 2 รอบ ดังนี้
ก) รอบเช้า เวลา 0630 - 0800
ข) รอบบ่าย เวลา 1200 – 1300
- ผู้เข้าสอบเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ (Percussions) จะต้องรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ ตามวันเวลาที่กำหนด ณ ห้องเรียน Percussions ใต้อาคารโรงเรียนดุริยางค์ทหารบก ด้านทิศเหนือ โดยแบ่งเวลารับรายงานตัวเป็น 2 รอบ ดังนี้
ก)รอบเช้า เวลา 0630 – 0800
ข)รอบบ่าย เวลา 1200 – 1300
- เจ้าหน้าที่จะนำตัวผู้เข้าสอบ เข้าทดสอบตามห้องทดสอบแต่ละประเภทเครื่องดนตรีจนจบขั้นตอนการทดสอบ
- ห้ามนำอุปกรณ์อิเลคโทรนิคต่างๆ เช่น โทรศัพท์, Tuner, Computer, เครื่องเล่น Tape CD mp3/mp4, พจนานุกรมอิเลคโทรนิค, หรืออื่นๆที่มีคุณสมบัติในการสื่อสาร บันทึก และคำนวณ เข้าห้องทดสอบความสามารถทางดนตรี (กระเป๋าหรือสิ่งของอื่นๆให้นำไว้นอกห้อง ทดสอบ ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่)
ขั้นตอนการทดสอบความสามรถทางดนตรี
- เมื่อเจ้าหน้าที่ปล่อยตัวให้เข้าห้องทดสอบ ให้ผู้สอบ เดินเข้าประจำจุด (กลางห้องทดสอบ) ต่อหน้าคณะกรรมการ และรายงานตัวต่อคณะกรรมการดังนี้
กระผม (คำนำหน้า) ชื่อ................สกุล.................ปฏิบัติเครื่องดนตรี (ชื่อเครื่องดนตรี)มาจาก (ชื่อโรงเรียน+จังหวัด) ขออนุญาตเข้าทดสอบความสามารถทางดนตรี ครับ
คณะกรรมการจะทดสอบความสามารถทางดนตรี ดังนี้
- การบรรเลงบทเพลงฝึกซ้อมล่วงหน้า ที่ได้รับในวันสมัคร
- การบรรเลงเพลงทันตาเห็น
- การทดสอบโสตประสาท (ร้องโน้ตดนตรี)
- จบการทดสอบความสามารถทางดนตรี ผู้เข้าสอบสามารถเดินทางกลับได้ และรอฟังผลการทดสอบต่อไป
2. สอบภาควิชาการ (รอบที่ 2)
2.1 ผู้สมัครต้องไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลาสอบประมาณ 30 นาที เพื่อตรวจสอบแผนผังห้องสอบ และที่นั่งสอบ ห้ามผู้ปกครองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับผู้สอบในระหว่างนี้โดยเด็ดขาด
2.2 ผู้สมัครต้องเตรียมปากกา ดินสอและยางลบมาเอง ทางราชการจะแจกกระดาษคำตอบ (ที่มีลายเซ็นของกรรมการคุมห้องสอบกำกับที่หัวมุมกระดาษทุกแผ่น) พร้อมกับปัญหาสอบให้ ห้ามนำกระดาษชนิดอื่น ๆ เข้าไปในห้องสอบโดยเด็ดขาด
2.3 ข้อสอบทุกข้อจะมีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว ผู้ใดตอบเกิน 1 คำตอบ กรรมการจะไม่พิจารณาให้คะแนนในข้อนั้น
2.4 ห้ามนำเครื่องคิดเลข โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นเพลง mp3 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทุกชนิดเข้าห้องสอบโดยเด็ดขาด ผู้เข้าสอบต้องฝากเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดกับเจ้าหน้าที่คุมสอบด้านหน้าห้องก่อนเข้าสอบ หากตรวจพบเจอจะถือว่าทุจริตในการสอบ
2.5 หากปรากฏว่ามีการทุจริตหรือมีการช่วยเหลือกันในขณะสอบ กรรมการคุมห้องสอบจะบันทึกลงในใบคำตอบไว้ ทั้งผู้ช่วยเหลือและผู้รับการช่วยเหลือจะมีความผิดเท่ากัน ซึ่งถือว่าหมดสิทธิ์ในการสอบคัดเลือกในปีนี้และปีต่อๆ ไปด้วย
