ประกาศคณะกรรมการอำนวยการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการในกองทัพอากาศเรื่อง การรับสมัครและสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการในกองทัพอากาศประจำปีงบประมาณ 2556
1. กล่าวนำ
ด้วย กองทัพอากาศ มีความประสงค์จะรับสมัครบุคคลพลเรือน นายทหารประทวนทหารกองหนุน ลูกจ้าง และพนักงานราชการ เพื่อสอบคัดเลือกเข้ารับราชการเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตรและเป็นข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร ปีงบประมาณ 2556 จำนวน 363 อัตรา
2. ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร
2.1 บรรจุเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตร (แต่งตั้งยศเป็นว่าที่เรืออากาศตรี) จำนวน 35 อัตราโดยมีคุณวุฒิปริญญาตรี - โท ในสาขาวิชาที่กำหนด (ผนวก ก)
2.2 บรรจุเป็นข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร (แต่งตั้งยศเป็นจ่าอากาศตรี) จำนวน 328 อัตราโดยมีคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี (มัธยมศึกษาตอนต้น, มัธยมศึกษาตอนปลาย, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)) (ผนวก ข)
3. คุณสมบัติทั่วไป
3.1 มีสัญชาติไทย บิดาและมารดา มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหาร
สัญญาบัตร หรือนายทหารประทวนซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดอยู่แล้ว มารดาจะมิใช่เป็น ผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้
3.2 มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทาง และขนาดของร่างกายเหมาะสมแก่การเป็นทหารไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 74 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยการรับราชการทหาร พ.ศ.2497 และระเบียบกองทัพอากาศว่าด้วยมาตรฐานการตรวจทางแพทย์ของบุคคลที่สมัครเข้ารับราชการเป็นผู้ปฏิบัติงานภาคพื้นดินในกองทัพอากาศ พ.ศ.2518 (ผนวก ซ)
3.3 มีความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร ยกเว้นในบางตำแหน่งที่กำหนดเป็นอื่น ตามที่กำหนดในคุณสมบัติเฉพาะ
3.4 ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี
3.5 ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นบุคคลล้มละลายตามคำพิพากษาของศาล
3.6 ไม่เป็นผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลในคดีอาญา ยกเว้นความผิฐานประมาทหรือลหุโทษ
3.7 ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างพักราชการหรือสำรองราชการอันเนื่องมาจากความผิดหรือหนีราชการ
3.8 ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกปลดออกจากราชการเพราะความผิด หรือถูกไล่ออกจากราชการ
3.9 ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสารเคมีเสพติดให้โทษ
3.10 ไม่เป็นผู้ที่ตาบอดสี (ผลการตรวจร่างกายจาก คณก.แพทย์ทหาร ถือเป็นข้อยุติ)
4. คุณสมบัติเฉพาะ
4.1 ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้มีเกณฑ์อายุตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497
4.1.1 ผู้สมัครสอบตำแหน่งข้าราชการชั้นสัญญาบัตร มีอายุระหว่าง 18 ปีบริบูรณ์ถึง 35 ปี (เกิดในระหว่างปี พ.ศ.2521 - พ.ศ.2538)
4.1.2 ผู้สมัครสอบตำแหน่งข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร มีอายุระหว่าง 18 ปีบริบูรณ์ ถึง 30 ปี (เกิดในระหว่างปี พ.ศ.2526 - พ.ศ.2538) ยกเว้นในบางตำแหน่งที่กำหนดเป็นอื่นตามที่กำหนดในคุณสมบัติเฉพาะ
4.2 ผู้สมัครสอบต้องสำเร็จการศึกษาก่อนวันปิดรับสมัครในวันที่ 5 มีนาคม 2556คุณวุฒิปริญญาใช้ปริญญาบัตรหรือหนังสือรับรองจากสภาของสถาบันที่ระบุว่า “โดยอนุมัติสภาของสถาบัน”พร้อม Transcript และประกาศนียบัตรวิชาชีพ, มัธยมศึกษาตอนปลาย, มัธยมศึกษาตอนต้น ใช้ใบสุทธิหรือประกาศนียบัตร หรือระเบียนแสดงผลการเรียน โดยระบุวันสำเร็จการศึกษาจากผู้มีอำนาจลงนาม
4.3 ผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่มีคุณวุฒิทางการศึกษา/สาขาวิชา ตรงตามที่กำหนดไว้ในแต่ละตำแหน่งที่จะสมัครสอบ กรณีที่คุณวุฒิเรียกชื่อไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ให้ใช้ผลการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตร
วิชาชีพของสำนักงาน ก.พ. ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร 1004.3/ว 41 ลงวันที่ 30 กันยายน 2553 สำหรับคุณวุฒิที่ไม่ได้กำหนดไว้ในหนังสือดังกล่าว ให้เป็นหน้าที่ของผู้สมัครประสานกับสถานศึกษาเพื่อขอเอกสารยืนยันว่า สำนักงาน ก.พ.ได้มีการรับรองหลักสูตรการเรียนที่เรียนสำเร็จมาว่าเป็นไปตามที่ประกาศรับสมัคร นำมาให้เจ้าหน้าที่ภายในวันที่ 25 เมษายน 2556 หากเกินกำหนดถือว่าสละสิทธิ
4.3.1 ผู้สมัครสอบที่ใช้คุณวุฒิปริญญาโท, ปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ต้องมีผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2.20 ยกเว้นรหัสตำแหน่ง 1103,1113 และ 1121 ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2.80
4.3.2 ผู้สมัครสอบที่ใช้คุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนต้น หรือคุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย ต้องมีผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2.00
4.4 ผู้สมัครต้องไม่เป็นผู้รับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (สด.35) หรือผู้ที่อยู่ในระหว่างการผ่อนผันการตรวจเลือก หรือไม่เป็นผู้ที่มีข้อผูกพันตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารได้แก่ ทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) ผู้ที่ได้รับหมายเรียกให้เข้ารับราชการทหารกองประจำการในปีพ.ศ.2556 หากยังไม่พ้นภาระทางทหารดังกล่าว สอบได้ถือว่าสละสิทธิ ไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้น
4.5 มีคุณลักษณะเฉพาะอื่น ๆ ครบถ้วน และตามที่กำหนดไว้ในแต่ละตำแหน่งที่สมัครสอบ
4.6 นายทหารประทวน, ลูกจ้าง หรือพนักงานราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม จะต้องมีหนังสืออนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัด (นำมาให้ในวันรายงานตัวรอบสอง (รอบสุดท้าย))
4.7 ข้าราชการอื่นที่มิได้สังกัดกองทัพอากาศ หากสอบได้จะไม่รับโอนและย้าย (ต้องลาออกจากส่วนราชการเดิมก่อน) โดยบรรจุให้รับเงินเดือนตามคุณวุฒิที่สมัคร
4.8 พระภิกษุหรือสามเณร ทางกองทัพอากาศไม่รับสมัครสอบและไม่อาจให้เข้าสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการได้ ทั้งนี้เป็นไปตามหนังสือ กรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ที่ นว 89/2501 ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2501 และตามความในข้อ 5 ของคำสั่งมหาเถรสมาคม ลงวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2538
5. การสมัครสอบและวิธีการสมัครสอบ
5.1 วิธีการสมัคร กองทัพอากาศเปิดรับสมัครทางอินเทอร์เน็ตทางเดียวเท่านั้นโดยสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันอังคารที่ 15 มกราคม 2556 ถึง วันอังคารที่ 5 มีนาคม 2556 ที่เว็บไซต์ http://job.rtaf.mi.th ตลอด 24 ชั่วโมง (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) โดยมีค่าใช้จ่าย จำนวน 350 บาท เป็นค่าธรรมเนียมการสอบ 320 บาท ค่าธรรมเนียมธนาคารและค่าบริการทางอินเทอร์เน็ต 30 บาท ในอัตราเดียวกันทั่วประเทศ โดยนำแบบฟอร์มการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ไปชำระเงินค่าสมัครสอบที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือชำระเงินทางระบบอินเทอร์เน็ตผ่าน KTB online (ต้องเปิดบัญชีของธนาคารกรุงไทย) หรือชำระเงินผ่านตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย (ต้องเป็นบัตร ATM ของธนาคารกรุงไทย)
ตั้งแต่วันอังคารที่ 15 มกราคม 2556 ถึง วันอังคารที่ 5 มีนาคม 2556 ภายในเวลาทำการของธนาคาร ทั้งนี้การสมัครสอบจะมีผลสมบูรณ์เมื่อผู้สมัครได้ชำระค่าธรรมเนียมการสอบแล้ว และจะไม่คืนให้ไม่ว่ากรณีใด ๆทั้งสิ้น
5.2 ขั้นตอนการสมัครสอบ
5.2.1 ผู้สมัครต้องอ่านและทำความเข้าใจเกี่ยวกับประกาศรับสมัครและขั้นตอนการกรอกใบสมัครให้ละเอียดครบถ้วนก่อนทำการกรอกใบสมัคร
5.2.2 การสมัครให้เข้าไปทาง ที่เว็บไซต์ http://job.rtaf.mi.th เพื่อเข้าสมัคร
5.2.3 เข้าระบบกรอกข้อมูลการสมัคร โดยจะต้องกรอกให้ครบทุกช่องตามที่กำหนดในกรณีที่ไม่มีข้อมูลกรอกในช่องใดให้พิมพ์เครื่องหมายขีด (-)
5.2.4 นำเฉพาะรูปถ่าย ของผู้ที่จะสมัครสอบที่เตรียมไว้เข้าเครื่องสแกนเนอร์(โดยเป็นรูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่สวนแว่นกันแดด แต่งกายชุด นักศึกษา ชุดนักเรียน หรือชุดสุภาพ ขนาด 1x1.5 นิ้ว ให้ระบุชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษ ขนาดรูป 120x150 pixels และขนาดไฟล์ไม่เกิน50 Kbytes) สแกนเข้าระบบไว้ในที่กำหนดตามแบบฟอร์มข้อมูลการสมัคร รายละเอียดให้ศึกษาที่หน้าเว็บไซต์ของการสมัครสอบ (รูปถ่ายไม่เกิน 3 เดือน)
5.2.5 ตรวจสอบข้อความที่กรอกในแบบฟอร์มข้อมูลการสมัครให้ถูกต้องครบถ้วนเนื่องจากเมื่อส่งข้อมูลการสมัครทางระบบอินเทอร์เน็ตแล้ว ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลการสมัครอีกได้
5.2.6 สั่งพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินที่ธนาคารทันที หลังจากกรอกใบสมัครและได้ส่งข้อมูลการสมัครแล้ว
5.2.7 นำแบบฟอร์มการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ไปชำระเงินค่าสมัครสอบที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือชำระเงินทางระบบอินเทอร์เน็ตผ่าน KTB online (ต้องเปิดบัญชีของธนาคารกรุงไทย) หรือชำระเงินผ่านตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย (ต้องเป็นบัตร ATM ของธนาคารกรุงไทย)ภายใน 3 วัน นับจากวันที่ส่งข้อมูลการสมัคร หากพ้นกำหนดอาจถูกพิจารณาตัดสิทธิในการสมัคร
5.2.8 ชำระเงินแล้ว 5 วันทำการ (นับตั้งแต่วันชำระเงินที่ธนาคาร) ให้เข้าระบบอินเทอร์เน็ตอีกครั้ง โดยกรอกเลขประจำตัวประชาชนเพื่อสั่งพิมพ์ใบสมัครและบัตรประจำตัวสอบพร้อมหมายเลขประจำตัวผู้สอบ โดยให้ใช้กระดาษ A4 สีขาว ในการพิมพ์ใบสมัครและบัตรประจำตัวสอบ โดยให้นำบัตรประจำตัวสอบไปใช้เป็นหลักฐานในการเข้าสอบคู่กับบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐ (ที่ยังไม่หมดอายุ)
ส่วนใบสมัครให้มายื่นภายหลังจากการประกาศชื่อผู้สอบผ่านรอบแรกพร้อมหลักฐาน ตามข้อ 6
5.3 ผู้สมัครสอบจะมีสิทธิเข้าสอบก็ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ออกรหัสหมายเลขประจำตัวผู้สอบให้แล้วเท่านั้น
5.4 กรณีผู้สมัครที่อยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับสิทธิคะแนนเพิ่ม ตามมาตรการจูงใจให้ทหารกองเกินสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ สังกัดกองทัพอากาศ (ตามอนุมัติ ผบ.ทอ.เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2546ท้ายหนังสือ กพ.ทอ.ที่ กห 0603.2/7232 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2546 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) โดยให้ผู้สมัครยื่นหนังสือรับรองเพื่อขอคะแนนเพิ่ม ภายในวันที่ 5 มีนาคม 2556 เวลา 0800 - 1530 ณ แผนกบรรจุปลด กองจัดการกำลังพล กรมกำลังพลทหารอากาศ หากเกินกำหนดถือว่าสละสิทธิอนึ่งการสมัครสอบตามขั้นตอนข้างต้น ถือว่าผู้สมัครเป็นผู้รับรองตนเอง และรับรองความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ดั้งนั้นหากผู้สมัครกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ จะถือว่าใบสมัครนั้นไม่ถูกต้องตามประกาศในการสมัครสอบ และอาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญาทั้งนี้การสมัครสอบทางระบบอินเทอร์เน็ต ถือว่าผู้สมัครสอบรับทราบและเข้าใจในประกาศรับสมัครและเอกสารแนบท้ายประกาศ และถือว่าผู้สมัครได้รับรองตนเองว่ามีคุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะตรงตามประกาศนี้
6. หลักฐานการสมัครสอบผู้สอบผ่านภาควิชาการ (รอบแรก) และการรายงานตัวในวัน
ประกาศผลสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย)
6.1 หลักฐานการสมัครสอบและรายงานตัวผู้สอบผ่านภาควิชาการ (รอบแรก)
6.1.1 ใบสมัครและบัตรประจำตัวสอบที่พิมพ์จากระบบอินเทอร์เน็ต (พร้อมลงลายมือชื่อจริง)
6.1.2 บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา 2 ชุด
6.1.3 หลักฐานแสดงคุณวุฒิการศึกษา พร้อมสำเนา จำนวน 2 ชุด ในระดับคุณวุฒิและสาขาที่ตรงกับตำแหน่งที่สมัครสอบเท่านั้น ให้นำหลักฐานมารายงานตัว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
