ขอบคุณภาพจากพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ |
เขาเอามาเขาก็เอามาต่อยอด เหมือนเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ใกล้ฝั่ง ที่เราแถบจะทำได้เองทุกชิ้นส่วนแล้ว แหมพูดแล้วมันคนปากจริงๆ
มาดูกันสมัยก่อนว่าเราเกรียงไกรเป็นที่น่าเกรงขามในแถบนี้แค่ไหน (บทความจาก http://zedth.exteen.com/20060904/entry บันทึกไม่ประจำวันของเจ้าชายน้อย
“ข้อ เท็จจริงทางประวัติศาสตร์ก็คือ ราชนาวีไทยเคยมีกองเรือดำน้ำก่อนใครๆ ในภูมิภาคนี้ เคยมีถึง 4 ลำ เป็นเรือชั้น “มัจฉานุ” และเรื่องราวที่สอดคล้องต่อสถานการณ์ปัจจุบันอย่างบังเอิญก็คือ เรือทั้ง 4 ลำต่อโดยมิตซูบิชิ แห่งญี่ปุ่น ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1930”
4 ก.ย. วันที่ระลึกเรือดำน้ำ
ในสมัยหนึ่ง กองทัพเรือไทยเคยมีเรือดำน้ำประจำการอยู่ถึง 4 ลำ
ซึ่งทำให้กองทัพเรือของไทยในขณะนั้น
เป็นกองทัพเรือที่น่าเกรงขามที่สุดในนานาประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สาเหตุก็เพราะ เขตอันตรายจากเรือดำน้ำ หรือ Sphere of Submarine Danger นั่นเอง
อันตรายจากเรือดำน้ำในสมัยนั้นก็คือ ความหวั่นเกรงต่อเรือดำน้ำ
ซึ่งไม่รู้ว่าจะถูกลอบโจมตีจากเรือดำน้ำเมื่อไหร่
เพราะเทคโนโลยีในการตรวจจับเรือดำน้ำยังไม่ดีเท่ากับในยุคปัจจุบัน ดังนั้น
ในการที่จะส่งเรือเข้ามาในน่านน้ำของไทย จึงมีข้อจำกัดมากขึ้น
จะส่งเรือใหญ่มาก็ไม่ได้ เพราะเสี่ยงต่อการถูกลอบโจมตี
จะส่งเรือเล็กมาก็มีปัญหาเรื่อง น้ำมันเชื้อเพลิง และเสบียงอาหาร
ไม่เพียงพอ อีกทั้งยังต่อกรกับเรือรบผิวน้ำของไทยเราได้ยาก
เพราะขนาดเท่าเทียมกัน ด้วยเหตุนี้
เรือดำน้ำจึงเป็นเครื่องจักรกลที่สร้างความกดดันให้กับข้าศึกได้อย่างมหาศาล
เลยทีเดียว
จุดเริ่มต้นของการมีเรือดำน้ำในประเทศไทย เริ่มมาจาก โครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ พ.ศ. 2453 โดยโครงการนี้ประกอบด้วยคณะกรรมการ คือ นาย
พลเรือตรี พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (พลเรือเอก
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากร เกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพร
เขตรอุดมศักดิ์) , นายพลเรือตรี พระยาราชวังสรรค์ (พลเรือเอก พระยามหาโยธา) และ นายพลเรือตรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิงหวิกรมเกรียงไกร (พลเรือเอก กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร) ได้จัดทำขึ้นถวาย สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงนครสวรรค์ วรพินิจ (จอมพลเรือ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ) เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ซึ่งได้ทรงนำทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 18 มกราคม ร.ศ. 129 (พ.ศ.2453) โดยในรายงาน
ได้เสนอความต้องการ เรือ ส. จำนวน 6 ลำ แต่ เนื่องจากว่า
สภาวะเศรษฐกิจของไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น
ไม่เอื้ออำนวยให้กองทัพเรือจัดซื้อหรือสร้างเรือดำน้ำมาไว้ใช้ในราชการได้
(เรือ ส.