2.6 กรณีผู้ช่วยเหลือเป็นคนอื่น (มิใช่ผู้สมัคร) ทางราชการจะส่งตัวให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามกฎหมาย
2.7 การเข้าห้องสอบ
ก) ก่อนเวลาสอบประมาณ 20 นาที กรรมการคุมห้องสอบจะเรียกผู้สมัครทุกคนมาพร้อมกันที่หน้าห้องสอบ (ตามหมายเลขที่กำหนด)
ข) ห้ามนำอุปกรณ์ทุกชนิดเข้าไปในห้องสอบ ยกเว้นตามข้อ 2.2
ค) กรรมการคุมห้องสอบจะเรียกเข้าห้องสอบ โดยตรวจบัตรประจำตัวผู้สมัครให้ถูกต้องกับหลักฐานที่กรรมการมีอยู่ เข้านั่งตามหมายเลขที่กำหนด และตรงตามรูปถ่าย
ง) กรรมการจะแจกปัญหาสอบและใบคำตอบ
จ) ถ้ามีข้อสงสัยหรือต้องการสิ่งใดให้ยกมือขึ้น แล้วแจ้งให้กรรมการทราบ
ฉ) เมื่อเริ่มการสอบแล้ว ผู้มาสอบสายเกิน 30 นาที ถือว่าหมดสิทธิ์ในการสอบ
ช) ห้ามพูดคุยหรือแสดงกิริยาที่ส่อไปในทางทุจริต ห้ามเปิดปัญหาสอบจนกว่าจะได้รับคำสั่ง
ซ) ผู้สมัครทุกคนจะต้องอยู่ในห้องสอบอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ถึงจะออกจากห้องสอบก่อนเวลานี้ไม่ได้ ไม่ว่าจะทำปัญหาสอบได้หรือไม่ก็ตาม
ด) เมื่อกรรมการคุมห้องสอบบอกหมดเวลา ให้ผู้สมัครทุกคนออกนอกห้องทันที และให้วางเอกสารไว้บนโต๊ะให้เรียบร้อย
3. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตรวจร่างกาย และสอบสัมภาษณ์ (รอบที่ 3)
3.1 ผู้สมัครจะต้องนำชุดกีฬา และรองเท้ากีฬามาเปลี่ยนในวันทดสอบด้วย เป็นการทดสอบสมรถภาพของร่างกายด้านความแข็งแรง ความว่องไว และความอดทน มีรายละเอียด ดังนี้
ก) ดันพื้น (2 นาที) เกณฑ์ผ่าน ชาย 12 ครั้ง หญิง 8 ครั้ง
ข) ลุกนั่ง (2 นาที) เกณฑ์ผ่าน ชาย 18 ครั้ง หญิง 13 ครั้ง
ค) วิ่ง 800 เมตร เกณฑ์ผ่าน ชาย 3.31 นาที หญิง 4.16 นาที
3.2 ผู้สมัครสอบต้องเข้ารับการตรวจสอบร่างกาย ตามวัน เวลา ที่กำหนด และจะต้องนำเงินมาชำระค่าตรวจโรค สถานที่ตรวจร่างกาย ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบกผลการตรวจร่างกาย ถือความเห็นและการชี้ขาดของกรรมการแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อตรวจร่างกายผู้สมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนดุริยางค์ทหารบก เป็นการวินิจฉัยเด็ดขาด จะไม่รับพิจารณาผลการตรวจร่างกายที่ผู้สมัครได้รับการตรวจโรค หรือได้รับใบรับรองการตรวจโรคจาก ที่อื่น ผู้ผ่านการตรวจร่างกาย ต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์ตามเกณฑ์และไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการ และเป็นไปตามที่กองทัพบกกำหนด
3.3 สอบสัมภาษณ์ เป็นการพิจารณาตรวจสอบบุคลิกลักษณะ ความสมบูรณ์ของร่างกาย เชาวน์ปัญหา รวมทั้งคุณลักษณะอื่น ๆ สำหรับการเป็นทหาร
ผนวก
ขนาดพิกัดของร่างกาย และบัญชีโรค หรือความผิดปกติหรือความพิการ
ซึ่งขัดต่อการเป็นนักเรียนดุริยางค์ ประกอบระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยโรงเรียนดุริยางค์ทหารบก พ.ศ.2553
1.ขนาดพิกัดของร่างกาย
อายุ (ปี)
|
ชาย
|
หญิง
|
หมายเหตุ
|
||||
ความขยายของอก (ซ.ม.)