6.1.3.1 คุณวุฒิปริญญาตรี - โท ให้ใช้ปริญญาบัตรหรือหนังสือรับรองจากสภาของสถาบันที่ระบุว่า “โดยอนุมัติสภาของสถาบัน” พร้อม Transcript
6.1.3.2 คุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพให้ใช้ระเบียนแสดงผลการศึกษา
6.1.3.3 คุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนต้น, มัธยมศึกษาตอนปลาย ให้ใช้ใบสุทธิหรือประกาศนียบัตร หรือระเบียนแสดงผลการศึกษา
6.1.3.4 หนังสือรับรองผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรจากสถานศึกษา
6.1.4 ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้สมัคร และบิดา มารดา ผู้ให้กำเนิด พร้อมสำเนาจำนวน 2 ชุด หรือสำเนาทะเบียนบ้านที่นายทะเบียนรับรอง เพื่อแสดง วัน เดือน ปีเกิด สัญชาติที่ชัดเจน
6.1.4.1 กรณีที่บิดา และ/หรือ มารดาไม่ได้อยู่ในทะเบียนบ้านฉบับเดียวกันกับผู้สมัคร ให้นำทะเบียนบ้านของบิดา และมารดา มาแสดงด้วย
6.1.4.2 กรณีที่บิดา และ/หรือ มารดาถึงแก่กรรม และไม่มีชื่ออยู่ใน ทะเบียนบ้านให้นำใบมรณะบัตรหรือหลักฐานอื่นของทางราชการมาแสดงประกอบ เพื่อแสดงสัญชาติของบิดา มารดาด้วย
6.1.4.3 กรณีที่ ปู่ ย่า ตา ยาย มิได้ระบุว่าเป็นสัญชาติไทย จะต้องแสดงหลักฐานของบิดา มารดา แล้วแต่กรณีว่ามีสัญชาติไทยโดยกำเนิด มิใช่โดยการแปลงสัญชาติ
6.1.5 สำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
6.1.6 หลักฐานทางทหาร สด.3 หรือ สด.8 หรือ สด.43 หรือ รด.ปี 3 ฉบับตัวจริงพร้อมสำเนา จำนวน 2 ชุด มาแสดงด้วย
6.2 หลักฐานการรายงานตัวในวันประกาศผลสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย)
6.2.1 หลักฐานตามข้อ 6.1
6.2.2 หลักฐานการได้รับอนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัด (ถ้ามี)
6.2.3 หลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงว่ามีคุณลักษณะเฉพาะตรงตามตำแหน่งที่สมัครสอบเช่น ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ เป็นต้น
6.2.4 หลักฐานฉบับตัวจริง เจ้าหน้าที่จะคืนให้เมื่อตรวจสอบแล้วเสร็จในวันที่ยื่นหลักฐาน
6.3 หลักฐานการสมัครและรายงานตัวที่เป็นสำเนา ผู้สมัครต้องลงชื่อรับรองทุกฉบับ
7. กำหนดการเป็นไปตาม (ผนวก ค)
8. เงื่อนไขในการสมัครสอบ
8.1 ผู้สมัครสอบต้องตรวจสอบ ตำแหน่งที่จะสมัครสอบ และรับรองว่าตนเองเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติทั่วไป และคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละตำแหน่งครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในประกาศรับสมัครจริง หาปรากฏในภายหลังว่า เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวไม่ครบถ้วน และ/หรือ ตรงตามที่กำหนดไว้จะถูกตัดสิทธิในการสอบและการบรรจุเข้ารับราชการทันที
8.2 ผู้สมัครสอบต้องรับรองเอกสารทุกฉบับที่นำมาแสดงต่อคณะกรรมการในทุกขั้นตอนว่าเป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้จริง หากตรวจสอบแล้วปรากฏว่าเป็นเอกสารที่มิใช่ทางราชการออกให้จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
8.3 ผู้สมัครสอบจะต้องกรอกรายละเอียดข้อมูล ลงในใบสมัครทางอินเทอร์เน็ตให้
ครบถ้วน กรณีมีข้อผิดพลาดอันเกิดจากผู้สมัครสอบเอง คณะกรรมการจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะมีสิทธิในการสมัครสอบ
หรือไม่
8.4 ผู้สมัครสอบจะต้องติดตามประกาศต่าง ๆ เกี่ยวกับการสอบคัดเลือกในครั้งนี้
ของกองทัพอากาศ ตลอดจนประกาศของคณะกรรมการอย่างใกล้ชิด
8.5 ผู้สมัครสอบที่ผ่านการคัดเลือก ยินดีให้ทางราชการพิจารณาบรรจุเข้ารับราชการทั้ง
ในสถานที่กรุงเทพปริมณฑล หรือต่างจังหวัด หากผู้สมัครไม่พึงประสงค์เข้ารับราชการตามที่กำหนด ถือว่า
ผู้สมัครสอบสละสิทธิเข้ารับราชการทุกกรณี
8.6 ผู้สมัครสอบต้องใช้คุณวุฒิและสาขาตรงตามที่ประกาศรับสมัครเท่านั้น ทั้งนี้ไม่สามารถ
ใช้คุณวุฒิที่สูงกว่า มาสมัครในคุณวุฒิที่ต่ำกว่าได้ และไม่รับคุณวุฒิเทียบเท่า เช่น คุณวุฒิประกาศนียบัตร
วิชาชีพ (ปวช.) มาสมัครในคุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย
8.7 ผู้สมัครสอบหนึ่งคนสามารถสมัครได้หลายตำแหน่ง แต่มีสิทธิสอบเพียงหนึ่งตำแหน่งเท่านั้น
8.8 ผู้เข้าสอบสามารถออกจากห้องสอบได้เมื่อหมดเวลาสอบเท่านั้น
8.9 หากการดำเนินการสอบพบการทุจริตในการสอบ คณะกรรมการ ฯ มีสิทธิยกเลิกการสอบและผลการสอบทั้งหมดโดยไม่คืนค่าสมัครสอบแต่อย่างใด และผู้สมัครสอบต้องเสียค่าสมัครสอบใหม่เมื่อจัดให้
มีการสอบอีกครั้ง
9. การสอบคัดเลือกและวิชาที่จะสอบ
9.1 การสอบรอบแรก (ภาควิชาการ) กำหนดสอบในวันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2556ตั้งแต่เวลา 13.00 น. - 15.30 น. โดยทำข้อสอบดังนี้
9.1.1 การสอบคุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ, ปริญญาตรี และปริญญาโท เป็นข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 150 ข้อ แบ่งออกเป็น วิชาพื้นฐานความรู้ทั่วไป จำนวน 60 ข้อ และวิชาพื้นฐาน ความรู้ตามคุณวุฒิที่สมัคร จำนวน 90 ข้อ ในเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที
9.1.2 การสอบคุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย เป็นข้อสอบวิชาพื้นฐานความรู้ทั่วไป แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 150 ข้อ ในเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที
9.1.3 สถานที่สอบ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต), มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (รังสิต)และมหาวิทยาลัยรังสิต โดยจะแจ้งให้ทราบก่อนวันสอบไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ
9.1.4 อุปกรณ์ที่ใช้ในการสอบ ผู้เข้ารับการสอบจะต้องนำ ดินสอ 2B มาใช้ทำเครื่องหมายในกระดาษคำตอบเท่านั้น เนื่องจากการตรวจคำตอบกระทำด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำงานถูกต้องเมื่อใช้ ดินสอ 2B ทำเครื่องหมาย
9.1.5 เกณฑ์การคัดเลือกและวิชาที่สอบ (ผนวก ง)
9.2 การสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) เฉพาะผู้ที่ผ่านการสอบในรอบแรก เข้าทำการสอบคัดเลือกในรอบสอง (รอบสุดท้าย) ดังนี้
9.2.1 การทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย เป็นการทดสอบความแข็งแรงและความพร้อมในการเข้ามารับราชการเป็นทหาร กำหนดสอบในวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2556 ถึง วันพฤหัสบดีที่25 เมษายน 2556 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 15.30 น. ณ อาคารฝึกและทดสอบสมรรถภาพทหารอากาศ(สนามกีฬาจันทรุเบกษา) และสนามกีฬาธูปะเตมีย์
9.2.1.1 การทดสอบประกอบด้วย สถานีต่าง ๆ ดังนี้
(1) สถานีที่ 1 ลุกนั่ง (SIT – UP) จับเวลา 1 นาที
(2) สถานีที่ 2 ดันพื้น (PUSH – UP) จับเวลา 1 นาที
(3) สถานีที่ 3 วิ่ง ระยะทาง 2.4 กิโลเมตร
9.2.1.2 ผู้เข้ารับการทดสอบ ต้องเตรียมชุดกีฬามาผลัดเปลี่ยนด้วย
9.2.1.3 เกณฑ์ผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ใช้เกณฑ์ (ผ่าน/ไม่ผ่าน)เป็นไปตาม (ผนวก จ)
9.2.2 การสอบภาคปฏิบัติ เป็นการวัดทักษะในการทำงานตามคุณลักษณะเฉพาะของตำแหน่งที่สมัคร ผู้ผ่านการสอบรอบแรก เฉพาะตำแหน่งที่ระบุให้มีการสอบภาคปฏิบัติ ต้องเข้ารับการทดสอบ กำหนดสอบในวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2556 รายละเอียดจะแจ้งให้ทราบในวันประกาศผลสอบรอบแรก
9.2.3 การสอบสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งและหน่วยงานในด้านบุคลิกภาพ ท่วงทีวาจา ทัศนคติ การปรับตัวและอื่น ๆ กำหนดสอบในวันพุธที่ 24 เมษายน 2556 ถึง วันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2556 (เว้นวันหยุดราชการ) ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 16.00 น. รายละเอียดจะแจ้งให้ทราบในวันประกาศผลสอบรอบแรก
9.2.3.1 สถานที่สอบ
(1) ผู้สมัครสอบที่ใช้คุณวุฒิปริญญาตรี และปริญญาโท (เป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตร) สอบ ณ โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับหมวด, โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูงหรือศูนย์ภาษากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
(2) ผู้สมัครสอบที่ใช้คุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนต้น, ตอนปลายและประกาศนียบัตรวิชาชีพ (เป็นข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร) สอบ ณ โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง หรือศูนย์ภาษากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
9.2.3.2 คณะกรรมการจะสอบสัมภาษณ์ เพื่อสังเกตดูท่วงทีวาจาในด้านต่าง ๆ ดังนี้
(1) บุคลิกลักษณะ 20 คะแนน
(2) การใช้ความรู้ 20 คะแนน
(3) ท่วงทีวาจา 20 คะแนน
(4) ปฏิภาณไหวพริบ 20 คะแนน
(5) ความรู้ทั่วไป 20 คะแนน
9.2.3.3 ผู้เข้าสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา ต้องได้คะแนนในแต่ละด้านไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 จึงจะถือว่าผู้นั้นผ่านการทดสอบ
9.2.4 การตรวจร่างกาย
9.2.4.1 ผู้ผ่านการสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) (เฉพาะตัวจริง) จะต้องเข้ารับการตรวจร่างกาย ณ กองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศ และพิมพ์ลายนิ้วมือ ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ (อาคาร 1011) ในวันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2556 ถึง วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2556 ทั้งนี้จะไม่พิจารณาผลการตรวจร่างกายโดยแพทย์จากสถานพยาบาลอื่น
9.2.4.2 ผู้เข้ารับการตรวจร่างกาย จะต้องจ่ายเงินค่าตรวจร่างกายทางห้องปฏิบัติการ ณ กองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศ คนละ 530 บาท และค่าพิมพ์ลายนิ้วมือซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คนละ 100 บาท และไม่สามารถเรียกคืนได้
9.2.5 ทดสอบความถนัดบุคคลและวิภาววิสัย (ตัวจริงและตัวสำรอง) กำหนดสอบในวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 12.00 น. ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต)
9.3 การแต่งกาย
ผู้เข้ารับการสอบคัดเลือกรอบแรกและรอบสอง (รอบสุดท้าย) ต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย (งดสวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น และใส่รองเท้าแตะโดยเด็ดขาด) สำหรับการสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย)จะกระทำในสถานที่ราชการ ผู้เข้ารับการสอบที่เป็นสุภาพสตรีควรสวมกระโปรง อนึ่ง กรณีแต่งกายไม่เหมาะสม
และคณะกรรมการพิจารณาแล้วลงความเห็นว่าผิดกาลเทศะ จะถือว่าขาดความรับผิดชอบพื้นฐานและขาดความพร้อมเบื้องต้นในการเข้ารับราชการทหาร คณะกรรมการจะตัดสิทธิการเข้ารับการสอบคัดเลือก
10. เกณฑ์การตัดสิน
10.1 การสอบรอบแรก
10.1.1 ตำแหน่งคุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ, ปริญญาตรี และปริญญาโทกำหนดน้ำหนักคะแนนวิชาพื้นฐานความรู้ทั่วไป : วิชาพื้นฐานความรู้ตามคุณวุฒิที่สมัครเป็น 40 : 60
10.1.2 ตำแหน่งคุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย กำหนดน้ำหนักคะแนนวิชาความรู้ทั่วไปเท่ากับ 100
10.1.3 ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การสอบรอบแรก ต้องเป็นผู้ที่สอบได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
10.1.4 การประกาศผลสอบรอบแรก จะประกาศผลสอบเรียงตามหมายเลขสมัครสอบโดยคัดเลือกผู้ที่ผ่านเกณฑ์เอาไว้ไม่เกินจำนวน 4 เท่าของอัตราที่เปิดรับ (แต่ไม่น้อยกว่า 5 คน) ยกเว้นในบางตำแหน่งที่คณะกรรมการมีมติเป็นอย่างอื่น
10.2 การสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย)
10.2.1 กำหนดน้ำหนักคะแนนสอบ การสอบรอบแรก (ภาควิชาการ) : การสอบสัมภาษณ์ เป็น 30 : 70 (กรณีไม่มีการสอบภาคปฏิบัติ)
10.2.2 กำหนดน้ำหนักคะแนนสอบ การสอบรอบแรก (ภาควิชาการ) : การสอบสัมภาษณ์ : การสอบภาคปฏิบัติ เป็น 30 : 40 : 30 (กรณีมีการสอบภาคปฏิบัติ)
10.2.3 การประกาศผลการสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) (กรณีไม่มีการสอบ
ภาคปฏิบัติ) ผู้สมัครสอบคัดเลือกที่ได้คะแนนรวมในการสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) มากกว่า เป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่า หากมีคะแนนรวมเท่ากัน ผู้ที่ได้คะแนนการสอบสัมภาษณ์มากกว่าเป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่า หากยังมีคะแนนเท่ากันอีก ผู้ที่ได้ลำดับที่ในการสอบรอบแรกดีกว่าเป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่า