เป็นคำที่ใช้เรียกเรือดำน้ำในยุคนั้น โดย ส. ย่อมาจากคำว่า สับมารีน
(Submarine) หรือ สับเมิร์สสิเบิ้ล โบ๊ท (Submersible Boat) ซึ่งแปลว่า
เรือดำน้ำ ในภาษาอังกฤษ)
ร.ล.สินสมุทร ขณะลอยลำอยู่บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา
(ขอขอบคุณภาพส่วนตัวจาก อ.Submarine Lover)
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2458 สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก)
เสด็จกลับจากการศึกษาวิชาการทหารเรือจากประเทศเยอรมัน
ซึ่งพระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องเรือดำน้ำเป็นอย่างดี
และกล่าวได้ว่าเป็นเพียงผู้เดียวในเมืองไทยสมัยนั้น
ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรือดำน้ำ
พระองค์ทรงสนพระทัยในวิชาการเรือดำน้ำเป็นพิเศษ เคยได้รับรางวัลที่ 1
ในการออกแบบเรือดำน้ำ ในระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่ที่เยอรมันด้วย
พระองค์ (ขณะนั้น ทรงดำรงยศ เรือโท) ทรงถวายรายงานเรื่อง เรือ ส.
ต่อ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือในขณะนั้น คือ พลเรือโท กรมหลวงชุมพร
เขตรอุดมศักดิ์ มีความหนา 94 หน้า ในรายงานฉบับนี้
พระองค์ทรงเสนอแนวความคิดในการจัดหาเรือ ส. ตั้งแต่ความสำคัญ , ผลประโยชน์
และผลเสียจากการมีเรือ ส. , แผนการส่งนักเรียนไปเรียนวิชาเกี่ยวกับเรือ ส. ,
แผนการสร้างเรือ ส. และแผนการใช้เรือ ส. ในการป้องกันประเทศ
และพระองค์ได้ทรงสรุปในตอนท้ายว่า ถึงแม้ว่าประเทศเราจะเห็นสมควรว่าจะมี
หรือ ไม่มี เรือ ส. ก็ตามที แต่ก็ควรจะศึกษาเรื่อง เรือ ส. ไว้ เพื่อที่ว่า
เวลาที่เราต้องรบกับ เรือ ส. เราจะได้รู้ว่า เราจะต้องทำอย่างไร
เพื่อที่จะได้ไม่เสียทีเพราะความเขลา หรือความไม่รู้
สำหรับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสนพระทัยในเรื่อง เรือ ส. นี้เป็นอย่างมาก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2459 พระองค์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ เรื่อง ร.ต.น. นนทรี หรือ เรือใต้น้ำหลวงนนทรี (พระองค์ ทรงเรียกเรือ ส. ว่า เรือใต้น้ำ) โดยใช้นามปากกาว่า ศรีอยุธยา เพื่อแสดงถึงความยากลำบากของนายทหารเรือดำน้ำ ซึ่งประสบอุบัติเหตุจมอยู่ใต้น้ำ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ น.ต.หลวงหาญสมุทร (พลเรือตรี พระยาหาญกลางสมุทร) ได้เข้าศึกษาการใช้เรือดำน้ำ ในกองทัพเรืออังกฤษ จนสำเร็จ และได้ประจำการในกองเรือดำน้ำของราชนวีอังกฤษ ในสงครามโลกครั้งที่ 1