|
น้ำหนัก
|
สูง
|
น้ำหนัก
|
สูง
|
|||
หายใจเข้า
|
หายใจออก
|
(กก.)
|
(ซม.)
|
(กก.)
|
(ซม.)
|
||
15
|
75
|
72
|
42
|
152
|
41
|
148
|
|
16
|
76
|
73
|
44
|
154
|
42
|
149
|
เกณฑ์นี้
|
17
|
77
|
74
|
46
|
156
|
43
|
150
|
เป็นอย่างน้อย
|
18
|
78
|
75
|
48
|
158
|
44
|
151
|
2.มาตราฐานสัดส่วนร่างกายใช้ค่าดัชนีมวลกาย(BMI)เป็นเกณฑ์ตามที่กรมยุทธศึกษาทหารบก กำหนด
3.บัญชีโรค หรือความผิดปกติ หรือความพิการ ซึ่งขัดต่อการเป็นนักเรียนดุริยางค์
3.1 ร่างกายผิดปกติ หรือวิกลรูป หรือพิการ
3.1.1 หน้าผิดรูปจนดูน่าเกลียดอบ่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
3.1.1.1 อัมพาตที่หน้า (Facial paralysis)
3.1.1.2 เนื้อกระตุก (Tics)
3.1.1.3 แผลเป็น หรือปานที่หน้า มีเนื้อที่ตั้งแต่ 1.5 ตารางนิ้วขึ้นไป หรือมีความยาวมากจนน่าเกลียด
3.1.1.4 เนื้องอก ที่หน้ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 5 ซ.ม.ขึ้นไป
3.1.2 ปากผิดรูปจนดูน่าเกลียด เช่นแหว่ง หือผิดรูปจนพูดไม่ชัด
3.1.3 ช่องปากผิดรูป หรือผิดปกติจนพูดไม่ชัด
3.1.4 ซอกคอ หรือ ศอก รักแร้ติดกัน
3.1.5 แขน หรือขา
3.1.5.1 ยาวไม่เท่ากัน หรือผิดรูปจนมองเห็นได้ชัด
3.1.5.2 โค้งเข้า หรือ ออก
3.1.5.3 ลีบ หรือบิดเก
3.1.6 มือ หรือเท้า
3.1.6.1 ลีบ หรือบิดเก
3.1.6.2 เท้าปุก
3.1.7 นิ้วมือ หรือนิ้วเท้า
3.1.7.1 บิดเก และทำงานไม่ถนัด
3.1.7.2 ด้วนถึงโคนเล็บ
3.1.7.3 มีจำนวนเกินกว่า หรือน้อยกว่าปกติ
3.1.7.4 ช่องระหว่างนิ้ว หรือนิ้วเท้าติดกัน
3.1.8 คนเผือก
3.2 กระดูก หรือกล้ามเนื้อ
3.2.1 ข้อติด (Ankylosis)หรือหลวมหลุดง่าย
3.2.2 ข้ออักเสบจนกระดูกเปลี่ยนรูป
3.2.3 คอเอียง หรือแข็งทื่อจากกระดูก หรือกล้ามเนื้อพิการ
3.2.4 กระดูกสันหลังคด หรือโก่ง หรือแอ่นจนเห็นได้ชัด
3.2.5 กระดูกอักเสบ (Osteomyelitis)
3.2.6 กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบ หรือหดสั้น (Atrophy or Contracture)
3.3 ผิวหนัง
3.3.1 โรคผิวหนังเรื้อรังซึ่งยากต่อการรักษา หรือเป็นที่น่ารังเกียจ
3.3.2 แผลเป็น ไฝ ปานที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายมีขนาดตั้ง 1.5 นิ้ว x 1.5 นิ้วขึ้นไป หรือมากจนดูน่าเกลียด
3.3.3 มีรอยสักบนส่วนต่างๆ ของร่างกาย
3.3.4 เนื้องอกเล็กๆ เป้นปุ่มๆ ที่ผิวหนังของร่างกาย