10.2.4 การประกาศผลการสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) (กรณีมีการสอบภาคปฏิบัติ)
ผู้สมัครสอบคัดเลือกที่ได้คะแนนรวมในการสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) มากกว่า เป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่ากรณีมีคะแนนรวมเท่ากัน ผู้ที่ได้คะแนนการสอบภาคปฏิบัติมากกว่า เป็นผู้ที่อยู่ในลำดับสูงกว่า หากยังมีคะแนนเท่ากันอีกผู้ที่ได้คะแนนสอบสัมภาษณ์มากกว่าเป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่า หากยังมีคะแนนเท่ากันอีก ผู้ที่ได้ลำดับที่ในการสอบรอบแรกดีกว่าเป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่า
10.3 ผู้ที่สอบผ่านรอบแรกแต่ขาดสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง หรือสอบไม่ผ่านเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งจากการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย การสอบสัมภาษณ์ท่วงทีวาจา หรือการสอบภาคปฏิบัติ (ถ้ามี) จะถือว่าสอบไม่ผ่านรอบสอง (รอบสุดท้าย)
10.4 ผู้สมัครที่เป็นทหารกองประจำการสังกัดกองทัพอากาศ ที่ปลดเป็นทหารกองหนุนแล้วให้รับสิทธิพิจารณาคะแนนเพิ่มพิเศษ ตามมาตรการจูงใจให้ทหารกองเกินสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการสังกัดกองทัพอากาศ (ตามอนุมัติ ผบ.ทอ.เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2546 ท้ายหนังสือ กพ.ทอ.ที่ กห 0603.2/7232 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2546 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) โดยยื่นแบบหนังสือรับรองเพื่อขอรับคะแนนเพิ่มในวันสมัคร
10.4.1 ผู้ที่ปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 ชั้นที่ 1 (ก่อน 1 พฤศจิกายน 2550)ประสงค์จะสมัครเข้ารับราชการ ให้พิจารณาคะแนนเพิ่มทุกขั้นตอนของการสอบระยะเวลารับราชการในกองประจำการ คะแนนเพิ่ม
1. รับราชการ 6 เดือน รับคะแนนเพิ่ม 2 ใน 100 ของคะแนนรวมทั้งสิ้น
2. รับราชการ 1 ปี รับคะแนนเพิ่ม 3 ใน 100 ของคะแนนรวมทั้งสิ้น
3. รับราชการ 1 ปี 6 เดือน รับคะแนนเพิ่ม 4 ใน 100 ของคะแนนรวมทั้งสิ้น
4. รับราชการ 2 ปี รับคะแนนเพิ่ม 5 ใน 100 ของคะแนนรวมทั้งสิ้น
10.4.2 ผู้ที่สมัครใจอยู่รับราชการต่อคราวละ 1 ปี เมื่อปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 ชั้นที่ 1 (ก่อน 1 พฤศจิกายน 2550) ประสงค์จะสมัครเข้ารับราชการ ให้พิจารณาคะแนนเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อปี ของคะแนนรวมทั้งสิ้นทุกขั้นตอนของการสอบ (ผนวก ฉ)
10.4.3 ทหารกองประจำการที่ได้รับการคัดเลือกเป็นทหารกองประจำการดีเด่นตามระเบียบ ทอ.ว่าด้วยบุคคลดีเด่นของกองทัพอากาศ พ.ศ.2536 เมื่อปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1ชั้นที่ 1 (ก่อน 1 พฤศจิกายน 2550) ประสงค์จะสมัครเข้ารับราชการ ให้พิจารณาคะแนนเพิ่มอีกร้อยละ 5ของคะแนนรวมทั้งสิ้นทุกขั้นตอนของการสอบ (ผนวก ฉ)
10.4.4 ผู้ที่ปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 ชั้นที่ 1 (ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2550
เป็นต้นไป) ให้ได้รับคะแนนเพิ่มร้อยละ 4 สำหรับผู้ที่รับราชการในกองประจำการครบ 2 ปี และผู้ที่สมัครใจรับราชการในกองประจำการต่อ ให้ได้รับคะแนนเพิ่มอีกร้อยละ 2 ต่อปี ของคะแนนรวม ทั้งสิ้นทุกขั้นตอนของการสอบโดยยื่นแบบหนังสือรับรองเพื่อขอรับคะแนนเพิ่ม ในวันสมัคร (ผนวก ช)
10.4.5 ผู้ที่จะขอรับสิทธิตามข้อ 10.4.1 – 10.4.4 ต้องแสดงหนังสือรับรองเวลารับราชการในกองประจำการ ประเภททหารกองหนุน และทหารกองประจำการดีเด่น (หลักฐานการได้รับการคัดเลือกเป็นทหาร ฯ ดีเด่น) จากหน่วยต้นสังกัดก่อนปลดจากกองประจำการ หรือ กพ.ทอ.(ผบ.กองบิน ฯหรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้ลงชื่อในหนังสือรับรอง)
11. สิทธิประโยชน์เมื่อบรรจุเข้ารับราชการ (อาจมีการเปลี่ยนแปลง)
11.1 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาคุณวุฒิปริญญาโท จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น ว่าที่เรืออากาศตรีรับเงินเดือน ๆ ละ 16,550 บาท และเงินค่าเช่าบ้านตามที่ทางราชการกำหนด
11.2 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาคุณวุฒิปริญญาตรี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น ว่าที่เรืออากาศตรีรับเงินเดือน ๆ ละ 13,160 บาท, เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (รวมแล้วไม่เกิน 15,000 บาท) และเงินค่าเช่าบ้านตามที่ทางราชการกำหนด
11.3 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาคุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น จ่าอากาศตรี รับเงินเดือน ๆ ละ 9,520 บาท, เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (รวมแล้วไม่เกิน 11,020 บาท)
และเงินค่าเช่าบ้านตามที่ทางราชการกำหนด
11.4 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาคุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นจ่าอากาศตรี รับเงินเดือน ๆ ละ 8,290 บาท, เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (รวมแล้วไม่เกิน 9,790 บาท) และเงินค่าเช่าบ้านตามที่ทางราชการกำหนด
11.5 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาคุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น จ่าอากาศตรี รับเงินเดือน ๆ ละ 7,630 บาท, เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (รวมแล้วไม่เกิน 9,130 บาท)
และเงินค่าเช่าบ้านตามที่ทางราชการกำหนด
12. การเสียสิทธิในการสอบและการบรรจุเข้ารับราชการ
12.1 ไม่มีบัตรสอบรวมทั้งเอกสารที่แสดงว่าเป็นตัวจริงของผู้สมัคร
12.2 เข้าสอบช้ากว่าเวลาที่เริ่มต้นสอบเกิน 20 นาที จะไม่อนุญาตให้เข้าสอบและจะถือว่าขาดสอบวิชานั้น ๆ
12.3 นำอุปกรณ์สื่อสารเข้าไปในห้องสอบ (เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ฯลฯ)
12.4 ทุจริตในการสอบจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
12.5 การขาดสอบวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือขาดการทดสอบสมรรถภาพร่างกายสถานีใดสถานีหนึ่ง หรือขาดการตรวจร่างกายจากคณะกรรมการแพทย์ ของกองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศหรือขาดสอบสัมภาษณ์ท่วงทีวาจา หรือขาดการทดสอบภาคปฏิบัติ หรือขาดสอบความถนัดบุคคล และทดสอบ
วิภาววิสัย
12.6 ขาดเอกสารหลักฐานต่าง ๆ หรือเอกสารข้อมูลเป็นเท็จ
12.7 แต่งกายไม่เหมาะสม และคณะกรรมการพิจารณาแล้วลงความเห็นว่าผิดกาลเทศะ
12.8 ออกจากห้องสอบก่อนเวลาที่กำหนด
13. การประกาศผลสอบและการรายงานตัว
13.1 การประกาศผลสอบอย่างไม่เป็นทางการ สามารถตรวจผลสอบทางโทรศัพท์ระบบบริการทางเสียง หมายเลข 1900 - 888 - 549 (นาทีละ 9 บาท ทั่วประเทศ) และตรวจผลสอบทางอินเทอร์เน็ตได้ที่ http://www.person.rtaf.mi.th หรือ http://job.rtaf.mi.th
13.2 การประกาศผลสอบอย่างเป็นทางการ
13.2.1 การประกาศผลสอบรอบแรก กำหนดประกาศผลสอบอย่างเป็นทางการณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ ผู้ที่สอบผ่านทุกตำแหน่ง ต้องมารายงานตัวเพื่อรับเอกสารสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย)ในวันพุธที่ 17 เมษายน 2556 ถึง วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2556 ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
13.2.2 การประกาศผลสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) กำหนดประกาศผลสอบ
รอบสอง (รอบสุดท้าย) ในวันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2556 ถึง วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2556 ณพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
13.3 การตรวจสอบผลคะแนน ผู้สมัครสามารถขอดูผลคะแนนสอบได้เฉพาะของตนเองเท่านั้น
13.3.1 ผลสอบรอบแรก (ภาควิชาการ) ภายในวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2556
13.3.2 ผลสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) ภายในวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2556
13.4 การรายงานตัว/ฟังคำชี้แจง และการรับสัญญาพร้อม รปภ.1
13.4.1 ผู้ที่สอบได้เป็นตัวจริงและตัวสำรองทั้งหมดให้มารายงานตัวต่อคณะกรรมการพร้อมนำเอกสารเพิ่มเติมตามข้อ 6.2 มาให้ในวันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2556 ถึง วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2556 ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ ถ้าเกินกำหนดนี้ถือว่าสละสิทธิในทุกกรณี
13.4.2 ผู้ที่สอบได้เป็นตัวจริงเข้ารับฟังคำชี้แจง และรับสัญญาเข้ารับราชการและ รปภ.1 สำหรับวันเวลาและสถานที่ (ผนวก ค)
13.4.3 ผู้ที่สอบได้เป็นตัวสำรองทั้งหมด กองทัพอากาศจะขึ้นบัญชีเป็นผู้ที่กองทัพอากาศอาจจะเรียกเข้าบรรจุในตำแหน่ง และคุณวุฒิที่กองทัพอากาศต้องการในปีงบประมาณ 2557
14. ผู้สนใจสามารถสมัครได้ตาม วัน เวลาที่กำหนด กรณีต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้
14.1 ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ แผนกบรรจุปลด กองจัดการกำลังพลกรมกำลังพลทหารอากาศ โทร.0 2534 8587 – 91 ในวัน เวลาราชการ
14.2 กรณีมีข้อสงสัยขั้นตอนและวิธีสมัครทางอินเทอร์เน็ต (ทางเดียว) ให้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ แผนกสถิติกำลังพล กองข้อมูลกำลังพล กรมกำลังพลทหารอากาศ โทร.0 2534 2402 - 3, 5
และ 0 2534 2440 – 1 ในวัน เวลาราชการ
14.3 ตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ของการสมัครได้ที่ http://www.rtaf.mi.thหรือ http://www.person.rtaf.mi.th ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปอนึ่งการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ กองทัพอากาศดำเนินการโดยคณะกรรมการระดับสูงของกองทัพอากาศ ขอแจ้งให้ทราบว่าไม่มีผู้ใดสามารถช่วยเหลือได้นอกจากใช้ความรู้ความสามารถของท่านเองหากพบว่ามีผู้ใดแอบอ้างไม่ว่ากรณีใดๆ พร้อมทั้งเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนขอได้โปรดแจ้งโดยตรงที่กรมกำลังพลทหารอากาศ โทร. 0 2534 1211
ผนวก ง การสอบคัดเลือกและวิชาที่จะสอบ
การสอบรอบแรก
แบ่งออกเป็นการสอบพื้นฐานความรู้ทั่วไปของผู้ที่จะเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตรหรือ
ข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร (ตามตำแหน่งที่สมัครสอบ) และความรู้พื้นฐานตามคุณวุฒิตามตำแหน่งที่สมัครสอบ
1. ผู้สมัครสอบเข้ารับราชการเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตร (คุณวุฒิปริญญาตรีและปริญญาโท) และ
ข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร (คุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ) โดยใช้ข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 150 ข้อ
(150 คะแนน) ในเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที สอบวิชาดังนี้
1.1 พื้นฐานความรู้ทั่วไป ปรนัย 60 ข้อ (60 คะแนน) มีขอบเขตควบคุมในเรื่องดังต่อไปนี้
1.1.1 คณิตศาสตร์
1.1.2 ภาษาไทย
1.1.3 ภาษาอังกฤษ
1.1.4 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
1.1.5 ความรู้พื้นฐานกฎหมายทั่วไป
1.2 ความรู้พื้นฐานตามคุณวุฒิตามตำแหน่งที่สมัครสอบ 90 ข้อ (90 คะแนน)
2. ผู้สมัครสอบในตำแหน่งนายทหารพระธรรมนูญ ความรู้พื้นฐานตามคุณวุฒิ ใช้ข้อสอบแบบปรนัย
4 ตัวเลือก โดยมีขอบเขตวิชาที่สอบดังนี้
2.1 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2.2 กฎหมายอาญา
2.3 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
2.4 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
2.5 พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498
2.6 พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ.2476
2.7 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
2.8 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
2.9 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542
3. ผู้สมัครสอบเข้ารับราชการเป็นข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร (คุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนต้น
และตอนปลาย) โดยใช้ข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 150 ข้อ (150 คะแนน) ในเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที
สอบเฉพาะ วิชาพื้นฐานความรู้ทั่วไป ตามข้อ 1.1
…………………………………….