หลังจากนั้นอีก 18 ปี ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ความฝันของกองทัพเรือ ที่จะได้มีเรือดำน้ำ ไว้ใช้ในราชการ จึงเป็นจริง
โดยสภาผู้แทนราษฎร ได้อนุมัติ พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ. 2478
โดยในพระราชบัญญัตินี้ ได้กำหนดให้กองทัพเรือ ต่อเรือดำน้ำ จำนวน 6 ลำ
โดยในที่สุดแล้ว ไทยได้ทำสัญญาว่าจ้างต่อเรือ กับ บริษัท มิตซูบิชิ
ประเทศญี่ปุ่นให้ต่อเรือดำน้ำ ขนาด 370 ตัน จำนวน 4 ลำ เป็นเงิน ลำละ
820,000 บาท และได้รับพระราชทานชื่อในภายหลังว่า ร.ล.มัจฉานุ (หมายเลข 1) , ร.ล.วิรุณ (หมายเลข 2) , ร.ล.สินสมุทร (หมายเลข 3) และ ร.ล.พลายชุมพล
(หมายเลข 4) โดย ร.ล.มัจฉานุ และ ร.ล.วิรุณ สร้างเสร็จสมบูรณ์
และได้ขึ้นประจำการในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2480 ทางกองทัพเรือ
จึงได้ถือเอาวันนี้ของทุกปีเป็น วันที่ระลึกเรือดำน้ำ
พิธีรับเรือ ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.วิรุณ
เดือน ก.ย. 2480 ที่เมืองโกเบ
ภายหลังจากที่ สภาผู้แทนราษฎร ได้อนุมัติ พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ. 2478
และอนุมัติงบประมาณ จำนวน 18 ล้านบาท โดยจ่ายจากงบประมาณประจำปี ปีละ 1
ล้านบาท เป็นเวลา 6 ปี นอกนั้นจ่ายจากเงินคงคลัง
กองทัพเรือก็ได้ทำการจัดหาเรือดำน้ำตามความต้องการทันที
โดยโครงการที่ได้เสนอไปนั้น กองทัพเรือมีความต้องการเรือดำน้ำ จำนวน 6 ลำ
ประมาณราคาในขั้นต้นไว้ลำละ 2.3 ล้านบาท และต้องการในเบื้องต้น 3 ลำ
ซึ่งจะเห็นว่าโครงการนี้ สอดคล้องกับ รายงานเรื่อง เรือ ส. ของ สมเด็จพระบรมราชชนก (ร.ท. กรมขุนสงขลานครินทร์) ที่พระองค์ทรงเสนอ แด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยแบ่งขั้นการดำเนินการออกเป็น 2 ตอน ตอนละ 2 ขั้น คือ
ตอนที่ 1 ขั้นที่ 1 ต้องใช้เรือ ส. 2 ลำ
ขนาดระวางขับน้ำเหนือน้ำ 190 ตัน ใต้น้ำ 230 ตัน ความเร็วเหนือน้ำ 15 น็อต
ความเร็วใต้น้ำ 9.5 น็อต รัศมีทำการ 450 ไมล์ มีตอร์ปิโดขนาด 4.5 ซ.ม. 2
ท่อยิง (หัว,ท้าย) และคนประจำเรือ 20 คน เรือ ส. ทั้ง 2 ลำนี้
จะมีไว้เพื่อป้องกันปากแม่น้ำทั้ง 4 คือ แม่น้ำเจ้าพระยา , ท่าจีน ,
แม่กลอง และบางปะกง
ตอนที่ 1 ขั้นที่ 2 ต้องใช้เรือ ส. แบบเดียวกับในขั้นที่ 1 อีก 2 ลำ เพื่อขยายแนวป้องกันออกไปจนถึง เกาะจวง , เกาะสัตกูด , เขาสามร้อยยอด
ในตอนที่ 2 นี้ พระองค์ทรงแบ่งการดำเนินการเป็น 2 อย่าง คือ อย่างเล็ก กับ อย่างใหญ่ เรียกเป็น ก. กับ ข.