3.3.5 ฝังมุก
3.4 ตา
3.4.1 สายตาผิดปกติ แม้เพียงข้างเดียวโดยที่แก้ไขให้เป็น Spherical Equivalent แล้ว เกินกว่า 1.5 ไดออปเตอร์ Spherical Equivalent นั้นมีความหมายว่าในการตรวจสอบสายตานั้น ถือ สายตาสั้นหรือยาวเป็นสำคัญ ถ้ามีสายตาเอียงร่วมด้วยจะแก้สายตาเอียงนั้นให้เป็นสายตาสั้นหรือยาว คือทำให้เป็น Spherical Equivalent ถ้าแก้สายตาสั้นหรือยาวนั้นมากกว่า 1.5 ไดออปเตอร์ ก็ถือว่าไม่สามารถ เป็นนักเรียนดุริยางค์ทหารบกได้
3.4.2 บอดสี
3.4.3 ตาเหล่(Squint) จนปรากฎชัด
3.4.4 ลูกตาสั้น (Nystagmus)
3.4.5 แก้วตาขุ่น (Cataract)
3.4.6 กระจกตาขุ่น (Opacity of Cornea)
3.4.7 กระจกตาเอกเสบเรื้อรัง (Chronic Interstitial Keratitis)
3.4.8 หนังตาแหว่งจนเสียรูป
3.4.9 หนังตาตก
3.4.10 หนังตาม้วนเข้า (Entropion) หรือหนังตาม้วนออก
3.4.11 ช่องหนังตา (Palpebral Fissure) กว้างไม่เท่ากันจนดูน่าเกลียด
3.4.12 ต้อหิน
3.5 หู คอ จมูก
3.5.1 ใบหูผิดรูป หรือผิดขนาดจนปรากฎชัด
3.5.2 ช่องหูมีหนองเรื้อรัง
3.5.3 แก้วหูทะลุ
3.5.4 การได้ยินเสียงผิดปกติ
3.5.5 โรค หรือความพิการใดๆ ที่ทำให้ได้ยินเสียงผิดปกติ
3.5.6 เพดานโหว่ หรือเพดานสูงจนพูดไม่ชัด
3.5.7 จมูกผิดรูปจนดูน่าเกลียด เช่นบี้ หรือแหว่ง
3.5.8 ริดสีดวงจมูก (Nasal Polyp)
3.5.9 ต่อมทอมซิลอักเสบรื้อรัง และโตมาก (ในวันตรวจเพื่อเข้าเป็นนักเรียนดุริยางค์)
3.5.10 พูดติดอ่าง
3.6 ฟัน
3.6.1 มีฟันเคี้ยวอาหารได้ไม่ครบตามหลักเกณฑ์ คือกำหนดฟันกราม (Molas) และฟันกรามน้อย(Premolars) อย่างน้อยข้างบน 6 ซี่ และข้างล่าง 6 ซี่ ฟันหน้า (Incisors and Canines)ข้างบน 4 ซี่ ข้างล่าง 4 ซี่ ฟันที่ถอนไปแล้วหากได้รับการใส่เรียบร้อยมั่นคง หรือด้วยวิธีทำสะพาน (Bridge) จึงให้นับเป็นจำนวนซี่ได้ ฟันตามจำนวนดังกล่าวข้างต้นนั้น จะต้องไม่มีคุณลักษณะดังนี้
3.6.1.1 ฟันที่เป็นรูผุที่ไม่ได้รับการอุด หรือุดด้วยวัตถุไม่ถาวร
3.6.1.2 ฟันที่อุด หรือทำครอบไม่เรียบร้อย
3.6.1.3 ฟันน้ำนม
3.6.1.4 ฟันตาย เว้นแต่คลองประสาทได้รับการอุดที่ถูกต้อง
3.6.1.5 ฟันยาวผิดปกติ หรือขึ้นผิดที่ หรือเก จนไม่สามารถที่จะจัดให้สบกันได้กับฟันธรรมดา หรือฟันปลอม
3.6.1.6 มีการทำลายอย่างรุนแรงของอวัยวะที่รองรับ เช่นกระดูก เหงือก เยื่อหุ้มรากฟัน
3.6.2 มีช่องว่างระหว่างฟันหน้าห่างจนดูน่าเกลียด