กฎกระทรวงฉบับที่ 74 (พ.ศ. 2540)ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 41 และมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2497 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 46 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2497
(2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 69 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2497
ข้อ 2 โรคหรือสภาพร่างกายหรือสภาพจิตใจ ซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ตามมาตรา 41
คือ
(1) โรคหรือความผิดปกติของตา
(ก) ตาข้างหนึ่งข้างใดบอด คือเมื่อรักษาและแก้สายตาด้วยแว่นแล้ว การมองเห็นยัง
อยู่ในระดับต่ำกว่า 3/60 หรือลานสานตาโดยเฉลี่ยแคบกว่า 10 องศา
(ข) สายตาไม่ปกติ คือเมื่อรักษาและแก้สายตาด้วยแว่นแล้วการมองเห็นยังอยู่ใน
ระดับ 6/24 หรือต่ำว่าทั้งสองข้าง
(ค) สายตาสั้นมากกว่า 8 ไดออปเตอร์ หรือสายตายาวมากกว่า 5 ไดออปเตอร์ทั้ง
สองข้าง
(ง) ต้อแก้วตาทั้งสองข้าง (Bilateral Cataract)
(จ) ต้อหิน (Glaucoma)
(ฉ) โรคขั้วประสาทตาเสื่อมทั้ง 2 ข้าง (Optic Atrophy)
(ช) กระจกตาอักเสบเรื้อรังหรือขุ่นทั้งสองข้าง
(2) โรคหรือความผิดปกติของหู
(ก) หูหนวกทั้งสองข้าง คือต้องใช้เสียงในช่วงคลื่นความถี่ 500-2,000 รอบต่อวินาทีหรือเกินกว่า 55 เดซิเบล จึงจะได้ยินทั้งสองข้าง
(ข) หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังทั้งสองข้าง
(ค) เยื่อแก้วหูทะลุทั้งสองข้าง
(3) โรคของหัวใจและหลอดเลือด
(ก) หัวใจหรือหลอดเลือดพิการอย่างถาวร จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรง
(ข) ลิ้นหัวใจพิการ
(ค) การเต้นของหัวใจผิดปกติอย่างถาวร จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรง
(ง) โรคของกล้ามเนื้อหัวใจชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และอาจเป็นอันตราย
(จ) หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
(ฉ) หลอดเลือดภายในกระโหลศีรษะโป่งพองหรือผิดปกติชนิดที่อาจเป็นอันตราย
(4) โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด
(ก) โรคเลือดหรืออวัยวะสร้างเลือดผิดปกติอย่างถาวรและอาจเป็นอันตราย
(ข) ภาวะม้ามโต (Hypersplenism) ที่รักษาไม่หายและอาจเป็นอันตราย
(5) โรคของระบบหายใจ
(ก) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Diseases)
(ข) โรคหลอดลมพอง (Bronchiectasis)
(ค) โรคหืด (Asthma)
(ง) โรคของระบบหายใจที่ทำให้สมรรถภาพปอดลดลงอย่างถาวรจน Forced Expiratory Volume in One Second ต่ำกว่า 2 ลิตร หรือ Forced Vital Capacity ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของค่าปกติ
(6) โรคของระบบปัสสาวะ
(ก) ไตอักเสบเรื้อรัง
(ข) กลุ่มอาการไตพิการ (Nephrotic Syndrome)
(ค) ไตวายเรื้อรัง
(ง) ไตพองเป็นถุงน้ำแต่กำเนิด (Polycystic Kidney)
(7) โรคหรือความผิดปกติของกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ
(ก) ข้ออักเสบเรื้อรังจนกระดูกเปลี่ยนรูป
(ข) แขน ขา มือ เท้า นิ้ว อย่างใดอย่างหนึ่งผิดปกติ ดังต่อไปนี้
1. แขน ขา มือ หรือเท้า ด้วนหรือพิการ ถึงแม้ว่าจะรักษาด้วยวิธีใหม่
ที่สุดแล้วก็ยังใช้การไม่ได้
2. นิ้วหัวแม่มือด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
3. นิ้วชี้ของมือด้วนตั้งแต่ข้อปลายนิ้ว
4. นิ้วมือในมือข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือ
พิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
5. นิ้วหัวแม่เท้าด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
6. นิ้วเท้าในเท้าข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือ
พิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
7. นิ้วเท้าในเท้าแต่ละข้างตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือ
พิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
8. นิ้วเท้าในเท้าข้างใดข้างหนึ่งตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อโคนนิ้วหรือ
พิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
(ค) คอเอียงหรือแข็งทื่อชนิดถาวร
(ง) กระดูกสันหลังโก่งหรือคดหรือแอ่นจนเห็นได้ชัด หรือแข็งที่อชนิดถาวร
(จ) กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบหรือหดสั้น (Atrophy or Contracture) จนเป็นผลให้อวัยวะ
ส่วนหนึ่งส่วนใดใช้การไม่ได้
(8) โรคของต่อมไร้ท่อและภาวะผิดปกติของเมตะบอลิสัน
(ก) ภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยไปอย่างถาวร
(ข) ภาวะต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานน้อยไปอย่างถาวร
(ค) ภาวะต่อมใต้สมองผิดปกติอย่างถาวร
(ง) เบาหวาน
(จ) ภาวะอ้วน (Obesity) ซึ่งมีดัชนีความหนาของร่างกาย (Body Mass Index)
ตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป
(ฉ) โรคหรือความผิดปกติเกี่ยวกับเมตะบอลิสัมของแร่ธาตุ สารอาหาร ดุลย์สารน้ำ อี
เล็กโทรลัยท์และกรดด่าง ตลอดจนเมตะบอลิสัมอื่น ๆ ชนิดถาวร และอาจเป็นอันตราย
(9) โรคติดเชื้อ
(ก) โรคเรื้อน
(ข) โรคเท้าช้าง
(ค) โรคติดเชื้อเรื้อรังระยะแสดงอาการรุนแรง ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
(10) โรคทางประสาทวิทยา
(ก) จิตเจริญล่าช้า (Mental Retardation) ที่มีระดับเชาว์ปัญญา 69 หรือต่ำกว่านั้น
(ข) ใบ้(Mutism) หรือพูดไม่เป็นภาษาหรือฟังภาษาไม่รู้เรื่อง(Aphasia)ชนิดถาวร
(ค) ลมชัก (Epilepsy) หรือโรคที่ทำให้มีอาการชัก(Seizures) อย่างถาวร
(ง) อัมพาต (Paralysis) ของแขน ขา มือ หรือเท้า ชนิดถาวร
(จ) สมองเสื่อม(Dementia)
(ฉ) โรคหรือความผิดปกติของสมองหรือไขสันหลังที่ทำให้เกิดความผิดปกติอย่างมาก
ในการเคลื่อนไหวของแขนหรือขาอย่างถาวร
(ช) กล้ามเนื้อหมดกำลังอย่างหนัก (Myasthenia Gravis)
(11) โรคทางจิตเวช
(ก) โรคจิตหรือโรคที่ทำให้จิตผิดปกติอย่างรุนแรงและถาวร
(12) โรคอื่น ๆ
(ก) กระเทย (Hermaphrodism)
(ข) มะเร็ง (Malignant Neoplasm)
(ค) โรคตับอักเสบเรื้อรังชนิดร้ายแรง (Chronic Active Hepatitis)
(ง) ตับแข็ง (Cirrhosis of Liver)
(จ) คนเผือก (Albino)
(ฉ) โรงลูปัสอิริธิมาโตซัสทั่วร่างกาย (Systemic Lupus Erythematosus)
(ช) กายแข็งทั่วร่างกาย (Systemic Sclerosis)
(ซ) รูปวิปริตต่าง ๆ ได้แก่
(1) จมูกโหว่
(2) เพดานโหว่หรือสูงหรือลิ้นไก่สั้นพูดไม่ชัด
ให้ไว้ ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2540
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
เสนาะ เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(สำเนา)
ระเบียบกองทัพอากาศ
ว่าด้วยมาตรฐานการตรวจทางแพทย์ของบุคคลที่สมัครเข้ารับราชการ
เป็นผู้ปฏิบัติการภาคพื้นดินในกองทัพอากาศ
พ.ศ.2518
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดมาตรฐานการตรวจทางแพทย์ของบุคคลที่สมัครเข้ารับราชการ
เป็นผู้ปฏิบัติการภาคพื้นดินในกองทัพอากาศ จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกองทัพอากาศว่าด้วยมาตรฐานการตรวจทางแพทย์
ของบุคคลที่สมัครเข้ารับราชการเป็นผู้ปฏิบัติการภาคพื้นดินในกองทัพอากาศ พ.ศ.2518”
ข้อ 2 ลักษณะโรคและความพิการที่ไม่สามารถรับราชการในกองทัพอากาศ คือ
2.1 โรคซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ตามกฎกระทรวงออกตามความใน
มาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497
2.2 โรคความดันโลหิตสูง วัดท่านั่ง สูงกว่าเกณฑ์ดังนี้
2.2.1 อายุ 35 ปี 140/90 มิลลิเมตรปรอท
2.2.2 อายุ 25 - 45 ปี 150/90 มิลลิเมตรปรอท
2.2.3 อายุเกิน 45 ปีขึ้นไป 155/90 มิลลิเมตรปรอท
2.3 โรคเบาหวาน
2.4 โรคพิษสุราเรื้อรัง
2.5 โรคติดยาเสพติดให้โทษ
2.6 โรคหรือความพิการอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้แล้ว ซึ่งเจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ
เห็นว่าไม่สามารถรับราชการได้
ข้อ 3 ให้เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ รักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ 4 ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2518
(ลงชื่อ) พลอากาศเอก ก. เดชะตุงคะ
(กมล เดชะตุงคะ)
รักษาราชการ ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ดูรายละเอียดการรับสมัครได้ที่นี่
1. กล่าวนำ
ด้วย กองทัพอากาศ มีความประสงค์จะรับสมัครบุคคลพลเรือน นายทหารประทวนทหารกองหนุน ลูกจ้าง และพนักงานราชการ เพื่อสอบคัดเลือกเข้ารับราชการเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตรและเป็นข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร ปีงบประมาณ 2556 จำนวน 363 อัตรา
2. ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร
2.1 บรรจุเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตร (แต่งตั้งยศเป็นว่าที่เรืออากาศตรี) จำนวน 35 อัตราโดยมีคุณวุฒิปริญญาตรี - โท ในสาขาวิชาที่กำหนด (ผนวก ก)
2.2 บรรจุเป็นข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร (แต่งตั้งยศเป็นจ่าอากาศตรี) จำนวน 328 อัตราโดยมีคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี (มัธยมศึกษาตอนต้น, มัธยมศึกษาตอนปลาย, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)) (ผนวก ข)
3. คุณสมบัติทั่วไป
3.1 มีสัญชาติไทย บิดาและมารดา มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหาร
สัญญาบัตร หรือนายทหารประทวนซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดอยู่แล้ว มารดาจะมิใช่เป็น ผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้
3.2 มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทาง และขนาดของร่างกายเหมาะสมแก่การเป็นทหารไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 74 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยการรับราชการทหาร พ.ศ.2497 และระเบียบกองทัพอากาศว่าด้วยมาตรฐานการตรวจทางแพทย์ของบุคคลที่สมัครเข้ารับราชการเป็นผู้ปฏิบัติงานภาคพื้นดินในกองทัพอากาศ พ.ศ.2518 (ผนวก ซ)
3.3 มีความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร ยกเว้นในบางตำแหน่งที่กำหนดเป็นอื่น ตามที่กำหนดในคุณสมบัติเฉพาะ
3.4 ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี
3.5 ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นบุคคลล้มละลายตามคำพิพากษาของศาล
3.6 ไม่เป็นผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลในคดีอาญา ยกเว้นความผิฐานประมาทหรือลหุโทษ
3.7 ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างพักราชการหรือสำรองราชการอันเนื่องมาจากความผิดหรือหนีราชการ
3.8 ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกปลดออกจากราชการเพราะความผิด หรือถูกไล่ออกจากราชการ
3.9 ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสารเคมีเสพติดให้โทษ
3.10 ไม่เป็นผู้ที่ตาบอดสี (ผลการตรวจร่างกายจาก คณก.แพทย์ทหาร ถือเป็นข้อยุติ)
4. คุณสมบัติเฉพาะ
4.1 ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้มีเกณฑ์อายุตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497
4.1.1 ผู้สมัครสอบตำแหน่งข้าราชการชั้นสัญญาบัตร มีอายุระหว่าง 18 ปีบริบูรณ์ถึง 35 ปี (เกิดในระหว่างปี พ.ศ.2521 - พ.ศ.2538)