ตอนที่ 2 ขั้น ก. (เล็ก) ขยายอาณาเขตไปจนถึงเกาะสมุย เพิ่มเรือดำน้ำขนาดใหญ่ขึ้น อีกจำนวน 3 ลำ
ตอนที่ 2 ขั้น ข. (ใหญ่) ขยายอาณาเขตไปจนถึงสิงคโปร์
และเพิ่มเรือดำน้ำขนาดใหญ่ มีระวางขับเหนือน้ำ 800 ตัน ใต้น้ำ 1,000 ตัน
ความเร็วเหนือน้ำ 18.5 น็อต ใต้น้ำ 15.5 น็อต รัศมีทำการ 2,500 ไมล์ทะเล
ตอร์ปิโด 4 ท่อยิง (หัว 2 ท้าย 2) ปืนใหญ่ขนาด 76/25 มม. 2 กระบอก จำนวน 2
ลำ
นอกจากใน รายงานเรื่อง เรือ ส. แล้ว ยังมีแนวทางการจัดกำลังเรือ ส. ของสมเด็จพระบรมราชชนก อีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งอยู่ในสมุดแบบฝึกหัดส่วนพระองค์ ซึ่งพระองค์ทรงลิขิตไว้เป็นภาษาเยอรมัน เรื่อง ร่างโครงการสร้างกองเรือรบ (Flottenbauplan) ใน
โครงการนี้มีความต้องการเรือ ส. 4 ลำ ขนาดระวางขับน้ำเหนือน้ำ 230 ตัน
ความเร็วเหนือน้ำ 14 น็อต ใต้น้ำ 10 น็อต มีตอร์ปิโดขนาด 53 ซม. 2 ท่อยิง
และจะใช้เกาะสีชัง เป็นฐานปฏิบัติการ
กองทัพเรือได้จัดตั้ง คณะกรรมการพิจารณาโครงการบำรุงกองทัพเรือ โดยมี นายนาวาเอก พระยาวิจารณ์จักรกิจ (ต่อ
มาเป็น พลเรือตรี) รักษาราชการแทนผู้บัญชาการทหารเรือ ในสมัยนั้น
เป็นประธาน ในการจัดหาเรือดำน้ำ เมื่อกองทัพเรือ
กำหนดคุณสมบัติของเรือดำน้ำ (สมัยนั้นเรียกว่าเรือดำน้ำแล้ว)
ที่ต้องการแล้ว ก็ได้เรียกประกวดราคาสร้างเรือดำน้ำในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2478
และได้มีประเทศต่าง ๆ ยื่นข้อเสนอดังนี้
ประเทศอิตาลี มีตอร์ปิโดหัวเรือ 4 ท่อ ท้าย 2 ท่อ
ไม่มีปืนใหญ่ , ลูกปืน และลูกตอร์ปิโด ราคา 3 ลำรวม 3,747,420 บาท ถ้า 4
ลำเป็นเงิน 4,970,640 บาท
ประเทศญี่ปุ่น มีตอร์ปิโดหัวเรือ 2 ท่อ ท้าย 2 ท่อ มีปืนใหญ่และลูกปืน แต่ไม่มีลูกตอร์ปิโด โดยแบ่งตามขนาดของระวางขับน้ำ และจำนวนลำ ดังนี้
- ขนาด 345 ตัน 3 ลำ ราคา 2,390,330 บาท 4 ลำ ราคา 3,161,290 บาท
- ขนาด 370 ตัน 3 ลำ ราคา 2,479,355 บาท 4 ลำ ราคา 3,280,000 บาท
- ขนาด 380 ตัน 3 ลำ ราคา 2,606,601 บาท 4 ลำ ราคา 3,447,742 บาท
ประเทศเดนมาร์ค 4 ลำ (ไม่ทราบรายละเอียด) ราคา 5,688,468 บาท
ประเทศอังกฤษ เฉพาะตัวเรือและเครื่องจักร 3 ลำ ราคา 4,023,630 บาท 4 ลำ ราคา 5,241,036 บาท
ประเทศฮอลันดา มีปืนใหญ่พร้อมลูก และต้อร์ปิโดพร้อมลูก 3
ลำ ราคา 5,012,976 บาท 4 ลำ ราคา 6,571,386 บาท
ถ้าไม่มีลูกปืนและลูกตอร์ปิโด 3 ลำ ราคา 4,188,159 บาท 4 ลำ ราคา 5,471,811
บาท
ประเทศฝรั่งเศส ไม่มีลูกปืน ไม่มีลูกตอร์ปิโด ราคาลำละ 3,262,773 บาท
ซึ่งในที่สุด คณะกรรมการได้ตกลงใจเลือก เรือดำน้ำขนาด 370 ตัน
ของประเทศญี่ปุ่น และก็ได้เจรจาซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมจากญี่ปุ่นอีก เช่น
ถังหนีภัย และอุปกรณ์การหนีภัยจากเรือดำน้ำ
ตลอดจนการฝึกกำลังพลประจำเรือดำน้ำ
และแล้ว เรือดำน้ำสัญชาติไทยคู่แรก คือ ร.ล.มัจฉานุ และ ร.ล.วิรุณ ก็ได้วางกระดูกงู เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 และทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2479 โดยมี พระมิตรกรรมรักษา อัครราชฑูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น ในขณะนั้น เป็นประธานในการปล่อยเรือลงน้ำ และเรือได้สร้างเสร็จบริบูรณ์เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2480
