เพิ่มบทบาทหลังจากที่ห่างหายไปนาน เยอรมันเตรียมส่งเรือรบเข้าปฏิบัติการในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก

 

การเดินทางมาปฏิบัติงานทางทหารในพื้นที่เอเซียตะวันออกอีกครั้งในรอบ22ปีของกองทัพเรือเยอรมัน จากการประกาศภารกิจของเรือรบเยอรมันที่กินระยะเวลานาน7เดือน จากกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี
เรือฟรีเกต “บาเยิร์น” ออกจากท่าในWilhelmshaven เมื่อวันจันทร์ที่2สิงหาคม พ.ศ.2564 เพื่อมุ่งหน้าสู่ภาคพื้นทะเลอินโด-แปซิฟิก เป็นการเดินเรือผ่านทางทะเลเมดิเตอเรเนียน ผ่านคลองซุเอซ แล่นผ่านมหาสมุทรอินเดียไปยังออสเตรเลีย และเอเชียตะวันออก ตลอดเส้นทางได้กำหนดการฝึกร่วมกับกองทัพเรือ ออสเตรเลีย ,สิงคโปร์,ญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา โดยจะมีการแวะพักในเมืองท่าต่างๆเพื่อการแสดงออกถึงการกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตร่วมกัน
เรือรบลำนี้จะเดินทางผ่านทะเลจีนใต้ด้วยเช่นกัน การส่งเรือบาเยิร์น เข้าสู่พื้นที่ทะเลจีนใต้นี้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกให้เห็นถึงแนวทางนโยบายของรัฐบาลเยอรมันต่อภูมิภาคนี้ “กว่า90เปอร์เซ็นต์ของการค้าโลกเป็นการใช้เส้นทางเดินทะเล เส้นทางเหล่านี้จำนวนมากต้องใช้การเดินทะเลผ่านมหาสมุทรอินเดีย และ แปซิฟิก” เส้นทางเดินทะเล และการสนับสนุนการเดินทางเหล่านี้จะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสรี และได้รับการปกป้อง เช่นเดียวกับชาติพันมิตร เยอรมันสนับสนุนกฎการเดินทะเลสากล และเป็นหนึ่งในชาติที่ให้การยอมรับลงนามกฎบัตรของสหประชาติว่าด้วยกฏหมายด้านทะเลนานาชาติ(UNCLOS)
จนกว่าจะถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เรือฟรีเกต บาเยิร์น จะยังคงปฏิบัติการด้วยลุกเรือมากกว่า 230 นาย โดยมีภารกิจนอกเหนือไปจากนี้ คือ การสนับสนุนภารกิจของนาโต้ ในภารกิจ “ซี การ์เดี้ยน”ในทะเลเมดิเตอเรเนียน และภารกิจต่อต้านโจรสลัดในพื้นที่แหลมอัฟริกาของสหภาพยุโรป เช่นเดียวการร่วมเฝ้าตรวจการแซงชั่นเกาหลีเหนือของสหประชาชาติ กำลังพลของกองทัพเรือเยอรมันจะได้รับการปฏิบัติหน้าที่อันหลากหลาย ภายใต้เป้าประสงค์หลัก คือการสร้างเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงร่วมกันต่อมิตรประเทศในภาคพื้น อินโดแปซิฟิก
ภาพและข้อมูลอ้างอิงจากกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี
-----------------------------------------------
German Navy deploys Frigate "Bayern" to the Indo-Pacific Region
The German frigate "Bayern" left the port of Wilhelmshaven on Monday, 2 August 2021, and has set sail for the Indo-Pacific Region. It will sail through the Mediterranean Sea and the Suez Canal and continue via the Indian Ocean to Australia and East Asia. Along the way, exercises are planned with the navies of Australia, Singapore, Japan and the United States of America. In addition, there will be port visits at the highest diplomatic level.
The frigate will also cross the South China Sea. Sending the “Bayern” to the South China Sea is part of the implementation of the German Government’s Indo-Pacific guidelines. “More than 90 percent of the world’s foreign trade is conducted by sea, much of it via the Indian and Pacific Oceans,” the guidelines state. These maritime trade routes, and with them the supply chains, must be kept free and secure. Together with its partners, Germany supports a rules-based international order. Germany regularly underlines the significance of the UN Convention on the Law of the Sea (UNCLOS)
Until the end of February 2022, the frigate “Bayern” will be underway with more than 230 crew members on board. Among other activities, the frigate will support NATO Operation “Sea Guardian” in the Mediterranean and the EU’s Atalanta anti-piracy mission off the Horn of Africa as well as participating in monitoring the United Nations sanctions against North Korea. The German navy personnel on board will take on a wide range of different tasks. And they will do so with one goal in mind: strengthening security policy cooperation with partners in the Indo-Pacific region.