4.1.2 ผู้สมัครสอบตำแหน่งข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร มีอายุระหว่าง 18 ปีบริบูรณ์ ถึง 30 ปี (เกิดในระหว่างปี พ.ศ.2526 - พ.ศ.2538) ยกเว้นในบางตำแหน่งที่กำหนดเป็นอื่นตามที่กำหนดในคุณสมบัติเฉพาะ
4.2 ผู้สมัครสอบต้องสำเร็จการศึกษาก่อนวันปิดรับสมัครในวันที่ 5 มีนาคม 2556คุณวุฒิปริญญาใช้ปริญญาบัตรหรือหนังสือรับรองจากสภาของสถาบันที่ระบุว่า “โดยอนุมัติสภาของสถาบัน”พร้อม Transcript และประกาศนียบัตรวิชาชีพ, มัธยมศึกษาตอนปลาย, มัธยมศึกษาตอนต้น ใช้ใบสุทธิหรือประกาศนียบัตร หรือระเบียนแสดงผลการเรียน โดยระบุวันสำเร็จการศึกษาจากผู้มีอำนาจลงนาม
4.3 ผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่มีคุณวุฒิทางการศึกษา/สาขาวิชา ตรงตามที่กำหนดไว้ในแต่ละตำแหน่งที่จะสมัครสอบ กรณีที่คุณวุฒิเรียกชื่อไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ให้ใช้ผลการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตร
วิชาชีพของสำนักงาน ก.พ. ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร 1004.3/ว 41 ลงวันที่ 30 กันยายน 2553 สำหรับคุณวุฒิที่ไม่ได้กำหนดไว้ในหนังสือดังกล่าว ให้เป็นหน้าที่ของผู้สมัครประสานกับสถานศึกษาเพื่อขอเอกสารยืนยันว่า สำนักงาน ก.พ.ได้มีการรับรองหลักสูตรการเรียนที่เรียนสำเร็จมาว่าเป็นไปตามที่ประกาศรับสมัคร นำมาให้เจ้าหน้าที่ภายในวันที่ 25 เมษายน 2556 หากเกินกำหนดถือว่าสละสิทธิ
4.3.1 ผู้สมัครสอบที่ใช้คุณวุฒิปริญญาโท, ปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ต้องมีผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2.20 ยกเว้นรหัสตำแหน่ง 1103,1113 และ 1121 ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2.80
4.3.2 ผู้สมัครสอบที่ใช้คุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนต้น หรือคุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย ต้องมีผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2.00
4.4 ผู้สมัครต้องไม่เป็นผู้รับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (สด.35) หรือผู้ที่อยู่ในระหว่างการผ่อนผันการตรวจเลือก หรือไม่เป็นผู้ที่มีข้อผูกพันตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารได้แก่ ทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) ผู้ที่ได้รับหมายเรียกให้เข้ารับราชการทหารกองประจำการในปีพ.ศ.2556 หากยังไม่พ้นภาระทางทหารดังกล่าว สอบได้ถือว่าสละสิทธิ ไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้น
4.5 มีคุณลักษณะเฉพาะอื่น ๆ ครบถ้วน และตามที่กำหนดไว้ในแต่ละตำแหน่งที่สมัครสอบ
4.6 นายทหารประทวน, ลูกจ้าง หรือพนักงานราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม จะต้องมีหนังสืออนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัด (นำมาให้ในวันรายงานตัวรอบสอง (รอบสุดท้าย))
4.7 ข้าราชการอื่นที่มิได้สังกัดกองทัพอากาศ หากสอบได้จะไม่รับโอนและย้าย (ต้องลาออกจากส่วนราชการเดิมก่อน) โดยบรรจุให้รับเงินเดือนตามคุณวุฒิที่สมัคร
4.8 พระภิกษุหรือสามเณร ทางกองทัพอากาศไม่รับสมัครสอบและไม่อาจให้เข้าสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการได้ ทั้งนี้เป็นไปตามหนังสือ กรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ที่ นว 89/2501 ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2501 และตามความในข้อ 5 ของคำสั่งมหาเถรสมาคม ลงวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2538
5. การสมัครสอบและวิธีการสมัครสอบ
5.1 วิธีการสมัคร กองทัพอากาศเปิดรับสมัครทางอินเทอร์เน็ตทางเดียวเท่านั้นโดยสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันอังคารที่ 15 มกราคม 2556 ถึง วันอังคารที่ 5 มีนาคม 2556 ที่เว็บไซต์ http://job.rtaf.mi.th ตลอด 24 ชั่วโมง (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) โดยมีค่าใช้จ่าย จำนวน 350 บาท เป็นค่าธรรมเนียมการสอบ 320 บาท ค่าธรรมเนียมธนาคารและค่าบริการทางอินเทอร์เน็ต 30 บาท ในอัตราเดียวกันทั่วประเทศ โดยนำแบบฟอร์มการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ไปชำระเงินค่าสมัครสอบที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือชำระเงินทางระบบอินเทอร์เน็ตผ่าน KTB online (ต้องเปิดบัญชีของธนาคารกรุงไทย) หรือชำระเงินผ่านตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย (ต้องเป็นบัตร ATM ของธนาคารกรุงไทย)
ตั้งแต่วันอังคารที่ 15 มกราคม 2556 ถึง วันอังคารที่ 5 มีนาคม 2556 ภายในเวลาทำการของธนาคาร ทั้งนี้การสมัครสอบจะมีผลสมบูรณ์เมื่อผู้สมัครได้ชำระค่าธรรมเนียมการสอบแล้ว และจะไม่คืนให้ไม่ว่ากรณีใด ๆทั้งสิ้น
5.2 ขั้นตอนการสมัครสอบ
5.2.1 ผู้สมัครต้องอ่านและทำความเข้าใจเกี่ยวกับประกาศรับสมัครและขั้นตอนการกรอกใบสมัครให้ละเอียดครบถ้วนก่อนทำการกรอกใบสมัคร
5.2.2 การสมัครให้เข้าไปทาง ที่เว็บไซต์ http://job.rtaf.mi.th เพื่อเข้าสมัคร
5.2.3 เข้าระบบกรอกข้อมูลการสมัคร โดยจะต้องกรอกให้ครบทุกช่องตามที่กำหนดในกรณีที่ไม่มีข้อมูลกรอกในช่องใดให้พิมพ์เครื่องหมายขีด (-)
5.2.4 นำเฉพาะรูปถ่าย ของผู้ที่จะสมัครสอบที่เตรียมไว้เข้าเครื่องสแกนเนอร์(โดยเป็นรูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่สวนแว่นกันแดด แต่งกายชุด นักศึกษา ชุดนักเรียน หรือชุดสุภาพ ขนาด 1x1.5 นิ้ว ให้ระบุชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษ ขนาดรูป 120x150 pixels และขนาดไฟล์ไม่เกิน50 Kbytes) สแกนเข้าระบบไว้ในที่กำหนดตามแบบฟอร์มข้อมูลการสมัคร รายละเอียดให้ศึกษาที่หน้าเว็บไซต์ของการสมัครสอบ (รูปถ่ายไม่เกิน 3 เดือน)
5.2.5 ตรวจสอบข้อความที่กรอกในแบบฟอร์มข้อมูลการสมัครให้ถูกต้องครบถ้วนเนื่องจากเมื่อส่งข้อมูลการสมัครทางระบบอินเทอร์เน็ตแล้ว ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลการสมัครอีกได้
5.2.6 สั่งพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินที่ธนาคารทันที หลังจากกรอกใบสมัครและได้ส่งข้อมูลการสมัครแล้ว
5.2.7 นำแบบฟอร์มการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ไปชำระเงินค่าสมัครสอบที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือชำระเงินทางระบบอินเทอร์เน็ตผ่าน KTB online (ต้องเปิดบัญชีของธนาคารกรุงไทย) หรือชำระเงินผ่านตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย (ต้องเป็นบัตร ATM ของธนาคารกรุงไทย)ภายใน 3 วัน นับจากวันที่ส่งข้อมูลการสมัคร หากพ้นกำหนดอาจถูกพิจารณาตัดสิทธิในการสมัคร
5.2.8 ชำระเงินแล้ว 5 วันทำการ (นับตั้งแต่วันชำระเงินที่ธนาคาร) ให้เข้าระบบอินเทอร์เน็ตอีกครั้ง โดยกรอกเลขประจำตัวประชาชนเพื่อสั่งพิมพ์ใบสมัครและบัตรประจำตัวสอบพร้อมหมายเลขประจำตัวผู้สอบ โดยให้ใช้กระดาษ A4 สีขาว ในการพิมพ์ใบสมัครและบัตรประจำตัวสอบ โดยให้นำบัตรประจำตัวสอบไปใช้เป็นหลักฐานในการเข้าสอบคู่กับบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐ (ที่ยังไม่หมดอายุ)
ส่วนใบสมัครให้มายื่นภายหลังจากการประกาศชื่อผู้สอบผ่านรอบแรกพร้อมหลักฐาน ตามข้อ 6
5.3 ผู้สมัครสอบจะมีสิทธิเข้าสอบก็ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ออกรหัสหมายเลขประจำตัวผู้สอบให้แล้วเท่านั้น
5.4 กรณีผู้สมัครที่อยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับสิทธิคะแนนเพิ่ม ตามมาตรการจูงใจให้ทหารกองเกินสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ สังกัดกองทัพอากาศ (ตามอนุมัติ ผบ.ทอ.เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2546ท้ายหนังสือ กพ.ทอ.ที่ กห 0603.2/7232 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2546 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) โดยให้ผู้สมัครยื่นหนังสือรับรองเพื่อขอคะแนนเพิ่ม ภายในวันที่ 5 มีนาคม 2556 เวลา 0800 - 1530 ณ แผนกบรรจุปลด กองจัดการกำลังพล กรมกำลังพลทหารอากาศ หากเกินกำหนดถือว่าสละสิทธิอนึ่งการสมัครสอบตามขั้นตอนข้างต้น ถือว่าผู้สมัครเป็นผู้รับรองตนเอง และรับรองความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ดั้งนั้นหากผู้สมัครกรอกข้อมูลอันเป็นเท็จ จะถือว่าใบสมัครนั้นไม่ถูกต้องตามประกาศในการสมัครสอบ และอาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญาทั้งนี้การสมัครสอบทางระบบอินเทอร์เน็ต ถือว่าผู้สมัครสอบรับทราบและเข้าใจในประกาศรับสมัครและเอกสารแนบท้ายประกาศ และถือว่าผู้สมัครได้รับรองตนเองว่ามีคุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะตรงตามประกาศนี้
6. หลักฐานการสมัครสอบผู้สอบผ่านภาควิชาการ (รอบแรก) และการรายงานตัวในวัน
ประกาศผลสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย)
6.1 หลักฐานการสมัครสอบและรายงานตัวผู้สอบผ่านภาควิชาการ (รอบแรก)
6.1.1 ใบสมัครและบัตรประจำตัวสอบที่พิมพ์จากระบบอินเทอร์เน็ต (พร้อมลงลายมือชื่อจริง)
6.1.2 บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา 2 ชุด
6.1.3 หลักฐานแสดงคุณวุฒิการศึกษา พร้อมสำเนา จำนวน 2 ชุด ในระดับคุณวุฒิและสาขาที่ตรงกับตำแหน่งที่สมัครสอบเท่านั้น ให้นำหลักฐานมารายงานตัว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
6.1.3.1 คุณวุฒิปริญญาตรี - โท ให้ใช้ปริญญาบัตรหรือหนังสือรับรองจากสภาของสถาบันที่ระบุว่า “โดยอนุมัติสภาของสถาบัน” พร้อม Transcript
6.1.3.2 คุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพให้ใช้ระเบียนแสดงผลการศึกษา
6.1.3.3 คุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนต้น, มัธยมศึกษาตอนปลาย ให้ใช้ใบสุทธิหรือประกาศนียบัตร หรือระเบียนแสดงผลการศึกษา
6.1.3.4 หนังสือรับรองผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรจากสถานศึกษา
6.1.4 ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้สมัคร และบิดา มารดา ผู้ให้กำเนิด พร้อมสำเนาจำนวน 2 ชุด หรือสำเนาทะเบียนบ้านที่นายทะเบียนรับรอง เพื่อแสดง วัน เดือน ปีเกิด สัญชาติที่ชัดเจน
6.1.4.1 กรณีที่บิดา และ/หรือ มารดาไม่ได้อยู่ในทะเบียนบ้านฉบับเดียวกันกับผู้สมัคร ให้นำทะเบียนบ้านของบิดา และมารดา มาแสดงด้วย
6.1.4.2 กรณีที่บิดา และ/หรือ มารดาถึงแก่กรรม และไม่มีชื่ออยู่ใน ทะเบียนบ้านให้นำใบมรณะบัตรหรือหลักฐานอื่นของทางราชการมาแสดงประกอบ เพื่อแสดงสัญชาติของบิดา มารดาด้วย
6.1.4.3 กรณีที่ ปู่ ย่า ตา ยาย มิได้ระบุว่าเป็นสัญชาติไทย จะต้องแสดงหลักฐานของบิดา มารดา แล้วแต่กรณีว่ามีสัญชาติไทยโดยกำเนิด มิใช่โดยการแปลงสัญชาติ
6.1.5 สำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล (ถ้ามี)
6.1.6 หลักฐานทางทหาร สด.3 หรือ สด.8 หรือ สด.43 หรือ รด.ปี 3 ฉบับตัวจริงพร้อมสำเนา จำนวน 2 ชุด มาแสดงด้วย
6.2 หลักฐานการรายงานตัวในวันประกาศผลสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย)
6.2.1 หลักฐานตามข้อ 6.1
6.2.2 หลักฐานการได้รับอนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัด (ถ้ามี)
6.2.3 หลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงว่ามีคุณลักษณะเฉพาะตรงตามตำแหน่งที่สมัครสอบเช่น ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ เป็นต้น
6.2.4 หลักฐานฉบับตัวจริง เจ้าหน้าที่จะคืนให้เมื่อตรวจสอบแล้วเสร็จในวันที่ยื่นหลักฐาน
6.3 หลักฐานการสมัครและรายงานตัวที่เป็นสำเนา ผู้สมัครต้องลงชื่อรับรองทุกฉบับ
