แจ้งการเตรียมตัวล่วงหน้าสำหรับน้องที่ต้องการสอบเข้าเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์(พลอาสาสมัคร) ร.1 พัน4 รอ. รุ่นที่ 25

น้องจากในหน่วยแจ้งทางบล็อกของรุ่นน้อง"ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์"ว่า หน่วยฯจะทำการรับสมัคร ในห้วงวันที่ 26 ส.ค. - 6 ก.ย. 2556 น้องที่ต้องการรับสมัครเตรียมตัวฟิตร่างกายได้แล้วครับเหลือเวลาอีกไม่มาก หากต้องการอ่านประสบการณ์การเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ของ ร.1 พัน.4 รอ. ที่น้องเขาเล่าได้นะครับ ดีกว่าแอดมิน ฮา เล่าให้ฟังแน่นอนมี 2 ตอนโดย พล.อส.เกียรติศักดิ์ ขวัญอยู่

  • ประสบการณ์ทหารมหาดเล็ก

  • ประสบการณ์ทหารมหาดเล็ก ตอน2

    การเตรียมตัวน้องลองอ่านระเบียบการรับสมัครของปีที่ผ่านมาว่าต้องใช้หลักฐานอะไรมีการทดสอบอะไรบ้าง ได้ที่นี่(ระเบียบการรับสมัครที่ผ่านมา)

    พลอาสาสมัคร คือ ข้าราชการทหารที่ได้รับการบรรจุในอัตราพลอาสาสมัคร รับเงินเดือนระดับ พ.2

    พลอาสาสมัคร ไม่ได้เป็นอาสาสมัครแบบ ตำรวจบ้าน หรือ อปพร. แต่เป็น "ข้าราชการกลาโหมประจำการ" ที่ต้องสอบเข้ามาเป็นและเมื่อสอบได้แล้วต้องเข้ารับการฝึกอบรมตามระเบียบกอง ทัพ และรับราชการได้จนถึงเกษียณอายุ 60 ปี (ชื่ออาสาสมัครแต่จริงๆไม่ใช่อาสาสมัคร)

    สวัสดิการ = เบิกได้ทุกอย่างเหมือนทหารยศสิบเอก มีเงินเดือนประจำ มีบ้านพักสวัสดิการ พ่อ,แม่,ลูก,ภรรยา เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ค่าเล่าเรียนบุตรเบิกได้ เกษียณมีบำเหน็จ บำนาญ ค่าโดยสารรถ บขส. รถไฟ ลดครึ่งราคา และ ฯลฯ

    ความก้าวหน้า = สามารถเลื่อนยศเป็นนายสิบ จ่า นายทหารได้

    หน่วย ที่ยังมีอัตราพลอาสาสมัครในปัจจุบัน = สห.(สารวัตรทหาร) , ดย.(ทหารดุริยางค์) , ร.1 พัน.4 รอ. (กรมทหารราบที่ 1 ฯ) , ทม.รอ.(หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย) , พัน.สท.(กองพันสุนัขทหาร) , บก.ทท.(กองบัญชาการกองทัพไทย) , สป.กห.(สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม) เป็นต้น

    ทุกหน่วยข้างต้นเปิดสอบบรรจุทุกปี สรุป พลอาสาสมัคร คือ ข้าราชการทหารประจำการ ไม่ใช่ทหารเกณฑ์ หรือ อาสาสมัคร

    หากร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์สามารถเข้ารับการทดสอบเพื่อเข้าศึกษาหลักสูตรส่งทางอากาศ (กระโดดร่ม) และหลักสูตรการรบแบบจู่โจม (Ranger) ได้อีกด้วย

    แนวทางการฝึกฯ

    1. กล่าวทั่วไป
    กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ฯ มีภารกิจสำคัญแบ่งได้เป็น 2 นัย สำคัญคือ ภารกิจทางการทหารในฐานะกรมทหารราบ ที่จะต้องมีความพร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศ ตามคำสั่งของหน่วยเหนือ และภารกิจของทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งจะต้องถวายพระเกียรติ และถวายความปลอดภัย แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ตามพระราชประสงค์ ในการตั้งกรมทหารราบแห่งนี้ ตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ตระหนักถึงหน้าที่อันสำคัญยิ่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นเหตุให้ภัยคุกคามอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่บางครั้งเหนือความคาดหมาย การปฏิบัติงานในการถวายความปลอดภัย จึงต้องได้รับการฝึกอบรม และให้ความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยก่อการร้าย การปฏิบัติการในเมือง ,การลอบทำร้ายบุคคลสำคัญ เป็นต้น ซึ่งสถานที่รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการแปรเปลี่ยนไปตามสภาพความซับซ้อน และหลากหลายของปัญหาที่เกิดขึ้น อันจะเห็นได้จากเหตุการณ์ก่อการร้ายที่หลายประเทศกำลังเผชิญอยู่


