มูลการส่งออกด้านอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ ของเก่าหลีใต้ ห้วงที่ผ่านเป็นที่น่าจับตามอง

                                                                            พัฒนาการของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเกาหลีใต้ไม่ได้ก้าวไปอย่างสะเปะสะปะไร้แผนงานและทิศทางในการดำเนินการ โดยรัฐบาลเกาหลีใต้เริ่มสนับสนุนให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของเกาหลีให้เกิดขึ้น และมีความเข้มแข็งขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1970 โดยกำหนดนโยบายในรูปแบบของกฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ปี 1973 แผนปรับปรุงกองทัพเกาหลีใต้ ปี 1974 และกฎหมายภาษีป้องกันประเทศ ปี 1975 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกออกแบบให้สนับสนุนทางการเงินให้สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของเกาหลีใต้ โดยช่วงทศวรรษ 1970

 นโยบายของรัฐบาลให้การสนับสนุนแก่อุตสาหกรรมต่อเรือ อุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมเหล่านี้ มีส่วนอย่างสำคัญในการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเหล่านี้พัฒนาก้าวหน้าและเติบโตจนกลายเป็นส่วนที่สำคัญอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และก้าวหน้าจนกระทั่งกลายเป็นการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เป็นการรวมตัวกันระหว่างอุตสาหกรรมการต่อเรือ และอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลหนักอื่นๆ ในช่วงทศวรรษ 1990 อุตสาหกรรมภายในประเทศของเกาหลีใต้สามารถผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์สนองตอบต่อความต้องการของกองทัพเกาหลีใต้ได้ถึงร้อยละ 70 ทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ อุปกรณ์สื่อสาร ยานยนต์ เสื้อผ้า เครื่องใช้ ยุทธภัณฑ์และยุทธปัจจัยต่างๆ โดยมีสำนักงานจัดซื้อจัดจ้างกลาโหม (The Defense Procurement Agency : DPA) ของกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ เป็นผู้รับผิดชอบการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ ยุทธภัณฑ์และยุทธปัจจัยกว่าร้อยละ 95 DPA ทำหน้าที่จัดซื้อจัดจ้างทุกอย่างสำหรับกองทัพเกาหลีใต้ รวมทั้งการจัดการส่งกำลังบำรุง การประมาณการสำหรับอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ เจรจาต่อรอง กำหนดคุณลักษณะและการกำหนดมาตรฐานอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพ กองทัพเกาหลีใต้เคยพึ่งพาความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐอเมริกาเต็มรูปแบบจนกระทั่งกลางทศวรรษ 1960 ในปี 1971 กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ได้จัดตั้ง DPA ทำหน้าที่เป็นสำนักงานจัดซื้อจัดจ้างแบบบูรณาการ เพื่อปรับปรุงอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพเกาหลีใต้ให้ทันสมัยเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพบกเกาหลีใต้ ในปัจจุบัน DPA จัดการงบประมาณกว่า 4 ล้านล้านวอน


เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์และปี 2565เท่านั้นที่เป็นปีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดสำหรับการส่งออกด้านการป้องกันประเทศของเกาหลีใต้

                                      

ข้อตกลงการส่งออกกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และอียิปต์นั้นเหนือกว่าเมื่อหลายปีก่อนเมื่อรวมกันแล้วในแง่ของมูลค่า แต่ปี 2565 อาจยังมีสินค้าเหลืออยู่อีกมาก คาดว่าเกาหลีใต้จะเป็นผู้ส่งออกด้านการป้องกันประเทศรายใหญ่อันดับ 3 ของปี 2565

                                     

ปี 2564 เป็นปีที่ประสบความสำเร็จเช่นกัน โดยการส่งออก K9 Thunder ไปยังออสเตรเลียและเรือลาดตระเวนไปยังฟิลิปปินส์ถือเป็นการสิ้นสุดปี การส่งออกด้านการป้องกันประเทศของเกาหลีใต้มีส่วนแบ่ง 4.9% ของตลาดโลก ทำให้เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับ 6 ในปี 2564