7. กำหนดการเป็นไปตาม (ผนวก ค)
8. เงื่อนไขในการสมัครสอบ
8.1 ผู้สมัครสอบต้องตรวจสอบ ตำแหน่งที่จะสมัครสอบ และรับรองว่าตนเองเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติทั่วไป และคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละตำแหน่งครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในประกาศรับสมัครจริง หาปรากฏในภายหลังว่า เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวไม่ครบถ้วน และ/หรือ ตรงตามที่กำหนดไว้จะถูกตัดสิทธิในการสอบและการบรรจุเข้ารับราชการทันที
8.2 ผู้สมัครสอบต้องรับรองเอกสารทุกฉบับที่นำมาแสดงต่อคณะกรรมการในทุกขั้นตอนว่าเป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้จริง หากตรวจสอบแล้วปรากฏว่าเป็นเอกสารที่มิใช่ทางราชการออกให้จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
8.3 ผู้สมัครสอบจะต้องกรอกรายละเอียดข้อมูล ลงในใบสมัครทางอินเทอร์เน็ตให้
ครบถ้วน กรณีมีข้อผิดพลาดอันเกิดจากผู้สมัครสอบเอง คณะกรรมการจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะมีสิทธิในการสมัครสอบ
หรือไม่
8.4 ผู้สมัครสอบจะต้องติดตามประกาศต่าง ๆ เกี่ยวกับการสอบคัดเลือกในครั้งนี้
ของกองทัพอากาศ ตลอดจนประกาศของคณะกรรมการอย่างใกล้ชิด
8.5 ผู้สมัครสอบที่ผ่านการคัดเลือก ยินดีให้ทางราชการพิจารณาบรรจุเข้ารับราชการทั้ง
ในสถานที่กรุงเทพปริมณฑล หรือต่างจังหวัด หากผู้สมัครไม่พึงประสงค์เข้ารับราชการตามที่กำหนด ถือว่า
ผู้สมัครสอบสละสิทธิเข้ารับราชการทุกกรณี
8.6 ผู้สมัครสอบต้องใช้คุณวุฒิและสาขาตรงตามที่ประกาศรับสมัครเท่านั้น ทั้งนี้ไม่สามารถ
ใช้คุณวุฒิที่สูงกว่า มาสมัครในคุณวุฒิที่ต่ำกว่าได้ และไม่รับคุณวุฒิเทียบเท่า เช่น คุณวุฒิประกาศนียบัตร
วิชาชีพ (ปวช.) มาสมัครในคุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย
8.7 ผู้สมัครสอบหนึ่งคนสามารถสมัครได้หลายตำแหน่ง แต่มีสิทธิสอบเพียงหนึ่งตำแหน่งเท่านั้น
8.8 ผู้เข้าสอบสามารถออกจากห้องสอบได้เมื่อหมดเวลาสอบเท่านั้น
8.9 หากการดำเนินการสอบพบการทุจริตในการสอบ คณะกรรมการ ฯ มีสิทธิยกเลิกการสอบและผลการสอบทั้งหมดโดยไม่คืนค่าสมัครสอบแต่อย่างใด และผู้สมัครสอบต้องเสียค่าสมัครสอบใหม่เมื่อจัดให้
มีการสอบอีกครั้ง
9. การสอบคัดเลือกและวิชาที่จะสอบ
9.1 การสอบรอบแรก (ภาควิชาการ) กำหนดสอบในวันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2556ตั้งแต่เวลา 13.00 น. - 15.30 น. โดยทำข้อสอบดังนี้
9.1.1 การสอบคุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ, ปริญญาตรี และปริญญาโท เป็นข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 150 ข้อ แบ่งออกเป็น วิชาพื้นฐานความรู้ทั่วไป จำนวน 60 ข้อ และวิชาพื้นฐาน ความรู้ตามคุณวุฒิที่สมัคร จำนวน 90 ข้อ ในเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที
9.1.2 การสอบคุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย เป็นข้อสอบวิชาพื้นฐานความรู้ทั่วไป แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 150 ข้อ ในเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที
9.1.3 สถานที่สอบ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต), มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (รังสิต)และมหาวิทยาลัยรังสิต โดยจะแจ้งให้ทราบก่อนวันสอบไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ
9.1.4 อุปกรณ์ที่ใช้ในการสอบ ผู้เข้ารับการสอบจะต้องนำ ดินสอ 2B มาใช้ทำเครื่องหมายในกระดาษคำตอบเท่านั้น เนื่องจากการตรวจคำตอบกระทำด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำงานถูกต้องเมื่อใช้ ดินสอ 2B ทำเครื่องหมาย
9.1.5 เกณฑ์การคัดเลือกและวิชาที่สอบ (ผนวก ง)
9.2 การสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) เฉพาะผู้ที่ผ่านการสอบในรอบแรก เข้าทำการสอบคัดเลือกในรอบสอง (รอบสุดท้าย) ดังนี้
9.2.1 การทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย เป็นการทดสอบความแข็งแรงและความพร้อมในการเข้ามารับราชการเป็นทหาร กำหนดสอบในวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2556 ถึง วันพฤหัสบดีที่25 เมษายน 2556 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 15.30 น. ณ อาคารฝึกและทดสอบสมรรถภาพทหารอากาศ(สนามกีฬาจันทรุเบกษา) และสนามกีฬาธูปะเตมีย์
9.2.1.1 การทดสอบประกอบด้วย สถานีต่าง ๆ ดังนี้
(1) สถานีที่ 1 ลุกนั่ง (SIT – UP) จับเวลา 1 นาที
(2) สถานีที่ 2 ดันพื้น (PUSH – UP) จับเวลา 1 นาที
(3) สถานีที่ 3 วิ่ง ระยะทาง 2.4 กิโลเมตร
9.2.1.2 ผู้เข้ารับการทดสอบ ต้องเตรียมชุดกีฬามาผลัดเปลี่ยนด้วย
9.2.1.3 เกณฑ์ผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ใช้เกณฑ์ (ผ่าน/ไม่ผ่าน)เป็นไปตาม (ผนวก จ)
9.2.2 การสอบภาคปฏิบัติ เป็นการวัดทักษะในการทำงานตามคุณลักษณะเฉพาะของตำแหน่งที่สมัคร ผู้ผ่านการสอบรอบแรก เฉพาะตำแหน่งที่ระบุให้มีการสอบภาคปฏิบัติ ต้องเข้ารับการทดสอบ กำหนดสอบในวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2556 รายละเอียดจะแจ้งให้ทราบในวันประกาศผลสอบรอบแรก
9.2.3 การสอบสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งและหน่วยงานในด้านบุคลิกภาพ ท่วงทีวาจา ทัศนคติ การปรับตัวและอื่น ๆ กำหนดสอบในวันพุธที่ 24 เมษายน 2556 ถึง วันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2556 (เว้นวันหยุดราชการ) ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 16.00 น. รายละเอียดจะแจ้งให้ทราบในวันประกาศผลสอบรอบแรก
9.2.3.1 สถานที่สอบ
(1) ผู้สมัครสอบที่ใช้คุณวุฒิปริญญาตรี และปริญญาโท (เป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตร) สอบ ณ โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับหมวด, โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูงหรือศูนย์ภาษากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
(2) ผู้สมัครสอบที่ใช้คุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนต้น, ตอนปลายและประกาศนียบัตรวิชาชีพ (เป็นข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร) สอบ ณ โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง หรือศูนย์ภาษากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
9.2.3.2 คณะกรรมการจะสอบสัมภาษณ์ เพื่อสังเกตดูท่วงทีวาจาในด้านต่าง ๆ ดังนี้
(1) บุคลิกลักษณะ 20 คะแนน
(2) การใช้ความรู้ 20 คะแนน
(3) ท่วงทีวาจา 20 คะแนน
(4) ปฏิภาณไหวพริบ 20 คะแนน
(5) ความรู้ทั่วไป 20 คะแนน
9.2.3.3 ผู้เข้าสอบสัมภาษณ์ ท่วงทีวาจา ต้องได้คะแนนในแต่ละด้านไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 จึงจะถือว่าผู้นั้นผ่านการทดสอบ
9.2.4 การตรวจร่างกาย
9.2.4.1 ผู้ผ่านการสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) (เฉพาะตัวจริง) จะต้องเข้ารับการตรวจร่างกาย ณ กองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศ และพิมพ์ลายนิ้วมือ ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ (อาคาร 1011) ในวันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2556 ถึง วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2556 ทั้งนี้จะไม่พิจารณาผลการตรวจร่างกายโดยแพทย์จากสถานพยาบาลอื่น
9.2.4.2 ผู้เข้ารับการตรวจร่างกาย จะต้องจ่ายเงินค่าตรวจร่างกายทางห้องปฏิบัติการ ณ กองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศ คนละ 530 บาท และค่าพิมพ์ลายนิ้วมือซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คนละ 100 บาท และไม่สามารถเรียกคืนได้
9.2.5 ทดสอบความถนัดบุคคลและวิภาววิสัย (ตัวจริงและตัวสำรอง) กำหนดสอบในวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 12.00 น. ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต)
9.3 การแต่งกาย
ผู้เข้ารับการสอบคัดเลือกรอบแรกและรอบสอง (รอบสุดท้าย) ต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย (งดสวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น และใส่รองเท้าแตะโดยเด็ดขาด) สำหรับการสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย)จะกระทำในสถานที่ราชการ ผู้เข้ารับการสอบที่เป็นสุภาพสตรีควรสวมกระโปรง อนึ่ง กรณีแต่งกายไม่เหมาะสม
และคณะกรรมการพิจารณาแล้วลงความเห็นว่าผิดกาลเทศะ จะถือว่าขาดความรับผิดชอบพื้นฐานและขาดความพร้อมเบื้องต้นในการเข้ารับราชการทหาร คณะกรรมการจะตัดสิทธิการเข้ารับการสอบคัดเลือก
10. เกณฑ์การตัดสิน
10.1 การสอบรอบแรก
10.1.1 ตำแหน่งคุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ, ปริญญาตรี และปริญญาโทกำหนดน้ำหนักคะแนนวิชาพื้นฐานความรู้ทั่วไป : วิชาพื้นฐานความรู้ตามคุณวุฒิที่สมัครเป็น 40 : 60
10.1.2 ตำแหน่งคุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย กำหนดน้ำหนักคะแนนวิชาความรู้ทั่วไปเท่ากับ 100
10.1.3 ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การสอบรอบแรก ต้องเป็นผู้ที่สอบได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
10.1.4 การประกาศผลสอบรอบแรก จะประกาศผลสอบเรียงตามหมายเลขสมัครสอบโดยคัดเลือกผู้ที่ผ่านเกณฑ์เอาไว้ไม่เกินจำนวน 4 เท่าของอัตราที่เปิดรับ (แต่ไม่น้อยกว่า 5 คน) ยกเว้นในบางตำแหน่งที่คณะกรรมการมีมติเป็นอย่างอื่น
10.2 การสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย)
10.2.1 กำหนดน้ำหนักคะแนนสอบ การสอบรอบแรก (ภาควิชาการ) : การสอบสัมภาษณ์ เป็น 30 : 70 (กรณีไม่มีการสอบภาคปฏิบัติ)
10.2.2 กำหนดน้ำหนักคะแนนสอบ การสอบรอบแรก (ภาควิชาการ) : การสอบสัมภาษณ์ : การสอบภาคปฏิบัติ เป็น 30 : 40 : 30 (กรณีมีการสอบภาคปฏิบัติ)
10.2.3 การประกาศผลการสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) (กรณีไม่มีการสอบ
ภาคปฏิบัติ) ผู้สมัครสอบคัดเลือกที่ได้คะแนนรวมในการสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) มากกว่า เป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่า หากมีคะแนนรวมเท่ากัน ผู้ที่ได้คะแนนการสอบสัมภาษณ์มากกว่าเป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่า หากยังมีคะแนนเท่ากันอีก ผู้ที่ได้ลำดับที่ในการสอบรอบแรกดีกว่าเป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่า
10.2.4 การประกาศผลการสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) (กรณีมีการสอบภาคปฏิบัติ)
ผู้สมัครสอบคัดเลือกที่ได้คะแนนรวมในการสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) มากกว่า เป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่ากรณีมีคะแนนรวมเท่ากัน ผู้ที่ได้คะแนนการสอบภาคปฏิบัติมากกว่า เป็นผู้ที่อยู่ในลำดับสูงกว่า หากยังมีคะแนนเท่ากันอีกผู้ที่ได้คะแนนสอบสัมภาษณ์มากกว่าเป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่า หากยังมีคะแนนเท่ากันอีก ผู้ที่ได้ลำดับที่ในการสอบรอบแรกดีกว่าเป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่สูงกว่า
10.3 ผู้ที่สอบผ่านรอบแรกแต่ขาดสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง หรือสอบไม่ผ่านเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งจากการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย การสอบสัมภาษณ์ท่วงทีวาจา หรือการสอบภาคปฏิบัติ (ถ้ามี) จะถือว่าสอบไม่ผ่านรอบสอง (รอบสุดท้าย)