วันที่ 3 ส.ค. รอยเตอร์ รายงานเมื่อวันจันทร์ที่ 2 ส.ค. ว่า เยอรมนีส่งเรือรบไปทะเลจีนใต้เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ทศวรรษ โดยร่วมกับชาติตะวันตกอื่นๆ ในการขยายกำลังทหารในภูมิภาค ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความทะเยอทะยานในดินแดนของจีน

จีนอ้างสิทธิ์ในแนวทะเลจีนใต้ และตั้งค่ายทหารบนเกาะเทียมในน่านน้ำที่มีแหล่งก๊าซธรรมชาติและประมงอุดมสมบูรณ์

กองทัพสหรัฐอเมริกาแสดงพลังต่อต้านการอ้างสิทธิ์ในดินแดนจีน โดยมักดำเนินการสิ่งที่เรียกว่า “เสรีภาพในการเดินเรือ” โดยเรือของสหรัฐแล่นผ่านเข้าใกล้เกาะบางเกาะพิพาท ขณะเดียวกัน จีนคัดค้านพันธกิจดังกล่าวของสหรัฐ โดยกล่าวว่าไม่ได้ช่วยส่งเสริมสันติภาพหรือเสถียรภาพ

รัฐบาลกรุงวอชิงตันกำหนดให้การต่อต้านจีนเป็นหัวใจนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ และพยายามระดมพันธมิตรต่อต้านสิ่งที่จีนระบุว่าเป็นนโยบายเศรษฐกิจและการต่างประเทศที่บีบเค้นมากขึ้นของรัฐบาลกรุงปักกิ่ง

เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลกรุงเบอร์ลินกล่าวว่า กองทัพเรือเยอรมนีจะยึดการใช้เส้นทางการค้าทั่วไป และคาดว่าเรือฟริเกตของกองทัพเรือเยอรมนีไม่น่าจะแล่นผ่านช่องแคบไต้หวันเช่นกัน ซึ่งสหรัฐอเมริกาทำเป็นปกติ แต่รัฐบาลกรุงปักกิ่งประณาม

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกรุงเบอร์ลินชี้แจงอย่างชัดเจนว่า ภารกิจดังกล่าวย้ำว่า เยอรมนีไม่ยอมรับการอ้างสิทธิ์ในดินแดนทะเลจีนใต้ของจีน


นางอันเนอเกร็ท ครัมพ์-คาร์เรินเบาเออร์ รัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี เดินทางไปท่าเรือวิลเฮ็ล์มสฮาเฟิน เพื่อดูเรือรบไบเอิร์นออกจากฝั่ง เพื่อเดินทาง 7 เดือน มุ่งหน้าออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเวียดนาม

คาดว่าเรือรบไบเอิร์นจะข้ามทะเลจีนใต้ในกลางเดือนธันวาคม กลายเป็นเรือรบเยอรมนีลำแรกที่จะแล่นผ่านภูมิภาคดังกล่าวตั้งแต่ปี 2545

“เราต้องการให้เคารพกฎหมายที่มีอยู่ เส้นทางทะเลเดินเรือได้อย่างอิสระ สังคมเปิดที่จะได้รับการคุ้มครอง และการค้าขายตามกฎยุติธรรม” นางครัมพ์-คาร์เรินเบาเออร์กล่าว

หลายประเทศรวมถึงอังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ขยายกิจกรรมในมหาสมุทรแปซิฟิกเพื่อต่อต้านอิทธิพลของจีนเช่นกัน

ที่มาข้อมูลข่าวสาร ข่าวสด

Noppadol Srisakote

อดีตช่างภาพสนาม หรือ "Combat Camera" ที่มีความสนใจเรื่องราวของเทคโนโลยี ข่าวสาร ด้านการทหาร การป้องกันประเทศ และข่าวการรับสมัครสอบทหาร ตำรวจ ผมจะพยายามค้นคว้าหาข้อมูลที่น่าสนใจมานำเสนอทุกคน ขอขอบคุณทุกการติดตามครับ

แสดงความคิดเห็น

ใหม่กว่า เก่ากว่า

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