ส่วน ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล นั้น
วางกระดูกงูเมื่อ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2479
และทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480
และสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2481
เมื่อได้รับมอบเรือทั้งหมดแล้ว
ทหารเรือไทยต้องอยู่ฝึกกับกองทัพเรือญี่ปุ่นต่อจนเสร็จสิ้นการฝึก
และถอนสมอออกจากญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2481
เดินทางกลับถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน
และได้ทำพิธีขึ้นระวางประจำการ พร้อมกับ ร.ล.ศรีอยุธยา เรือปืนอีกลำที่ต่อที่ญี่ปุ่นเช่นกัน ในวันที่ 19 กรกฎาคม ปีเดียวกัน
ส่วนเรือดำน้ำอีก 2 ลำที่คาดว่าจะต่อเพิ่มอีก
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันประเทศ ตามโครงการนั้น
ปรากฏว่าไม่ได้ทำการต่ออีก เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.
2482 รัฐบาลจึงต้องสำรองเงินคงคลังไว้เผื่อในภาวะสงคราม
ทำให้ในประวัติศาสตร์ของไทย เรามีเรือดำน้ำทางทหารแค่4 ลำเท่านั้น
ส่วนนี้คือ ประวัติบางส่วนจากพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ อีกทั้งประวัติการรบในสงครามที่ผ่านมา
ประวัติเรือดำน้ำในกองทัพเรือไทย
กองทัพเรือได้มีแนวความคิดที่จะปรับปรุงและสร้างกำลังรบทางเรือให้เข้มแข็ง และทันสมัยขึ้น ในระยะแรกนั้น เรือดำน้ำเป็นกำลังรบที่ใหม่ ทรงอานุภาพทางทะเลมากที่สุด เพราะสามารถกำบังตัว หรือหลบหนีด้วยการดำน้ำ สามารถเข้าไปปฏิบัติการในพื้นที่ซึ่งเรือผิวน้ำไม่สามารถเข้าไปได้ และมีอาวุธตอร์ปิโดอันเป็นอาวุธสำคัญที่เป็นอันตรายแก่เรือผิวน้ำมากที่สุด ไม่มีเครื่องมือค้นหา และอาวุธปราบเรือดำน้ำที่จะทำอันตรายแก่เรือดำน้ำได้ ดังเช่นปัจจุบันนี้ จึงนับได้ว่าเรือดำน้ำ เป็นกำลังสำคัญในการป้องกันประเทศทางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง เรือดำน้ำได้อยู่ในแนวความคิดของกองทัพเรือไทยมาตั้งแต่ พ.ศ.2453 แล้ว ดังจะเห็นได้จากโครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ
โครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ พ.ศ.2453
โครงการจัดสร้างกำลังทางเรือนี้มีคณะกรรมการอันประกอบด้วย นายพลเรือตรี พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (ต่อมาเป็น นายพลเรือเอก กรมหลวงฯ) นายพลเรือตรี พระยาราชวังสวรรค์ (ฉ่าง แสง-ชูโต ต่อมาเป็นนายพลเรือเอก พระยามหาโยธา) และนายพลเรือตรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิงหวิกรมเกรียงไกร (ต่อมาได้เป็นนายพลเรือเอก กรมหลวงฯ) ได้จัดทำขึ้นถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต (ต่อมาเป็น จอมพลเรือ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระฯ) เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ และเสนาบดีฯ ทรงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 18 มกราคม ร.ศ.129 (พ.ศ. 2453) โครงการนี้ได้กำหนดให้มี “เรือ ส.(1) จำนวน 6 ลำ” ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้อธิบายไว้ว่า “เรือ ส. คือเรือดำน้ำสำหรับลอบทำลายเรือใหญ่ข้าศึก….. แต่ยังกล่าวให้ชัดไม่ได้เพราะยังไม่เคยลงแลลอง แต่ที่พูดถึงด้วยนี้โดยเห็นว่าต่อไปภายหน้าการศึกษาสงครามจะต้องใช้เป็นมั่นคง แต่ไม่ใช่เดี๋ยวนี้” เวลานั้นเรือดำน้ำเป็นอาวุธที่นาวีของมหาอำนาจในยุโรปกำลังพัฒนาและทดลองใช้อยู่