10.4 ผู้สมัครที่เป็นทหารกองประจำการสังกัดกองทัพอากาศ ที่ปลดเป็นทหารกองหนุนแล้วให้รับสิทธิพิจารณาคะแนนเพิ่มพิเศษ ตามมาตรการจูงใจให้ทหารกองเกินสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการสังกัดกองทัพอากาศ (ตามอนุมัติ ผบ.ทอ.เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2546 ท้ายหนังสือ กพ.ทอ.ที่ กห 0603.2/7232 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2546 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) โดยยื่นแบบหนังสือรับรองเพื่อขอรับคะแนนเพิ่มในวันสมัคร
10.4.1 ผู้ที่ปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 ชั้นที่ 1 (ก่อน 1 พฤศจิกายน 2550)ประสงค์จะสมัครเข้ารับราชการ ให้พิจารณาคะแนนเพิ่มทุกขั้นตอนของการสอบระยะเวลารับราชการในกองประจำการ คะแนนเพิ่ม
1. รับราชการ 6 เดือน รับคะแนนเพิ่ม 2 ใน 100 ของคะแนนรวมทั้งสิ้น
2. รับราชการ 1 ปี รับคะแนนเพิ่ม 3 ใน 100 ของคะแนนรวมทั้งสิ้น
3. รับราชการ 1 ปี 6 เดือน รับคะแนนเพิ่ม 4 ใน 100 ของคะแนนรวมทั้งสิ้น
4. รับราชการ 2 ปี รับคะแนนเพิ่ม 5 ใน 100 ของคะแนนรวมทั้งสิ้น
10.4.2 ผู้ที่สมัครใจอยู่รับราชการต่อคราวละ 1 ปี เมื่อปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 ชั้นที่ 1 (ก่อน 1 พฤศจิกายน 2550) ประสงค์จะสมัครเข้ารับราชการ ให้พิจารณาคะแนนเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อปี ของคะแนนรวมทั้งสิ้นทุกขั้นตอนของการสอบ (ผนวก ฉ)
10.4.3 ทหารกองประจำการที่ได้รับการคัดเลือกเป็นทหารกองประจำการดีเด่นตามระเบียบ ทอ.ว่าด้วยบุคคลดีเด่นของกองทัพอากาศ พ.ศ.2536 เมื่อปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1ชั้นที่ 1 (ก่อน 1 พฤศจิกายน 2550) ประสงค์จะสมัครเข้ารับราชการ ให้พิจารณาคะแนนเพิ่มอีกร้อยละ 5ของคะแนนรวมทั้งสิ้นทุกขั้นตอนของการสอบ (ผนวก ฉ)
10.4.4 ผู้ที่ปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 ชั้นที่ 1 (ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2550
เป็นต้นไป) ให้ได้รับคะแนนเพิ่มร้อยละ 4 สำหรับผู้ที่รับราชการในกองประจำการครบ 2 ปี และผู้ที่สมัครใจรับราชการในกองประจำการต่อ ให้ได้รับคะแนนเพิ่มอีกร้อยละ 2 ต่อปี ของคะแนนรวม ทั้งสิ้นทุกขั้นตอนของการสอบโดยยื่นแบบหนังสือรับรองเพื่อขอรับคะแนนเพิ่ม ในวันสมัคร (ผนวก ช)
10.4.5 ผู้ที่จะขอรับสิทธิตามข้อ 10.4.1 – 10.4.4 ต้องแสดงหนังสือรับรองเวลารับราชการในกองประจำการ ประเภททหารกองหนุน และทหารกองประจำการดีเด่น (หลักฐานการได้รับการคัดเลือกเป็นทหาร ฯ ดีเด่น) จากหน่วยต้นสังกัดก่อนปลดจากกองประจำการ หรือ กพ.ทอ.(ผบ.กองบิน ฯหรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้ลงชื่อในหนังสือรับรอง)
11. สิทธิประโยชน์เมื่อบรรจุเข้ารับราชการ (อาจมีการเปลี่ยนแปลง)
11.1 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาคุณวุฒิปริญญาโท จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น ว่าที่เรืออากาศตรีรับเงินเดือน ๆ ละ 16,550 บาท และเงินค่าเช่าบ้านตามที่ทางราชการกำหนด
11.2 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาคุณวุฒิปริญญาตรี จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น ว่าที่เรืออากาศตรีรับเงินเดือน ๆ ละ 13,160 บาท, เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (รวมแล้วไม่เกิน 15,000 บาท) และเงินค่าเช่าบ้านตามที่ทางราชการกำหนด
11.3 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาคุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น จ่าอากาศตรี รับเงินเดือน ๆ ละ 9,520 บาท, เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (รวมแล้วไม่เกิน 11,020 บาท)
และเงินค่าเช่าบ้านตามที่ทางราชการกำหนด
11.4 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาคุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นจ่าอากาศตรี รับเงินเดือน ๆ ละ 8,290 บาท, เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (รวมแล้วไม่เกิน 9,790 บาท) และเงินค่าเช่าบ้านตามที่ทางราชการกำหนด
11.5 ผู้ที่สำเร็จการศึกษาคุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็น จ่าอากาศตรี รับเงินเดือน ๆ ละ 7,630 บาท, เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (รวมแล้วไม่เกิน 9,130 บาท)
และเงินค่าเช่าบ้านตามที่ทางราชการกำหนด
12. การเสียสิทธิในการสอบและการบรรจุเข้ารับราชการ
12.1 ไม่มีบัตรสอบรวมทั้งเอกสารที่แสดงว่าเป็นตัวจริงของผู้สมัคร
12.2 เข้าสอบช้ากว่าเวลาที่เริ่มต้นสอบเกิน 20 นาที จะไม่อนุญาตให้เข้าสอบและจะถือว่าขาดสอบวิชานั้น ๆ
12.3 นำอุปกรณ์สื่อสารเข้าไปในห้องสอบ (เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ฯลฯ)
12.4 ทุจริตในการสอบจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
12.5 การขาดสอบวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือขาดการทดสอบสมรรถภาพร่างกายสถานีใดสถานีหนึ่ง หรือขาดการตรวจร่างกายจากคณะกรรมการแพทย์ ของกองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศหรือขาดสอบสัมภาษณ์ท่วงทีวาจา หรือขาดการทดสอบภาคปฏิบัติ หรือขาดสอบความถนัดบุคคล และทดสอบ
วิภาววิสัย
12.6 ขาดเอกสารหลักฐานต่าง ๆ หรือเอกสารข้อมูลเป็นเท็จ
12.7 แต่งกายไม่เหมาะสม และคณะกรรมการพิจารณาแล้วลงความเห็นว่าผิดกาลเทศะ
12.8 ออกจากห้องสอบก่อนเวลาที่กำหนด
13. การประกาศผลสอบและการรายงานตัว
13.1 การประกาศผลสอบอย่างไม่เป็นทางการ สามารถตรวจผลสอบทางโทรศัพท์ระบบบริการทางเสียง หมายเลข 1900 - 888 - 549 (นาทีละ 9 บาท ทั่วประเทศ) และตรวจผลสอบทางอินเทอร์เน็ตได้ที่ http://www.person.rtaf.mi.th หรือ http://job.rtaf.mi.th
13.2 การประกาศผลสอบอย่างเป็นทางการ
13.2.1 การประกาศผลสอบรอบแรก กำหนดประกาศผลสอบอย่างเป็นทางการณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ ผู้ที่สอบผ่านทุกตำแหน่ง ต้องมารายงานตัวเพื่อรับเอกสารสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย)ในวันพุธที่ 17 เมษายน 2556 ถึง วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2556 ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
13.2.2 การประกาศผลสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) กำหนดประกาศผลสอบ
รอบสอง (รอบสุดท้าย) ในวันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2556 ถึง วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2556 ณพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
13.3 การตรวจสอบผลคะแนน ผู้สมัครสามารถขอดูผลคะแนนสอบได้เฉพาะของตนเองเท่านั้น
13.3.1 ผลสอบรอบแรก (ภาควิชาการ) ภายในวันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2556
13.3.2 ผลสอบรอบสอง (รอบสุดท้าย) ภายในวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2556
13.4 การรายงานตัว/ฟังคำชี้แจง และการรับสัญญาพร้อม รปภ.1
13.4.1 ผู้ที่สอบได้เป็นตัวจริงและตัวสำรองทั้งหมดให้มารายงานตัวต่อคณะกรรมการพร้อมนำเอกสารเพิ่มเติมตามข้อ 6.2 มาให้ในวันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2556 ถึง วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2556 ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ ถ้าเกินกำหนดนี้ถือว่าสละสิทธิในทุกกรณี
13.4.2 ผู้ที่สอบได้เป็นตัวจริงเข้ารับฟังคำชี้แจง และรับสัญญาเข้ารับราชการและ รปภ.1 สำหรับวันเวลาและสถานที่ (ผนวก ค)
13.4.3 ผู้ที่สอบได้เป็นตัวสำรองทั้งหมด กองทัพอากาศจะขึ้นบัญชีเป็นผู้ที่กองทัพอากาศอาจจะเรียกเข้าบรรจุในตำแหน่ง และคุณวุฒิที่กองทัพอากาศต้องการในปีงบประมาณ 2557
14. ผู้สนใจสามารถสมัครได้ตาม วัน เวลาที่กำหนด กรณีต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้
14.1 ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ แผนกบรรจุปลด กองจัดการกำลังพลกรมกำลังพลทหารอากาศ โทร.0 2534 8587 – 91 ในวัน เวลาราชการ
14.2 กรณีมีข้อสงสัยขั้นตอนและวิธีสมัครทางอินเทอร์เน็ต (ทางเดียว) ให้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ แผนกสถิติกำลังพล กองข้อมูลกำลังพล กรมกำลังพลทหารอากาศ โทร.0 2534 2402 - 3, 5
และ 0 2534 2440 – 1 ในวัน เวลาราชการ
14.3 ตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ของการสมัครได้ที่ http://www.rtaf.mi.thหรือ http://www.person.rtaf.mi.th ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปอนึ่งการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ กองทัพอากาศดำเนินการโดยคณะกรรมการระดับสูงของกองทัพอากาศ ขอแจ้งให้ทราบว่าไม่มีผู้ใดสามารถช่วยเหลือได้นอกจากใช้ความรู้ความสามารถของท่านเองหากพบว่ามีผู้ใดแอบอ้างไม่ว่ากรณีใดๆ พร้อมทั้งเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนขอได้โปรดแจ้งโดยตรงที่กรมกำลังพลทหารอากาศ โทร. 0 2534 1211
ผนวก ง การสอบคัดเลือกและวิชาที่จะสอบ
การสอบรอบแรก
แบ่งออกเป็นการสอบพื้นฐานความรู้ทั่วไปของผู้ที่จะเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตรหรือ
ข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร (ตามตำแหน่งที่สมัครสอบ) และความรู้พื้นฐานตามคุณวุฒิตามตำแหน่งที่สมัครสอบ
1. ผู้สมัครสอบเข้ารับราชการเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตร (คุณวุฒิปริญญาตรีและปริญญาโท) และ
ข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร (คุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ) โดยใช้ข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 150 ข้อ
(150 คะแนน) ในเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที สอบวิชาดังนี้
1.1 พื้นฐานความรู้ทั่วไป ปรนัย 60 ข้อ (60 คะแนน) มีขอบเขตควบคุมในเรื่องดังต่อไปนี้
1.1.1 คณิตศาสตร์
1.1.2 ภาษาไทย
1.1.3 ภาษาอังกฤษ
1.1.4 ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
1.1.5 ความรู้พื้นฐานกฎหมายทั่วไป
1.2 ความรู้พื้นฐานตามคุณวุฒิตามตำแหน่งที่สมัครสอบ 90 ข้อ (90 คะแนน)
2. ผู้สมัครสอบในตำแหน่งนายทหารพระธรรมนูญ ความรู้พื้นฐานตามคุณวุฒิ ใช้ข้อสอบแบบปรนัย
4 ตัวเลือก โดยมีขอบเขตวิชาที่สอบดังนี้
2.1 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2.2 กฎหมายอาญา
2.3 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
2.4 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
2.5 พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498
2.6 พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ.2476
2.7 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
2.8 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
2.9 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542
3. ผู้สมัครสอบเข้ารับราชการเป็นข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร (คุณวุฒิมัธยมศึกษาตอนต้น
และตอนปลาย) โดยใช้ข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 150 ข้อ (150 คะแนน) ในเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที
สอบเฉพาะ วิชาพื้นฐานความรู้ทั่วไป ตามข้อ 1.1
…………………………………….