                                   

ต่อไปนี้คือรายการข้อตกลงที่เสร็จสมบูรณ์และโครงการส่งออกด้านการป้องกันประเทศที่ดำเนินการอยู่ ซึ่งอาจบรรลุการตัดสินใจขั้นสุดท้ายหรือก้าวสำคัญในปี 2565

  • UAE / KM-SAM / 3.37 พันล้านดอลลาร์ / เสร็จสมบูรณ์
  • อียิปต์ / K9 Thunder / 1.7 พันล้านดอลลาร์ / เสร็จสมบูรณ์
  • UAE / FA-50 Fighting Eagle / 4.5 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณการ) / กำลังดำเนินการ
  • ออสเตรเลีย / เรดแบ็ค / 4.2 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณการ) / อยู่ระหว่างดำเนินการ
  • นอร์เวย์ / K2 Black Panther / 2.2 พันล้านดอลลาร์ / กำลังดำเนินการ
  • ซาอุดีอาระเบีย / Biho II / กำลังดำเนินการ
  • สโลวาเกีย / FA-50 Fighting Eagle / กำลังดำเนินการ
  • มาเลเซีย / FA-50 Fighting Eagle / กำลังดำเนินการ
  • มาเลเซีย / 6x6 APC / กำลังดำเนินการ
  • อินเดีย / K9 Thunder เพิ่มเติม / กำลังดำเนินการ
  • อินเดีย / รถถังเบา / กำลังดำเนินการ
  • อินเดีย / เรือดำน้ำ 3,000 ตัน / อยู่ระหว่างดำเนินการ
  • อินเดีย / K2 Black Panther / กำลังดำเนินการ
  • โอมาน / K2 Black Panther / กำลังดำเนินการ
  • สหราชอาณาจักร / K9A2 Thunder / กำลังดำเนินการ
  • สหรัฐอเมริกา / T-50A Golden Eagle / กำลังดำเนินการ
  • สหรัฐอเมริกา / เร้ดแบ็ค / อยู่ระหว่างดำเนินการ 

เมื่อย้อนกลับมาดูพัฒนาการของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของบ้านเราซึ่งไม่ได้มีการวางแผนและกำหนดนโยบายดังเช่นที่เกาหลีใต้ทำเมื่อกว่า 40 ปีล่วงมาแล้ว อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยในเชิงนโยบายจึงล้าหลังกว่าเกาหลีใต้ถึงกว่า 40 ปีเลยทีเดียว ทั้งๆ ที่ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ของไทยนั้นจัดว่าอยู่ในอันดับต้นๆ ของภูมิภาคนี้ และรวมถึงทวีปเอเชียเสียด้วยซ้ำไป ทำไมเราจึงช้ากว่าเกาหลีใต้ถึงกว่า 40 ปี นับแต่ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตย เราพึ่งมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาวุธเพียง 2 ฉบับเท่านั้น ฉบับแรกคือ คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37 (ปร.37) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาวุธของเอกชนเพื่อใช้ออกกฎกระทรวงจนกระทั่งฉบับต่อมาคือ พระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศฉบับที่ 2 



แม้ว่า มีการจัดตั้ง สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ มีฐานะเป็นองค์การมหาชนแห่งแรกของกระทรวง กลาโหม เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 ก็ตาม แต่บทบาทหน้าที่การทำงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศในการสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศจนทุกวันนี้ ยังไม่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้มีพัฒนาการและเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ


ข้อมูลจาก https://mgronline.com/daily/detail/9590000083160

                 https://www.facebook.com/ROKArmedForces/

Noppadol Srisakote

อดีตช่างภาพสนาม หรือ "Combat Camera" ที่มีความสนใจเรื่องราวของเทคโนโลยี ข่าวสาร ด้านการทหาร การป้องกันประเทศ และข่าวการรับสมัครสอบทหาร ตำรวจ ผมจะพยายามค้นคว้าหาข้อมูลที่น่าสนใจมานำเสนอทุกคน ขอขอบคุณทุกการติดตามครับ

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