ต่อมาใน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ออกจากประจำการ และต้องจ้าง นายนาวาเอก ชไนด์เลอร์ (J.Schneidler) นายทหารเรือชาติสวีเดนเข้ามาเป็นที่ปรึกษาการทหารเรือ ในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 นายนาวาเอก ชไนด์เลอร์ ได้เสนอโครงการจัดสร้างกำลังทางเรือสำหรับป้องกันประเทศ และได้กล่าวถึง “เรือดำน้ำ” ว่า “เป็นเรือที่ดีมากสำหรับป้องกันกรุงเทพฯ แต่จะผ่านเข้าออกสันดอนลำบาก ถ้าเก็บไว้ในแม่น้ำก็ไม่คุ้มค้า” และได้เสนอไว้ในโครงการให้มีเรือดำน้ำ 8 ลำ สำหรับประจำอยู่กับกองทัพเรือที่จันทบุรี
ทหารเรือไทยและคนไทยได้มีโอกาสเห็นเรือดำน้ำจริงๆ เป็นครั้งแรกที่ไซ่ง่อน ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2454 ในโอกาสที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เสด็จประพาสอินโดจีนฝรั่งเศส ได้จัดเรือดำน้ำมาแล่น และดำถวายให้ทอดพระเนตรในบริเวณที่เรือพระที่นั่งมหาจักรีเทียบท่าอยู่
เรือเหล่านี้ขึ้นระวางประจำการแล้วได้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญคือ เมื่อเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส หลังจากที่ ร.ล.ธนบุรี และเรือตอร์ปิโดถูกเรือรบฝรั่งเศสยิงจมแล้ว เรือดำน้ำ 4 ลำได้ลาดตระเวนเป็นแถว อยู่หน้าบริเวณฐานทัพเรือของอินโดจีนฝรั่งเศส ใช้เวลาอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ 12 ชั่วโมงขึ้นไป นับเป็นการดำน้ำที่นานที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมี หมวดเรือดำน้ำเป็นต้นมา
เรือดำน้ำในกองทัพเรือไทย (มี 4 ลำ)
1. ร.ล.มัจฉาณุ ลำที่สอง (ร.ล.มัจฉาณุ ลำที่หนึ่ง เป็นเรือในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)
2. ร.ล.วิรุณ
3. ร.ล.สินสมุทร
4. ร.ล.พลายชุมพล
เรือหลวงมัจฉาณุ (ลำที่สอง)
ประเภท : เรือดำน้ำ
ระวางขับน้ำ : น้ำหนักบนผิวน้ำ 374.5 ตัน น้ำหนักขณะดำ 430 ตัน
ขนาด : ความยาวตลอดลำ 51 เมตร ความกว้างสุด 4.1 เมตร สูงถึงหลังคาหอเรือ 11.65 เมตร
กินน้ำลึก : กินน้ำลึก 3.6 เมตร
อาวุธ : ปืนใหญ่ 76 มม. 1 กระบอก ปืน 8 มม. 1 กระบอก ตอร์ปิโด 45 ซม. 4 ท่อ
เครื่องจักร : เครื่องจักรใหญ่ชนิดดีเซล 2 เครื่อง ๆ ละ 8 สูบ กำลัง 1,100 แรงม้า เครื่องไฟฟ้ากำลัง 540 แรงม้า (ใช้เดินใต้น้ำ)
ความเร็ว : ความเร็วมัธยัสถ์ 10 นอต
รัศมีทำการ : รัศมีทำการ 4,770 ไมล์
ทหารประจำเรือ 33 คน (นายทหาร 5 พันจ่า-จ่า 28)
เรือนี้ต่อที่อู่ บริษัท มิตซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ.2479 มีอยู่ 4 ลำด้วยกัน คือ เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และ เรือหลวงพลายชุมพล
วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 วางกระดูกงูพร้อมกับ เรือหลวงวิรุณ
วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2479 ลงน้ำพร้อมกับ เรือหลวงวิรุณ
วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2479 เรือหลวงมัจฉาณุ (ลำที่สอง) และเรือดำน้ำอีก 3 ลำ ออกจากน่านน้ำประเทศญี่ปุ่น เดินทางมายังประเทศไทย โดยไม่มีเรือพี่เลี้ยง ซึ่งแสดงถึงความสามารถของทหารเรือไทย
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เดินทางมาถึงประเทศไทย
วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ขึ้นระวางประจำการ
เมื่อครั้งกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส หลังจาก เรือหลวงธนบุรี และเรือตอร์ปิโด ถูกเรือฝรั่งเศส ยิงจมแล้ว เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ได้ไปลาดตระเวนเป็น 4 แนว อยู่หน้าบริเวณฐานทัพเรือเรียมของอินโดจีนฝรั่งเศส ใช้เวลาดำอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ 12 ชั่วโมง ขึ้นไป นับเป็นการดำที่นานที่สุด ตั้งแต่ได้เริ่มมีหมวดเรือดำน้ำมาจนกระทั่งได้ถูกยุบเลิกไป
วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ปลดระวางประจำการ
เรือหลวงวิรุณ
เรือนี้เป็นเรือพี่น้องของ เรือหลวงมัจฉาณุ สร้างแห่งเดียวกัน โดยสัญญาเดียวกัน
วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 วางกระดูงู
วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2479 เรือลงน้ำ
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เดินทางมาถึงประเทศไทย
วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ขึ้นระวางประจำการ
วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ปลดระวางประจำการ
เรือหลวงสินสมุทร
เรือนี้เป็นเรือพี่น้องของ เรือหลวงมัจฉาณุ สร้างแห่งเดียวกัน โดยสัญญาเดียวกัน
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2479 วางกระดูงูพร้อมกับ เรือหลวงพลายชุมพล
วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เรือลงน้ำพร้อมกับ เรือหลวงพลายชุมพล
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เดินทางมาถึงประเทศไทย
วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ขึ้นระวางประจำการ
วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ปลดระวางประจำการ
เรือหลวงพลายชุมพล
เรือนี้เป็นเรือพี่น้องของ เรือหลวงมัจฉาณุ สร้างแห่งเดียวกัน โดยสัญญาเดียวกัน
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2479 วางกระดูงู
วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เรือลงน้ำ
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เดินทางมาถึงประเทศไทย
วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ขึ้นระวางประจำการ
วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ปลดระวางประจำการ
ทั้งหมดที่กล่าวและยกตัวอย่างมาอยากให้นึกและเห็นถึงการมองการณ์ใกล้ของบุพการีของกองทัพเรือ ในอดีต อย่าให้ประวัติศาสตร์มันซ้ำรอยบ่อยๆเลย ไอ้ประเภทรบไปแล้วค่อยซื้อไปแบบที่เป็นอยู่ทุกวันมันอิหลักอิเหลื่อ เหลือทน