กฎกระทรวงฉบับที่ 74 (พ.ศ. 2540)ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 41 และมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2497 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 46 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2497
(2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 69 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2497
ข้อ 2 โรคหรือสภาพร่างกายหรือสภาพจิตใจ ซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ตามมาตรา 41
คือ
(1) โรคหรือความผิดปกติของตา
(ก) ตาข้างหนึ่งข้างใดบอด คือเมื่อรักษาและแก้สายตาด้วยแว่นแล้ว การมองเห็นยัง
อยู่ในระดับต่ำกว่า 3/60 หรือลานสานตาโดยเฉลี่ยแคบกว่า 10 องศา
(ข) สายตาไม่ปกติ คือเมื่อรักษาและแก้สายตาด้วยแว่นแล้วการมองเห็นยังอยู่ใน
ระดับ 6/24 หรือต่ำว่าทั้งสองข้าง
(ค) สายตาสั้นมากกว่า 8 ไดออปเตอร์ หรือสายตายาวมากกว่า 5 ไดออปเตอร์ทั้ง
สองข้าง
(ง) ต้อแก้วตาทั้งสองข้าง (Bilateral Cataract)
(จ) ต้อหิน (Glaucoma)
(ฉ) โรคขั้วประสาทตาเสื่อมทั้ง 2 ข้าง (Optic Atrophy)
(ช) กระจกตาอักเสบเรื้อรังหรือขุ่นทั้งสองข้าง
(2) โรคหรือความผิดปกติของหู
(ก) หูหนวกทั้งสองข้าง คือต้องใช้เสียงในช่วงคลื่นความถี่ 500-2,000 รอบต่อวินาทีหรือเกินกว่า 55 เดซิเบล จึงจะได้ยินทั้งสองข้าง
(ข) หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรังทั้งสองข้าง
(ค) เยื่อแก้วหูทะลุทั้งสองข้าง
(3) โรคของหัวใจและหลอดเลือด
(ก) หัวใจหรือหลอดเลือดพิการอย่างถาวร จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรง
(ข) ลิ้นหัวใจพิการ
(ค) การเต้นของหัวใจผิดปกติอย่างถาวร จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรง
(ง) โรคของกล้ามเนื้อหัวใจชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และอาจเป็นอันตราย
(จ) หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
(ฉ) หลอดเลือดภายในกระโหลศีรษะโป่งพองหรือผิดปกติชนิดที่อาจเป็นอันตราย
(4) โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด
(ก) โรคเลือดหรืออวัยวะสร้างเลือดผิดปกติอย่างถาวรและอาจเป็นอันตราย
(ข) ภาวะม้ามโต (Hypersplenism) ที่รักษาไม่หายและอาจเป็นอันตราย
(5) โรคของระบบหายใจ
(ก) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Diseases)
(ข) โรคหลอดลมพอง (Bronchiectasis)
(ค) โรคหืด (Asthma)
(ง) โรคของระบบหายใจที่ทำให้สมรรถภาพปอดลดลงอย่างถาวรจน Forced Expiratory Volume in One Second ต่ำกว่า 2 ลิตร หรือ Forced Vital Capacity ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของค่าปกติ
(6) โรคของระบบปัสสาวะ
(ก) ไตอักเสบเรื้อรัง
(ข) กลุ่มอาการไตพิการ (Nephrotic Syndrome)
(ค) ไตวายเรื้อรัง
(ง) ไตพองเป็นถุงน้ำแต่กำเนิด (Polycystic Kidney)
(7) โรคหรือความผิดปกติของกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ
(ก) ข้ออักเสบเรื้อรังจนกระดูกเปลี่ยนรูป
(ข) แขน ขา มือ เท้า นิ้ว อย่างใดอย่างหนึ่งผิดปกติ ดังต่อไปนี้
1. แขน ขา มือ หรือเท้า ด้วนหรือพิการ ถึงแม้ว่าจะรักษาด้วยวิธีใหม่
ที่สุดแล้วก็ยังใช้การไม่ได้
2. นิ้วหัวแม่มือด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
3. นิ้วชี้ของมือด้วนตั้งแต่ข้อปลายนิ้ว
4. นิ้วมือในมือข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือ
พิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
5. นิ้วหัวแม่เท้าด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
6. นิ้วเท้าในเท้าข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือ
พิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
7. นิ้วเท้าในเท้าแต่ละข้างตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือ
พิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
8. นิ้วเท้าในเท้าข้างใดข้างหนึ่งตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วนจนถึงข้อโคนนิ้วหรือ
พิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
(ค) คอเอียงหรือแข็งทื่อชนิดถาวร
(ง) กระดูกสันหลังโก่งหรือคดหรือแอ่นจนเห็นได้ชัด หรือแข็งที่อชนิดถาวร
(จ) กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบหรือหดสั้น (Atrophy or Contracture) จนเป็นผลให้อวัยวะ
ส่วนหนึ่งส่วนใดใช้การไม่ได้
(8) โรคของต่อมไร้ท่อและภาวะผิดปกติของเมตะบอลิสัน
(ก) ภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยไปอย่างถาวร
(ข) ภาวะต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานน้อยไปอย่างถาวร
(ค) ภาวะต่อมใต้สมองผิดปกติอย่างถาวร
(ง) เบาหวาน
(จ) ภาวะอ้วน (Obesity) ซึ่งมีดัชนีความหนาของร่างกาย (Body Mass Index)
ตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป
(ฉ) โรคหรือความผิดปกติเกี่ยวกับเมตะบอลิสัมของแร่ธาตุ สารอาหาร ดุลย์สารน้ำ อี
เล็กโทรลัยท์และกรดด่าง ตลอดจนเมตะบอลิสัมอื่น ๆ ชนิดถาวร และอาจเป็นอันตราย
(9) โรคติดเชื้อ
(ก) โรคเรื้อน
(ข) โรคเท้าช้าง
(ค) โรคติดเชื้อเรื้อรังระยะแสดงอาการรุนแรง ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
(10) โรคทางประสาทวิทยา
(ก) จิตเจริญล่าช้า (Mental Retardation) ที่มีระดับเชาว์ปัญญา 69 หรือต่ำกว่านั้น
(ข) ใบ้(Mutism) หรือพูดไม่เป็นภาษาหรือฟังภาษาไม่รู้เรื่อง(Aphasia)ชนิดถาวร
(ค) ลมชัก (Epilepsy) หรือโรคที่ทำให้มีอาการชัก(Seizures) อย่างถาวร
(ง) อัมพาต (Paralysis) ของแขน ขา มือ หรือเท้า ชนิดถาวร
(จ) สมองเสื่อม(Dementia)
(ฉ) โรคหรือความผิดปกติของสมองหรือไขสันหลังที่ทำให้เกิดความผิดปกติอย่างมาก
ในการเคลื่อนไหวของแขนหรือขาอย่างถาวร
(ช) กล้ามเนื้อหมดกำลังอย่างหนัก (Myasthenia Gravis)
(11) โรคทางจิตเวช
(ก) โรคจิตหรือโรคที่ทำให้จิตผิดปกติอย่างรุนแรงและถาวร
(12) โรคอื่น ๆ
(ก) กระเทย (Hermaphrodism)
(ข) มะเร็ง (Malignant Neoplasm)
(ค) โรคตับอักเสบเรื้อรังชนิดร้ายแรง (Chronic Active Hepatitis)
(ง) ตับแข็ง (Cirrhosis of Liver)
(จ) คนเผือก (Albino)
(ฉ) โรงลูปัสอิริธิมาโตซัสทั่วร่างกาย (Systemic Lupus Erythematosus)
(ช) กายแข็งทั่วร่างกาย (Systemic Sclerosis)
(ซ) รูปวิปริตต่าง ๆ ได้แก่
(1) จมูกโหว่
(2) เพดานโหว่หรือสูงหรือลิ้นไก่สั้นพูดไม่ชัด
ให้ไว้ ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2540
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
เสนาะ เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(สำเนา)
ระเบียบกองทัพอากาศ
ว่าด้วยมาตรฐานการตรวจทางแพทย์ของบุคคลที่สมัครเข้ารับราชการ
เป็นผู้ปฏิบัติการภาคพื้นดินในกองทัพอากาศ
พ.ศ.2518
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดมาตรฐานการตรวจทางแพทย์ของบุคคลที่สมัครเข้ารับราชการ
เป็นผู้ปฏิบัติการภาคพื้นดินในกองทัพอากาศ จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกองทัพอากาศว่าด้วยมาตรฐานการตรวจทางแพทย์
ของบุคคลที่สมัครเข้ารับราชการเป็นผู้ปฏิบัติการภาคพื้นดินในกองทัพอากาศ พ.ศ.2518”
ข้อ 2 ลักษณะโรคและความพิการที่ไม่สามารถรับราชการในกองทัพอากาศ คือ
2.1 โรคซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ตามกฎกระทรวงออกตามความใน
มาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497
2.2 โรคความดันโลหิตสูง วัดท่านั่ง สูงกว่าเกณฑ์ดังนี้
2.2.1 อายุ 35 ปี 140/90 มิลลิเมตรปรอท
2.2.2 อายุ 25 - 45 ปี 150/90 มิลลิเมตรปรอท
2.2.3 อายุเกิน 45 ปีขึ้นไป 155/90 มิลลิเมตรปรอท
2.3 โรคเบาหวาน
2.4 โรคพิษสุราเรื้อรัง
2.5 โรคติดยาเสพติดให้โทษ
2.6 โรคหรือความพิการอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้แล้ว ซึ่งเจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ
เห็นว่าไม่สามารถรับราชการได้
ข้อ 3 ให้เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ รักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ 4 ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2518
(ลงชื่อ) พลอากาศเอก ก. เดชะตุงคะ
(กมล เดชะตุงคะ)
รักษาราชการ ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ดูรายละเอียดการรับสมัครได้ที่นี่
สุดยอดเลยท่านถ้าไม่ติดที่ไหนที่แห่งนี้ตัวเลือกของหลายๆคนได้เลย
ตอบลบที่อื่น หรือที่ไหนๆ ก็สอบข้อเขียนหมดนั้นแหละครับ...ฟังจากคำพูดแล้ว เหมือนจะเข้ากันได้ง่ายๆๆ อะเนอะ.. ~!
ลบปล.ผมก็พึ่งสอบติด ปี55 แต่ขอบอกว่าข้อสอบยากพอตัว....
รับน้อยกว่าปี55รึเปล่า
ตอบลบรับน้อยกว่าในบางตำแหน่งครับ ของปี55 อะ
ลบปี55 พลขับรับเยอะมาก เสมียนเหมือนกัน ปีนี้รับน้อยเพราะส่วนใหญ่จะเรียกตัวสำรองของปีที่แล้วอะ
ผมวุฒิปริญญาตรี วท.บ. เคมี สามารถใช้สมัครในส่วนของ ชีวเคมี หรือ วิทยาศาสตร์ทั่วไป ได้ไหมครับ
ตอบลบ(ชีวเคมี มีเรียนในสายเคมีครับ)
ก็สมัครตำแหน่งปริญญาตรีทางเคมีเลยก็ได้นะครับ ตำแหน่งนี้ก็มีนะครับ
ลบนึกว่า จะไปเปิดซะแระ เหนประกาศตัวสำรอซะเยอะเลย
ตอบลบประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)...รวมกับ(ปวส.)รึป่าวครับ
ตอบลบเพราะไม่เห็นมีคำว่า ชั้นสูง(ปวส.)เลย
ตำแหน่งไหนครับ
ลบรวมกันครับ ขึ้นอยู่กับคุณวุฒิเราด้วย และตำแหน่งที่ลงสมัครว่าจะตรงกับวุฒิเราไหม
ลบผ่อนผันอยู่สอบที่ไหนได้บ้างครับ
ตอบลบ4.4 ผู้สมัครต้องไม่เป็นผู้รับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (สด.35) หรือผู้ที่อยู่ในระหว่างการผ่อนผันการตรวจเลือก หรือไม่เป็นผู้ที่มีข้อผูกพันตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารได้แก่ ทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) ผู้ที่ได้รับหมายเรียกให้เข้ารับราชการทหารกองประจำการในปีพ.ศ.2556 หากยังไม่พ้นภาระทางทหารดังกล่าว สอบได้ถือว่าสละสิทธิ ไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้น
ลบผมจบ ปวส.บัญชี และจบ รด.ปี5 อายุ 22 สามารถสมัครได้ใช่ไหมครับ
ตอบลบสอบได้นิครับ ในผนวก ข ลำดับ 2 และ 3
ลบและถ้าหากผมอยากจะใช้วุฒิที่เป็นระดับปริญญาตรี ตอนเดือนมีนาคมผมเรียนเป็นเทอมสุดท้ายแล้ว ผมสามารถขอเป็นใบหนังสือรับรองการเรียนจากมหาลัย เพื่อใช้ในการสมัครได้หรือป่าวครับ หรือว่าต้องเป็นผู้ที่จบปริญญาตรีก่อนวันที่ 5 มีนาคม เท่านั้นครับ
ลบผู้หญิง สอบได้ป่าวค่ะ
ตอบลบทุกคำถามมีคำตอบอยู่ในข่าวแล้วโปรดอ่านรายละเอียดด้วยครับ
ตอบลบเค้าคงอ่านแล้วไม่เข้าใจ ถึงได้ถาม
ลบผมก็เคยสอบ คำตอบที่ดีที่สุด คือเบอร์โทรที่ให้ไว้ในประกาศครับ เพราะเป็นเจ้าหน้าที่รับสมัคร ถ้าคุณเคยอ่านๆดูคำถาม บางคำถามก็ไม่น่าถาม
ลบพี่ค่ะ ขอถามหน่อยค่ะ สงสัยมาก ทุกรหัสวิชาที่สมัครสอบเข้าไป
ตอบลบเมื่อสอบข้อเขียนผ่าน จะต้อง ทดสอบร่างกายจำพวก วิ่ง ดันพื้น ลุกนั่ง ไหมค่ะ
และช่วยดูให้หน่อยนะค่ะว่า รหัส 2263 รับวุติ ม.ปลาย รหัสนี้ถ้าสอบข้อเขียนผ่านต้องมีทดสอบร่างกายไหมค่ะ หรือต้องทำอะไรต่อ
ขอบคุณล่วงหน้ามากๆค่ะ ^^
ทุกตำแหน่งนะครับ มีการทดสอบร่างกายแทบทุกตำแหน่ง... แต่ไม่มีว่ายน้ำนะ^^ ปีที่แล้ว ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย ทดสอบร่างกายที่ สนามกีฬาธูปะเตมีย์ ผู้หญิงเยอะมั๊กๆ
ลบเสมียนสัสดี ถ้าสอบข้อเขียนผ่าน จะต้องมีการทดสอบร่างกายไหมค่ะ หรือแค่สัมภาษณ์อย่างเดียว และอยากรู้ว่า มีอะไรบ้างสอบข้อเขียนผ่านแล้วไม่ต้องทดสอบร่างกาย สำหรับวุติ ม.ปลาย
ตอบลบไม่มีตำแหน่งไหนนะครับที่ไม่ทดสอบร่างกาย... ขืนขาดสอบอย่างใดอย่างนึง ถือว่าสละสิทธิ์เลยนะครับ ทางทีดีผ่านข้อเขียนแล้ว เตรียมร่างกายไว้ลุยตอนทดสอบร่างกายจะดีกว่าครับ ^^ เพราะรุ่นผมที่ผ่านมา ผ่านรอบแรกแล้ว ตกร่างกายก็มีเยอะนะครับ ไงกะสู้ๆครับ ^^
ลบจบ ป.ตรี ออกแบบนิเทศศิลป์ สอบอะไรได้บ้างคะ
ตอบลบhttp://army-etc.blogspot.com/2012/12/2556-363.html
ลบน่าจะใกล้เคียงทั้งนี้ต้องสอบถาม ที่ กพ.ทอ.ด้วยนะครับ
ลบขอบคุณค่ะ
ลบอยากทราบค่ะถ้าจบป.ตรี วุฒิ วทบ.สาขาเทคโนโลยีการจัดการสุขภาพ
ตอบลบสามารถลงสมัครสอบในป.ตรีวิทยาศาสตร์ทางวิทยาสาสตร์ทั่วไปได้หรือปล่าวค่ะ
จบปริญญาตรีสาขาคอมพิวเตอร์รับสมัครไหมค่ะขอบคุณค่ะ
ตอบลบhttp://army-etc.blogspot.com/2012/12/2556-363.html
ลบรบกวนสอบถามค่ะ รหัส 1193 (ชีวเคมี)ห้องปฏิบัติการกลาง ต้องมีการทดสอบร่างกายมั้ยคะ
ตอบลบจบวิศวไฟฟ้า ละครับ สอบไรได้บ้าง
ตอบลบลองเทียบวุฒิกับตำแหน่งตามรายละเอียดที่ได้ในให้ไว้ก่อนนะครับหรือโหลด pdf ไปอ่านก่อนก็ได้มีรายละเอียด จบอะไรก็ต้องสอบตามตำแหน่งนั้นกำหนดไว้
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบผมจบ ป.ตรี ปวส. ปวช. (ไม่ตรงกับสาขาที่เขารับ)
ตอบลบแต่ผมมี วุฒิ กศน. ม ปลาย (เรียนกันไว้เผื่อเรียน ปวช. ไม่จบ)
แบบนี้ผมเอาวุฒิ กศน. สมัครได้ไหมครับ
ปล. หรือไม่ก็ วุฒิ ปวช. - ปวส. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ สมัครเฉพาะทางได้ไหมครับ
มีข้อสงสัยค่ะ คือว่าเรียน ร.ด.หญิง ถึงแค่ปี 3 สามารถขอคะแนนเพิ่มได้ไหมคะ
ตอบลบไม่ได้ครับ ได้แต่พลทหารสังกัด ทอ.ครับ
ลบมีรอยสัก ได้ไหมคะ
ตอบลบอยู่ที่กรรมการท่านพิจารณาครับ
ลบผมอยู่ในช่วง รายงานตัวผู้เสพยาเสพติด จะสมัครได้ไหมครับ
ตอบลบคดียาเสพติดสมัครไม่ได้ครับ
ลบรหัส 2271 วุฒิ ม.6 มีหนังสือเตรียมสอบขายมั้ยครับ
ตอบลบจ่าอากาศตรีกองประจำการ ได้สิทธิพิเศษอะไรบ้างครับ
ตอบลบ