3.6.3 การสบของฟันที่ผิดปกติอย่างมากจนทำให้ใบหน้าผิดไป หรือการเคี้ยวอาหารธรรมดาไม่ได้ผล
3.6.4 ถุงน้ำ (Cysts) การอักเสบที่เรื้อรัง โรคเหงือกอักเสบอย่างรุนแรง หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ ในปาก เช่น ฟันคุด ฟันที่ยังไม่ขึ้น หรือฟันที่ขึ้นผิดที่ ซึ่งสภาพการเช่นนี้ อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะ ข้างเคียง หรือสุขภาพของผู้สมัคร
3.7 หัวใจ และหลอดเลือด
3.7.1 หัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart diseases)
3.7.2 ลิ้นหัวใจพิการ
3.7.3 หัวใจวาย และมีเลือดคั่ง (Congestive heart failure)
3.7.4 หัวใจเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที หรือช้ากว่า 50 ครั้งต่อนาที
3.7.5 อนิวริซึม (Aneurysm of Aorta) ของหลอดเลือดใหญ่
3.7.6 หลอดเลือดดำขอด ที่ขา หรือ แขน ซึ่งเป็นมากจนเห็นได้ชัด
3.8 ระบบหายใจ
3.8.1 วัณโรคปอด (Pulmonary tuberculosis)
3.8.2 หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic-bronchitis)
3.8.3 หลอดลมขยายพอง (Bronchiectasis)
3.8.4 หืดหลอดลม
3.8.5 มีน้ำหรือมีหนอง หรือลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
3.8.6 หลอดลมอักเสบ ซึ่งกำลังปรากฏอาการฟังได้ชัดเจน
3.9 ระบบทางเดินอาหาร
3.9.1 ตับแข็ง (Cirrhosis of liver)
3.9.2 ฝีที่ตับ (Abscess of liver)
3.9.3 ดีซ่าน (Jaundice)
3.9.4 ริดสีดวงทวารหนักที่เห็นชัดเจน
3.9.5 ฝีคัณฑสูตร (Peroanal Abscess)
3.9.6 ไส้เลื่อน
3.10 ระบบทางเดินปัสสาวะ อวัยวะสืบพันธุ์ รวมทั้งกามโรค
3.10.1 ไต อักเสบเรื้อรัง
3.10.2 ไตพองเป็นถุงน้ำ
3.10.3 ไตพองเป็นถุงหนอง
3.10.4 นิ่วในไต จนทำให้ไตเสื่อมสมรรถภาพอย่างถาวร (Renal Calculalus with Permanant Impairment or Renal Function)
3.10.5 กล่อนน้ำ (Hydrocele)
3.10.6 หลอดเลือดดำขอดที่ถุงอัณฑะ (Varicocele)
3.10.7 กระเทย (Hermaphrodism)
3.10.8 กามโรคที่ปรากฎอาการอย่างหนึ่งอย่างใด
3.11 ระบบประสาท
3.11.1 โรคจิต (Psychosis)
3.11.2 อัมพาต หรือการเคลื่อนไหวผิดปกติ
3.11.3 โรคลมชัก ( Epilepsy)
3.11.4 ปัญญาอ่ออน (Mental Deficiency)
3.11.5 ใบ้
3.12 ระบบต่อมไร้ท่อ
3.12.1 โรคคอพอก (Simple goitre)
3.12.2 ธัยโรทอกซิโคซิส (Thyrotoxicosis)
3.12.3 มิกซิเดมา (Myxedema)