    การศึกษา และให้ความรู้เพิ่มเติมของทหารมหาดเล็กฯ จึงมีความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของหน่วยให้มีขีดความสามารถ ทักษะ ความรู้ เท่าทันการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นงานด้านการถวายความปลอดภัยเป็นสำคัญ ซึ่งหน่วยไม่สามารถแสวงประโยชน์ จากวงรอบการฝึกประจำปีได้เนื่องจากกิจเฉพาะที่แตกต่างกัน หน่วยจึงต้องเร่งรัด จัดการฝึกกำลังพล ภายในหน่วยให้พร้อมสำหรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยกำหนดให้เป็นหลักสูตรการฝึกสำหรับทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ไว้อย่างสมบูรณ์


    2. ความมุ่งหมาย

    เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพ ความรู้ และทักษะ ของทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ สำหรับงานในหน้าที่ให้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านถวายความปลอดภัย และให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรอื่นได้อย่างเป็นสากล

    3. วัตถุประสงค์

    3.1 เพื่อปรับมาตรฐาน ความรู้ ความชำนาญ ของกำลังพลที่เข้ารับการฝึกให้มีขีดความสามารถ ในการปฏิบัติภารกิจ ได้ตามมาตรฐาน และเป็นไปในแนวทางเดียวกันสอดคล้องกับแนวทาง และนโยบายของผู้บังคับบัญชา
    3.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกมีขีดความสามารถในการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ และสามารถปฏิบัติ
    งานร่วมกับหน่วยงานอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นสากล
    3.3 เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ ของชุดปฏิบัติการทหารมหาดเล็กฯ ให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้ทุกสภาพภูมิประเทศ ลมฟ้า อากาศ เหตุการณ์และโอกาสต่าง ๆ ได้อย่างมั่นใจ พร้อมสำหรับเผชิญภัยก่อการร้ายทุกรูปแบบ
    3.4 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึก สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม ตามธรรมเนียมประเพณีของทหารมหาดเล็ก และเมื่อร่วมกับส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง

    4. การจัดกำลังพลเข้ารับการฝึก :
    4.1 ภาคที่ตั้ง : จำนวน 3 สัปดาห์
    4.1.1 ส่วนกองอำนวยการฝึก
    4.1.2 ส่วนผู้เข้ารับการฝึก
    4.2 ภาคสนาม : จำนวน 3 สัปดาห์
    4.2.1 ส่วนกองอำนวยการฝึก
    4.2.2 ส่วนผู้เข้ารับการฝึก


    5. เรื่องที่ทำการฝึก :

    5.1 ภาคที่ตั้ง
    5.1.1 ข้อปฏิบัติในราชสำนัก และแบบธรรมเนียมราชประเพณี, งานในหน้าที่ของทหารมหาดเล็ก รวมทั้งมารยาทงานสโมสร
    5.1.2 อาวุธศึกษา, การใช้อาวุธ , และการยิงปืนด้วยกระสุนจริงทั้งในเวลากลางวัน และเวลากลางคืน
    5.1.3 การต่อสู้ด้วยมือเปล่า
    5.1.4 การ รปภ. บุคคลสำคัญ และการปฏิบัติการลับ
    5.1.5 การปฏิบัติการทางบก ,ทางน้ำ,และด้วยอากาศยาน
    5.1.6 การรบในเมือง
    5.1.7 การต่อต้านการก่อการร้ายทุกรูปแบบ
    5.1.8 การทดสอบร่างกาย
    5.2 ภาคสนาม
    5.2.1 การ รปภ.บุคคลสำคัญ
    5.2.2 การปฏิบัติการในเมือง
    5.2.3 การปฏิบัติการทางบก,ทางน้ำ ,และทางอากาศยาน

    6. พื้นที่ฝึก :

    6.1 ภาคที่ตั้ง
    6.1.1 พื้นที่การฝึก ร.1 รอ. และ นขต.ร.1 รอ. พื้นที่ใกล้เคียง
    6.1.2 เขตพระราชฐาน ในกรุงเทพมหานคร
    6.1.3 เขตพระราชฐาน วังไกลกังวล อ.หัวหิน จว.ประจวบคีรีขันธ์
    6.2 ภาคสนาม
    6.2.1 การรบในเมือง และการ รปภ.บุคคลสำคัญ: พื้นที่ฝึกวังไกลกังวล จว.ประจวบฯ,พื้นที่ฝึกจู่โจม ศร. จว.ประจวบ ฯ
    6.2.2 การฝึกภาคทะเล : พื้นที่ฝึกจู่โจม ศร. จว.ประจวบฯ


