พลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ ได้สั่งการให้ ศูนย์ปฏิบัติการพลเรือน-ทหาร ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ (ศป.พรท.ศบภ.ทอ.) สนับสนุนการลำเลียงอุปกรณ์การแพทย์ไปยังสถานพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่งกองทัพอากาศร่วมกับมูลนิธิหลักประกันสุขภาพไทย และโครงการทุก(ข์)ภัย ไทยช่วยกัน ร่วมปฏิบัติภารกิจ “เติมน้ำใจ ต่อ...ลมหายใจ” โดยได้ดำเนินการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลนทั่วประเทศไทย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและช่วยเหลือผู้ป่วยโรคโควิด-19
ในปี 2550 รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณให้กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินแบบ ATR-72-500 จำนวน 4 ลำเพื่อถวายเป็นเครื่องบินพระราชพาหนะสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์สำหรับระยะทางบินที่ไม่ไกลและการลงในสนามบินที่มีรันเวย์สั้น อีกทั้งเป็นเครื่องบินสำหรับบุคคลสำคัญของประเทศทดแทนเครื่องบินแบบ HS748 ที่ใช้งานมานานกว่า 40 ปีครับ โดยจะบรรจุเข้าประจำการในฝูงบิน 603 กองบิน 6 ดอนเมือง
ATR-72-500 เป็นเครื่องบินใบพัดที่ใช้ทางวิ่งขึ้นลงไม่ยาวมากนักครับ นักบินเล่าให้ฟังว่าเครื่องประหยัดน้ำมันมากและบินง่ายครับ ประกอบกับบ้านเรามีใช้กันหลายลำในสายการบินหลายสาย โดยเฉพาะบางกอกแอร์เวย์ที่มี ATR-72-500 จำนวน 10 ลำ และมีศูนย์ซ่อมขนาดใหญ่อยู่ที่ดอนเมือง ดังนั้น ATR-72-500 ของกองทัพอากาศจึงสามารถใช้ศูนย์ซ่อมร่วมกับบางกอกแอร์เวย์ได้สบาย ๆ ครับ ซึ่งจะทำให้กองทัพอากาศประหยัดค่าซ่อมบำรุงลงไปอีกจากการที่ไม่ต้องสต็อกอะไหล่มากนัก
ATR-72 สร้างขึ้นโดยบริษัท Aerospatiale Marta จากประเทศฝรั่งเศส และบริษัท Alenia Aerospazio จากประเทศอิตาลี ATR เป็นเครื่องแบบสองเครื่องยนต์ ชนิดใบพัดปีกสูง ATR 72 สร้างจากต้นแบบของ ATR42 ด้วยการต่อลำตัวออกไปอีก 4.5 เมตร และจุผู้โดยสารเพิ่มเป็น 64-72 ที่ ( ATR 42 จุ ผู้โดยสารได้ 42-50 ที่) ATR-72 บินเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 1988 ได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลฝรั่งเศสและสหรัฐฯตอนปลายปี1989 สายการบินนำมาให้บริการในวันที่ 27 ตุลาคม 1989 (ATR-42 บินเป็นครั้งแรกเดือน สิงหาคม 1984).ATR 72-500 สามารถ สังเกตุได้จาก มีใบพัด 6 ใบ ซึ่งใบพัดจะสั้นกว่าเก่า และความเร็วรอบช้าลง ทำให้เสียง และการสั่นสะเทือนเข้าไปยังห้อง ผู้โดยสารน้อยลง ใบพัดเป็นของบริษัท Hamilton Standard /Ratier Figeac และเครื่องยนต์เป็นของบริษัท Pratt & Whitney Canada PW 127 F ซึ่งให้กำลัง 1250 ชาร์ปฮอร์สพาวเวอร์(SHP) ATR 72-500 เพิ่มพื้นที่สำหรับสัมภาระบนห้องเหนือศรีษะ เพิ่มกำลังเครื่องยนต์ ทำให้สามารถบรรทุกและระยะทางเพิ่มขึ้น เดิมที ATR72-500 ได้ชื่อว่า ATR 72-210A ATR 72-500 ใช้ระยะทางในการวิ่งขึ้น เพียง 3580 ฟุต (1091 เมตร) และระยะทางวิ่งลงเพียง 3235 ฟุต (986 เมตร) ที่วันมาตรฐาน และระดับน้ำทะเล (SL,ISA)
ATR 72-500
ประเภท : อากาศยานขนส่งระยะสั้น
ลูกเรือ กัปตันและนักบินผู้ช่วย พนักงานต้อนรับ 2 ผู้โดยสาร 70 คน
เครื่องยนต์ : แพลตแอนด์วิดนี่ย์ สองเครื่องยนต์รุ่น PW 127 F เทอร์โบพร๊อบ 2750 แรงม้า/เครื่อง
น้ำหนักบินขึ้นสุงสุด : 22000 กิโลกรัม
สมรรถนะ : ความเร็วในการบินเดินทาง 490 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เพดานบินสูงสุด : 7620 เมตร / 25,000 ฟุต
บินไกล : 1,668 กิโลเมตร (900 naut miles)
ระวางบรรทุกสินค้า : 7,050 กิโลกรัม
ระยะทางวิ่งขึ้น : 1,079 เมตร
ระยะทางร่อนลงจอด : 1,048 เมตร