3.12.4 เบาหวาน (Diabetes mellitus)
3.10.5 โรคอ้วนพี (Obesity)
1.13 โรคของเลือดและอวัยวะก่อกำเนิดเลือด (Diseases of blood and blood forming organs) ผิดปกติอย่างถาวร และอาจเป็นอันตราย
3.14 โรคติดเชื้อหรือโรคเกิดจากปาราสิต (Infectious and Parasitic diseases)
3.14.1 โรคเรื้อน (Leprosy)
3.14.2 โรคเท้าช้างท่ปรากฎอาการ
3.14.3 วัณโรคของอวัยวะอื่น
3.14.4 โรคคุดทะราด หรือรองพื้น (Yaws)
3.14.5 โรคติดต่ออันตราย
3.15 เนื้องอก (Neoplasm)
3.15.1 เนื้องอกไม่ร้าย(Benign Neophas)ที่มีขนาดใหญ่
3.15.2 เนื้องอกร้ายไม่ว่าจะเป็นแก่อวัยวะใด (Malignant neoplasm)
3.16 โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติดให้โทษ
3.17 โรคหรือความพิการใด ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ แต่คณะกรรมการแพทย์เห็นว่าไม่สมควรรับเป็นนักเรียนดุริยางค์ทหารบก
3.18 โรคเอดส์
• Turn your talent in music into a professional career.
• Royal Thai Army School of Music
• To supply professional musician to the Army
• Leading the Trooping's Parade
•
สถานที่ติดต่อ โรงเรียนดุริยางค์ทหารบก ถ.วิภาวีรังสิต สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทร.0 2245 9378, 0 2245 3373, 0 2245 1457 ต่อ 89530
email: rtasm@hotmail.com
Face book: http://facebook.com/rtasm
Url: www.rta-band.com/rtasm/
คำเตือน
หากมีผู้ใดแอบอ้างว่าสามารถช่วย เหลือท่านได้ด้วยวิธีการต่างๆ ให้เข้าเป็นนักเรียนดุริยางค์ทหารบก รวมทั้งการอ้างว่ารู้จักกรรมการสอบคัดเลือก หรือนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่ช่วยเหลือได้ แล้วเรียกร้องเงินเป็นค่าตอบแทน โดยสัญญาว่าจะคืนเงินให้หากสอบเข้าไม่ได้ ขอได้แจ้งให้ทางโรงเรียนดุริยางค์ทหารบก เพื่อจะได้ติดตามดูพฤติการณ์และดำเนินการตามกฎหมายต่อไป โดยจะปกปิดนามผู้แจ้งไว้เป็นความลับ และขอขอบคุณในความร่วมมือไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
อย่าหลงเชื่อบุคคลใดก็ตามที่แอบอ้างว่าสามารถช่วยเหลือให้ท่าน เป็นนักเรียนดุริยางค์ทหารบกได้ โดยมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม การที่จะสอบผ่านหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถ ของตัวท่านเอง ไม่มีใครช่วยท่านได้