    7. กำหนดการฝึก :

    7.1 การดำเนินการฝึก : แบ่งออกเป็น 2 ขั้นได้แก่
    7.1.1 ขั้นการฝึกภาคที่ตั้ง : เป็นการฝึก และให้ความรู้เพื่อทำให้เกิดทักษะความสามารถเฉพาะตัวเป็นรายบุคคล ให้เกิดความพร้อมที่จะสามารถปฏิบัติงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการฝึกภาคสนาม โดยจะดำเนินการฝึกเป็นเวลา 2 สัปดาห์
    7.1.2 ขั้นการฝึกภาคสนาม : เป็นการฝึกปฏิบัติงานเป็นทีม โดนนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกภาคที่ตั้งมาบูรณาการ เพื่อให้เกิดความชำนาญ และมั่นใจในการปฏิบัติงานร่วมกัน โดยทดสอบจากภูมิประเทศจริง
    7.2 การประเมินผล : เกณฑ์การประเมินผลเป็นแบบผ่าน / ไม่ผ่าน ใช้เวลาในการประเมินผลทั้งสิ้นภาคละ 36 ชม.
    7.2.1 ภาคที่ตั้ง : ทำการทดสอบเป็นรายบุคคล ใช้เวลา 12 ชม.
    - ทำการประเมินผลจากการสอบข้อเขียนเป็นรายวิชา โดยใช้เกณฑ์ผ่าน 70% รวม
    ทั้งสิ้น 6 วิชา เว้นการต่อสู้ด้วยมือเปล่า
    - ทำการประเมินผลจากการปฏิบัติ โดยใช้เกณฑ์ผ่าน 70% จากการใช้อาวุธ และการต่อสู้ด้วยมือเปล่า
    - ทำการทดสอบร่างกาย โดยใช้เกณฑ์ผ่าน 70% ตามเกณฑ์ที่กองทัพบกกำหนด
    7.2.2 ภาคสนาม : ทำการทดสอบเป็นทีม ( ใช้เวลา 24 ชั่วโมง )
    - ทำการทดสอบการปฏิบัติการเป็นทีมตามภารกิจเฉพาะที่กำหนด จาก 3 เรื่อง
    ได้แก่ การ รปภ.บุคคลสำคัญ, การปฏิบัติการรบในเมือง, การปฏิบัติการทางบก, ทางน้ำ , และด้วยอากาศยาน โดยคะแนนรวมต่ำกว่า 70 % ถือว่าไม่ผ่าน

    8. หลักฐานการฝึก :

    8.1 คู่มือการอารักขาบุคคลสำคัญ กอง 8 ศรภ.
    8.2 คู่มือ ANTI - TERRORIST A SSISTANCE PROGRAM
    8.3 แผนแม่บทหน่วย รปภ. ประเทศอิสาเอล
    8.4 BODYGUARD ( A P ractical guide to V.I.P Protection )
    8.5 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า ด้วยการ รปภ.แห่งชาติ พ.ศ.2517
    8.6 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการ รปภ. องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาทผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ พ.ศ.2521
    8.7 ระเบียบ กห.ว่าด้วยการ รปภ. บุคคลสำคัญทางทหาร พ.ศ.2529
    8.8. คู่มือว่าด้วยการรบในพื้นที่สิ่งปลูกสร้างถาวร พ.ศ. 2520
    8.9. คู่มือราชการสนาม ว่าด้วย การรบในพื้นที่ดัดแปลงแข็งแรง และในพื้นที่สิ่งก่อสร้างถาวร ( รส.31 – 50 ) พ.ศ. 2519
    8.10 FM. 90 – 10 – 1 Aninfanty man’ s Guide to combat in built-up areas 1993
    8.11 เอกสารประกอบคำบรรยาย วิชา การปฏิบัติการรบในพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง รร.สธ.ทบ.สบส.
    8.12 FM. 90 – 10 military operations on urbanized terrain ( MOUT ) กองทัพบกสหรัฐ ฯ
    8.13 FM. 7-98 operations in a – low lntensity conflict 

    ขอให้โชคดีกับการสอบทุกท่าน By แอดมิน Army Etc.

     

 

Noppadol Srisakote

อดีตช่างภาพสนาม หรือ "Combat Camera" ที่มีความสนใจเรื่องราวของเทคโนโลยี ข่าวสาร ด้านการทหาร การป้องกันประเทศ และข่าวการรับสมัครสอบทหาร ตำรวจ ผมจะพยายามค้นคว้าหาข้อมูลที่น่าสนใจมานำเสนอทุกคน ขอขอบคุณทุกการติดตามครับ

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